ไขข้อข้องใจ “การลาเพื่อทำหมัน” มีกี่กรณี อะไรบ้าง อีกทั้งการลาประเภทนี้ลูกจ้างจะได้รับค่าจ้างไหม? วันนี้ HumanSoft มีเกร็ดความรู้ดี ๆ มาฝาก ไปหาคำตอบกันเลย
อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม
- HR ต้องรู้! สรุป พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ฉบับที่ 8 พ.ศ.2566
- บริษัทห้ามลาพักร้อน ลากิจเกิน 3 วันต่อเดือน กฎแบบนี้ทำได้ไหม
- Q&A ลาพักร้อนติดกันได้กี่วัน สะสมวันลาไว้ใช้ปีถัดไปได้ไหม
- Q&A ลูกจ้างประสบอุบัติเหตุ ลาป่วยเกิน 30 วัน เลิกจ้างได้ไหม?
Q: การลาเพื่อทำหมันมีกี่กรณี อะไรบ้าง?
ตามพ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 33 ใจความว่า “ให้ลูกจ้างมีสิทธิลาเพื่อทำหมันได้ และมีสิทธิลาเนื่องจากการทำหมันตามระยะเวลาที่แพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งกำหนดและออกใบรับรอง” โดยการลาเพื่อทำหมันนี้ กฎหมายให้สิทธิเท่าเทียมกันทั้งชายและหญิง
A: การลาเพื่อทำหมันกำหนดไว้ 2 กรณี คือ
1. ลาเพื่อไปทำหมัน ลูกจ้าง มีสิทธิลาเพื่อทำหมันได้
2. ลาเนื่องจาการทำหมัน ลูกจ้างมีสิทธิลาเนื่องจากการทำหมันได้ตามระยะเวลาที่แพทย์กำหนด
การลาเพื่อทำหมัน ตามกฎหมายกำหนดไว้ 2 กรณี ดังนี้
1. ลาเพื่อไปทำหมัน ลูกจ้าง มีสิทธิลาเพื่อทำหมันได้ เมื่อกำหนดวันลาและเตรียมตัวพร้อมแล้ว ลูกจ้างสามารถใช้สิทธิวันลาได้เลย
2. ลาเนื่องจาการทำหมัน ลูกจ้างมีสิทธิลาเนื่องจากการทำหมันได้ตามระยะเวลาที่แพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งกำหนด และออกใบรับรองแพทย์ให้กับลูกจ้างเพื่อนำไปใช้ยื่นกับนายจ้างตามขั้นตอนต่อไป
Q: ลูกจ้างลาเพื่อทำหมัน จะได้รับค่าจ้างไหม?
A: ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าจ้าง ในกรณีที่มีการใช้สิทธิลาเพื่อไปทำหมันและใช้สิทธิลาเนื่องจากการไปทำหมัน
ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตร 57 วรรคสองกำหนดไว้ว่า
“ ในกรณีที่ลูกจ้างใช้สิทธิลาเพื่อทำหมันตามมาตรา33 ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างในวันลานั้นด้วย”
ดังนั้น ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าจ้าง ในกรณีที่มีการใช้สิทธิลาเพื่อไปทำหมันและใช้สิทธิลาเนื่องจากการไปทำหมัน
สรุป Q&A การลาเพื่อทำหมันมีกี่กรณี อะไรบ้าง?
โดยสรุปแล้ว การลาเพื่อทำหมันมี 2 กรณี คือ 1.ลาเพื่อไปทำหมัน ลูกจ้างสามารถใช้สิทธิลาเพื่อทำหมันได้ เมื่อเตรียมตัวพร้อมสามารถใช้สิทธิได้เลย 2. ลาเนื่องจาการทำหมัน ลูกจ้างสามารถใช้สิทธิวันลานี้ได้หลังจากการทำหมัน ลาได้ตามระยะเวลาที่แพทย์กำหนดและออกใบรับรองให้แก่ลูกจ้าง และตามกฎหมายลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันลานั้น ๆ ด้วย