ไขข้อสงสัยแก่นายจ้าง เมื่อพนักงานมาสายบ่อย เตือนแล้วหลายครั้ง นายจ้างสามารถเลิกจ้างพนักงานได้หรือไม่? แบบนี้ผิดกฎหมายแรงงานหรือเปล่า? มาหาคำตอบไปพร้อมกันเลย
อ่านบทความที่คุณอาจสนใจเพิ่มเติม:
- ตัวอย่างรายงานสถิติการขาด ลา มาสาย จาก HumanSoft
- ปัญหาการมาทำงานสาย HR จะมีวิธีการรับมืออย่างไรบ้าง
- ลูกทีมลางานกะทันหัน หัวหน้างานรับมืออย่างไรดี?
- Q&A ไขข้อสงสัย นายจ้างออกใบเตือนซ้ำกี่ครั้ง จึงเลิกจ้างได้?
- Q&A เลิกจ้างพนักงาน ต้องจ่ายเงินชดเชยเท่าไร? ตามกฎหมายแรงงาน
ปัญหาพนักงานมาสาย
ถ้าพูดถึงปัญหาพนักงานมาสาย คงเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่หลาย ๆ องค์กรต้องพบเจออยู่เป็นประจำ ไม่ว่าจะเป็นองค์กรขนาดเล็ก หรือองค์กรขนาดใหญ่ก็ล้วนพบเจอเช่นเดียวกันทั้งสิ้น ซึ่งปัญหาพนักงานมาสายไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบต่อพนักงานที่มาสายเท่านั้น แต่ยังสามารถกระทบต่อความสามารถในการทำงานของทีมและประสิทธิภาพขององค์กรโดยรวมได้อย่างมาก
Q: พนักงานมาสายบ่อย นายจ้างเลิกจ้างได้หรือไม่? ผิดกฎหมายไหม?
ปัญหาพนักงานมาสายบ่อยเป็นเรื่องที่หลายองค์กรต้องเผชิญ และเป็นประเด็นที่สร้างความกังวลให้กับนายจ้างไม่น้อย หลายคนอาจสงสัยว่า หากพนักงานมาสายบ่อย นายจ้างสามารถเลิกจ้างได้เลยหรือไม่? มาหาคำตอบกันค่ะ
A: นายจ้างสามารถเลิกจ้างได้ และเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรม
กรณีที่พนักงานมาสายเป็นประจำหรือมาสายบ่อย โดยที่นายจ้างหรือ HR ได้ทำการตักเตือนแล้วหลายครั้งทั้งแบบตักเตือนด้วยวาจา และตักเตือนแบบลายลักษณ์อักษร แต่พนักงานท่านเดิมยังคงมาสายซ้ำเดิมอยู่ นายจ้างสามารถเลิกจ้างพนักงานได้ และถือว่าเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรม
Tips! อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่ >> Q&A ไขข้อสงสัย นายจ้างออกใบเตือนซ้ำกี่ครั้ง จึงเลิกจ้างได้?
ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน มาตรา 119(4) ถ้าลูกจ้างทำผิดกฎระเบียบในเรื่องไม่ร้ายแรง แล้วนายจ้างได้เตือนเป็นลายลักษณ์อักษรไปแล้ว (แบบเป็นทางการ) และลูกจ้างกลับมาทำผิดเรื่องเดิมซ้ำภายใน 1 ปี นายจ้างสามารถเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
กรณีตัวอย่างคือ ถ้าพนักงานมาสาย ครั้งแรกอาจได้รับการเตือนด้วยวาจา ครั้งที่สองนายจ้างเตือนเป็นลายลักษณ์อักษร และถ้ามาสายอีกครั้งที่สามภายในปีเดียวกัน บริษัทสามารถเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเลย
สรุปพนักงานมาสายบ่อย ตามกฎหมายนายจ้างเลิกจ้างได้หรือไม่
กล่าวโดยสรุปคือ หากพนักงานมาสายเป็นประจำ และนายจ้างได้มีการตักเตือนหลายครั้งทั้งการตักเตือนด้วยวาจา และตักเตือนในรูปแบบของลายลักษณ์อักษร (เป็นทางการ) แต่ภายใน 1 ปี พนักงานท่านเดิมยังคงกระทำผิดซ้ำในเรื่องเดิมอยู่ นายจ้างมีสิทธิ์เลิกจ้างพนักงานท่านดังกล่าวได้ โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยใหแก่พนักงาน