ไขข้อสงสัยให้แก่ HR ค่าครองชีพถือเป็นค่าจ้างตามกฎหมายหรือไม่ และขั้นตอนการคิดโอทีต้องนำค่าครองชีพมาคิดด้วยไหม วันนี้เรามาไขข้อสงสัยไปพร้อมกัน
อ่านบทความที่คุณอาจสนใจเพิ่มเติม:
- จ่ายค่าครองชีพให้พนักงาน ไม่ใช่ปัญหาในการคิดเงินเดือนอีกต่อไป
- สิทธิประกันสังคมคลอดบุตรและเบิกค่าคลอดบุตรที่สามีได้รับ 2567
- ไขข้อสงสัย เบี้ยขยันตามกฎหมาย ถือเป็นค่าจ้างหรือไม่?
- Q&A เงินค่าตำแหน่ง ถือเป็นเงินค่าจ้างหรือไม่?
- เงินที่ถือว่าเป็นค่าจ้าง ตามกฎหมายแรงงาน มีอะไรบ้าง?
ค่าครองชีพ ถือเป็นค่าจ้างตามกฎหมายหรือไม่?
"ค่าครองชีพ" ที่นายจ้างจ่ายให้แก่พนักงานรายวันและรายเดือน ซึ่งมีจำนวนที่แน่นอนทุกเดือนและจ่ายให้แก่พนักงานเป็นประจำทุกเดือนเช่นเดียวกับเงินเดือน แม้ในกรณีที่พนักงานหยุดงาน ถือได้ว่า “ค่าครองชีพ” เป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่พนักงานเพื่อตอบแทนการทำงานปกติของพนักงานในวันทำงาน จึงถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างที่ต้องนำมาคำนวณเพื่อจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
ค่าครองชีพ ต้องนำมาคิดโอทีด้วยไหม?
เชื่อว่านายจ้าง, HR หรือมนุษย์เงินเดือนทุกท่านอาจมีข้อสงสัยในกรณีที่นายจ้างมีการจ่ายค่าครองชีพให้แก่พนักงานในจำนวนที่แน่นอนและเป็นประจำทุกเดือน โดยจ่ายพร้อมกับเงินเดือนของพนักงานนั้น แล้วหากพนักงานทำงานล่วงเวลา (โอที) จำเป็นต้องนำค่าครองชีพมารวมคำนวณในการจ่ายโอทีหรือไม่? อย่างไร?
ตอบเลยว่า ‘ต้องนำค่าครองชีพมาคำนวณในการจ่ายโอทีด้วย’ เนื่องจากค่าครองชีพในจำนวนที่แน่นอนและจ่ายให้แก่พนักงานเป็นประจำทุกเดือน เช่นเดียวกับเงินเดือน ถือว่าเป็นเงินส่วนหนึ่งที่จ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานของพนักงาน ค่าครองชีพดังกล่าวจึงเป็นค่าจ้าง ดังนั้น จึงต้องนำค่าครองชีพมารวมเป็นฐานคำนวณเงินต่าง ๆ ให้แก่พนักงาน ไม่ว่าจะเป็น ค่าล่วงเวลา, ค่าทำงานในวันหยุด, ค่าล่วงเวลาวันหยุด และค่าชดเชย เป็นต้น
กรณีที่นายจ้างและพนักงานตกลงกันว่าจะไม่นำค่าครองชีพมาคำนวณเงินต่าง ๆ ผิดหรือไม่?
กรณีที่นายจ้างและพนักงานได้ตกลงกันว่าจะไม่นำค่าครองชีพมาคำนวณรวมกับค่าจ้างเพื่อนำมาคำนวณเงินต่าง ๆ นั้น เป็นข้อตกลงที่ฝ่าฝืนพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ถือเป็นโมฆะ
สรุปค่าครองชีพเป็นค่าจ้างตามกฎหมายหรือไม่ ต้องนำมาคิดโอทีด้วยไหม?
กล่าวโดยสรุปคือ ค่าครองชีพที่นายจ้างจ่ายให้แก่พนักงานในจำนวนเงินที่แน่นอนและเป็นประจำทุกเดือนนั้น ถือเป็นเงินค่าจ้าง ดังนั้น ค่าครองชีพต้องนำมารวมกับค่าจ้างเพื่อคำนวณค่าล่วงเวลาและโอทีให้แก่พนักงานด้วย