โรคซึมเศร้าภัยเงียบใกล้ตัว และโรคยอดฮิตในวัยทำงาน ลองมาเช็กอาการโรคซึมเศร้าของ พร้อมกับทำแบบทดสอบโรคซึมเศร้ากันในบทความนี้เลย
บทความที่คุณอาจสนใจ
- วิธีเช็คภาวะหมดไฟของพนักงาน ด้วยแบบประเมินความเครียด
- Check List เรามีความสุขในการทำงานไหม?
- 6 วิธี สร้างความสุขในการทำงาน
- วิธีจัดการภาวะหมดไฟในการทำงานสำหรับ HR
- โรคยอดฮิตของคนทำงาน และวิธีป้องกันที่ HR ช่วยได้
ทำความรู้จักกับโรคซึมเศร้า
โรคซึมเศร้าคืออะไร? โรคซึมเศร้านั้นเป็นโรคชนิดหนึ่งที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้กับทุกคน โดยโรคซึมเศร้านั้นคือความผิดปกติของการหลั่งสารเคมีในสมอง ซึ่งสารเคมีเหล่านี้มีบทบาทสำคัญในการควบคุมอารมณ์ส่งผลให้เกิดความผิดปกติทางอารมณ์และพฤติกรรมที่แสดงออกมานั่นเอง นอกจากนี้โรคซึมเศร้ายังเกิดจากปัจจัยทางพันธุกรรม ปัจจัยทางจิตสังคม เช่น ความเครียด เหตุการณ์ที่กระทบจิตใจ ปัญหาในที่ทำงาน ที่อาจกระตุ้นให้เกิดโรคซึมเศร้าได้
บางคนอาจพบว่าการทำงานที่มีความกดดันสูง การต้องเผชิญกับปัญหาอารมณ์ หรือการไม่ได้รับการสนับสนุนที่เพียงพอในที่ทำงานสามารถเป็นปัจจัยที่เสี่ยงต่อการพัฒนาโรคซึมเศร้านอกจากนี้ การทำงานที่ต้องเผชิญกับสถานการณ์ทางอารมณ์หรือความไม่แน่นอนในการงานอาจเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาพจิต
โรคซึมเศร้าหรือภาวะซึมเศร้าเป็นภาวะที่คนส่วนใหญ่มักจะต้องเผชิญแบบไม่รู้ตัว โดยเฉพาะในกลุ่มของวัยทำงาน ที่มักพบเจอกับปัญหาลุมล้อมทั้งปัญหาด้านการทำงาน ปัญหาด้านชีวิต ปัญหาด้านสุขภาพ การคาดหวังต่าง ๆ และอื่น ๆ อีกมากมายซึ่งอาจสะสมจนก่อให้เกิดความเครียดและนำพาไปสู่ภาวะซึมเศร้า
แบบทดสอบโรคซึมเศร้า คืออะไร
เชื่อว่าหลาย ๆ คนอาจจะเคยลองทำแบบทดสอบเกี่ยวกับโรคซึมเศร้ามาไม่มากก็น้อย แบบทดสอบโรคซึมเศร้าเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินความเสี่ยงหรือความรุนแรงของโรคซึมเศร้า ซึ่งแบบทดสอบโรคซึมเศร้านี้เป็นแบบประเมินเพื่อคัดกรองเบื้องต้นเท่านั้นไม่สามารถวินิจฉัยโรคซึมเศร้าได้อย่างแน่ชัด ทั้งนี้หากมีผลคะแนนที่บ่งชี้ว่ามีความเสี่ยงหรือความรุนแรงของโรคซึมเศร้า ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตเพื่อวินิจฉัยเพิ่มเติม โดยสามารถเข้าไปทำแบบทดสอบโรคซึมเศร้าได้ที่ >> แบบทดสอบโรคซึมเศร้า PHQ 9
เช็กอาการสัญญาณเตือนโรคซึมเศร้าของพนักงาน
แม้ว่าอาการของโรคซึมเศร้าของแต่ละคนจะแตกต่างกันออกไป แต่โดยทั่วไปผู้คนส่วนใหญ่ที่มีภาวะซึมเศร้าจากการทำงานมักมีอาการเหล่านี้เกิดขึ้น
- รู้สึกวิตกกังวลเกี่ยวกับการจัดการกับงาน หรือกังวลเมื่ออยู่ในสถานการณ์ที่ตึงเครียด
- ขาดสมาธิในการทำงาน
- ใส่ใจกับเรื่องงานน้อยลงกว่าที่เคยเป็น
- รู้สึกไม่ประสบความสำเร็จในการทำงาน
- รู้สึกเหนื่อยล้า หมดไฟในการทำงาน
- ไม่อยากทำงาน หรือไม่มีความสุขในการทำงาน
- มีปัญหาเรื่องการนอนหลับ เช่น นอนหลับยากขึ้น หรือนอนมากเกินไป เป็นต้น
- อารมณ์อ่อนไหวง่าย
แนวทางป้องกันโรคซึมเศร้าจากการทำงานเบื้องต้น
- กำหนดเวลาการทำงานที่ชัดเจน เพื่อไม่ให้กระทบเวลาส่วนตัวของพนักงาน
- สร้างสภาวะแวดล้อมการทำงานให้เหมาะสม
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- แบ่งหน้าที่รับผิดชอบในการทำงานให้ชัดเจน
- ลองทำกำกิจกรรมใหม่ ๆ พบเจอผู้คนใหม่ ๆ
- ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
สรุปเช็กอาการโรคซึมเศร้าของพนักงาน ด้วยแบบทดสอบโรคซึมเศร้า
การให้พนักงานได้ลองทำแบบทดสอบโรคซึมเศร้า เพื่อประเมินความเสี่ยงของโรคซึมเศร้าเบื้องต้น ช่วยให้องค์กรได้ตระหนักถึงโรคซึมเศร้าหรือภาวะซึมเศร้าของพนักงานที่เกิดจากการทำงาน หากพบว่ามีพนักงานมีความเสี่ยงโรคซึมเศร้า สามารถหาแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว เช่น การสร้างสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดี กำหนดเวลาการทำงานที่ชัดเจน เป็นต้น