ไขข้อสงสัยแก่ชาวออฟฟิศ เบี้ยขยันที่จากการทำงาน ตามกฎหมายแล้วถือเป็นเงินค่าจ้างหรือไม่ อย่างไร วันนี้ HumanSoft จะมาช่วยไขข้อสงสัยให้คุณ
อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม:
- เบี้ยขยันคืออะไร และวิธีกำหนดเบี้ยขยันแบบขั้นบันได
- วิธีคิดเบี้ยขยันง่าย ๆ ด้วยโปรแกรมคิดเงินเดือน
- 10 สวัสดิการที่ “พนักงาน” ให้ความสำคัญมากที่สุด
- คำนวณเบี้ยเลี้ยงให้กับพนักงานง่าย ๆ ด้วยโปรแกรมเงินเดือน
ว่าด้วยเรื่องของ “เบี้ยขยัน”
เชื่อว่าหลาย ๆ องค์กรคงมีสวัสดิการที่ชื่อว่า “เบี้ยขยัน” ซึ่งเป็นสวัสดิการ หรือเป็นเงินพิเศษที่บริษัทมอบให้แก่พนักงานนอกเหนือจากเงินเดือนที่ได้ในแต่ละเดือน เพื่อสร้างแรงจูงใจในการมาทำงาน และให้พนักงานทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เงื่อนไขการให้เบี้ยขยันของแต่ละองค์กรหรือแต่ละบริษัทนั้น ก็มีเงื่อนไขการให้เบี้ยขยันที่ต่างกันออกไป แต่โดยทั่วไปแล้วมักกำหนดไว้ว่า ‘พนักงานต้องไม่ขาด ลา มาสาย ตลอดทั้งเดือนจึงจะได้เบี้ยขยัน’ นั่นเอง ซึ่งก็เรียกได้ว่าเบี้ยขยันเป็นอีกหนึ่งวิธีที่กระตุ้นให้พนักงานมาทำงานทุกวัน และลดการขาดงาน และมาสายได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียว
เบี้ยขยันตามกฎหมาย ถือเป็นค่าจ้างหรือไม่?
ก่อนที่จะตอบคำถามว่าเบี้ยขยันเป็นเงินค่าจ้างหรือไม่นั้น เรามาทำความเข้าใจกับคำว่า “ค่าจ้าง” กันก่อนดีกว่า... เงินค่าจ้าง ตามกฎหมายแรงงาน มาตรา 5 บอกไว้ว่า “ค่าจ้าง หมายถึง เงินที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันจ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทำงานตามสัญญาจ้างไม่ว่าจะเป็นรายชั่วโมง รายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน หรือจ่ายให้โดยคำนวณตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้ในเวลาทำงานปกติของวันทำงานปกติ รวมถึงเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างในวันหยุดและวันลาที่ลูกจ้างมิได้ทำงานแต่มีสิทธิได้รับค่าจ้างด้วย”
Tips! อ่านบทความเกี่ยวกับค่าจ้างเพิ่มเติม >> เงินที่ถือว่าเป็นค่าจ้าง ตามกฎหมายแรงงาน มีอะไรบ้าง?
เมื่อทราบแล้วว่าเงินค่าจ้างคืออะไร เพราะฉะนั้นเรามาไขข้อสงสัยกันต่อว่า เบี้ยขยันตามกฎหมาย ถือเป็นค่าจ้างหรือไม่? เบี้ยขยันที่ได้รับจากองค์กร ไม่ถือว่าเป็นค่าจ้าง โดยคำพิพากษาฎีกา 9313-9976/2547 กล่าวไว้ว่า “เบี้ยขยัน ไม่ใช่ค่าตอบแทนการทำงานจึงไม่ใช่ค่าจ้าง” ซึ่งเบี้ยขยันมีลักษณะการจ่ายเงินเพื่อเป็นแรงจูงใจให้พนักงานมาทำงานสม่ำเสมอและเป็นสวัสดิการอย่างหนึ่ง
ดังนั้น “เบี้ยขยัน” จึงไม่ใช่เงินที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันเพื่อจ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทำงานตามสัญญาจ้างสำหรับระยะเวลา การทำงานปกติ จึงไม่ใช่ค่าจ้างตามมาตรา 5
สรุปบทความเบี้ยขยันตามกฎหมาย ถือเป็นค่าจ้างหรือไม่?
เบี้ยขยันที่เป็นสวัสดิการของบริษัทนั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแรงจูงใจให้พนักงานมาทำงานอย่างสม่ำเสมอ ผู้มีสิทธิ์ได้รับเบี้ยขยันนั้นจะต้องมาทำงานตามเงื่อนไขของเบี้ยขยัน เช่น ไม่ขาดงาน ไม่ลางาน และไม่มาสาย จึงจะได้รับเบี้ยขยันตามที่กำหนด โดยเบี้ยขยันนั้นจะเป็นเงินพิเศษนอกเหนือจากค่าจ้างที่ได้รับ ดังนั้น จึงสรุปได้ว่าตามกฎหมายแรงงานนั้นเบี้ยขยันไม่ถือเป็นเงินค่าจ้างนั่นเอง