PageView Facebook
date_range 10/01/2024 visibility 20812 views
bookmark HR Knowledge
Q&A กองทุนเงินทดแทนนายจ้างต้องจ่ายเท่าไหร่ และจ่ายอย่างไร? - blog image preview
Blog >Q&A กองทุนเงินทดแทนนายจ้างต้องจ่ายเท่าไหร่ และจ่ายอย่างไร?

เงินสมทบกองทุนเงินทดแทนคือเงินที่นายจ้างจ่ายเข้ากองทุนเงินทดแทนเพียงฝ่ายเดียว แล้วนายจ้างต้องจ่ายเท่าไหร่ และต้องจ่ายอย่างไรล่ะ? บทความนี้มีคำตอบ


อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม:


รู้จักกับกองทุนเงินทดแทน


กองทุนเงินทดแทน คือ กองทุนที่นายจ้างเป็นผู้จ่ายเงินสมทบเพียงฝ่ายเดียว โดยจะเรียกเก็บเป็นรายปีให้กับสำนักงานประกันสังคม เป็นกองทุนที่จ่ายค่าทดแทนให้กับลูกจ้างแทนนายจ้าง เมื่อลูกจ้างเกิดอุบัติเหตุเนื่องจากการทำงาน

 

Tips! อ่านบทความต่อเพิ่มเติม >> กองทุนเงินทดแทนคืออะไร


Q: นายจ้างต้องจ่ายเงินสมทบกองทุนเงินทดแทนเท่าไหร่?


อย่างที่ทราบกันดีว่า นายจ้างจะต้องจ่ายเงินสมทบกองทุนเงินทดแทนให้แก่สำนักงานประกันสังคม แล้วนายจ้างต้องจ่ายเงินสมทบกองทุนเงินทดแทนเท่าไหร่?



A: อัตราเงินสมทบคำนวณจากค่าจ้างที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างทั้งปีรวมกัน โดยอัตราเงินสมทบที่เรียกเก็บขึ้นอยู่กับการเสี่ยงภัยในการทำงาน


เงินสมทบที่นายจ้างจ่ายเข้ากองทุน ซึ่งจะเรียกเก็บจากนายจ้างเป็นรายปี โดยคำนวณจากจำนวนเงินค่าจ้างที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างทั้งปีรวมกัน (คนละไม่เกิน 240,000 บาท/ปี) คูณกับอัตราเงินสมทบของประเภทกิจการระหว่างอัตรา 0.2-1.0% โดยอัตราเงินสมทบที่เรียกเก็บจากนายจ้างแต่ละรายไม่เท่ากัน ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับการเสี่ยงภัยในการทำงานของแต่ละกิจการ ตามรหัสประเภทกิจการของนายจ้างนั้น


Q: นายจ้างจ่ายเงินสมทบกองทุนเงินทดแทนได้อย่างไร?

นายจ้างสามารถจ่ายเงินสมทบกองทุนเงินทดแทนได้เมื่อไหร่ และอย่างไร?



A: จ่ายเงินสมทบกองทุนเงินทดแทนภายในวันที่ 31 มกราคม ของทุกปี ผ่านทางช่องทางธนาคาร ไปรษณีย์ เคาน์เตอร์เซอร์วิส และ e-Payment


นายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนเงินทดแทนประจำปี ภายในวันที่ 31 มกราคมของทุกปี โดยในปีแรก นายจ้างจะต้องจ่ายเงินสมทบภายใน 30 วัน นับแต่วันที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คน สำหรับปีต่อ ๆ ไป จ่ายภายในเดือนมกราคมของทุกปีค่ะ อย่างไรก็ตาม หากนายจ้างจ่ายเงินสมทบล่าช้าเกินกำหนดเวลาที่กำหนดไว้ จะต้องเสียเบี้ยปรับร้อยละ 2 ต่อเดือนของจำนวนเงินสมทบที่ต้องจ่าย โดยนายจ้างสามารถชำระเงินสมทบกองทุนเงินทดแทนได้ดังนี้

  • ชำระผ่านเคาน์เตอร์ธนาคารของธนาคารกรุงไทยและธนาคารกรุงศรีอยุธยา (ไม่เสียค่าธรรมเนียม)
  • ชำระด้ายเงินสด/เช็ค ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา
  • ไปรษณีย์ ชำระด้วยธนาณัติ
  • เคาน์เตอร์เซอร์วิส ค่าธรรมเนียม 10 บาท ต่อ 1 ใบเสร็จ
  • ผ่านระบบ e-Payment รับชำระเงินสมทบพร้อมเงินเพิ่มตามกฎหมาย (ฟรีค่าธรรมเนียม)

นอกจากนี้ในเดือนกุมภาพันธ์ นายจ้างจะต้องทำการยื่น “รายงานค่าจ้าง” ที่จ่ายจริงทั้งหมดของปีที่ผ่านมาตามแบบแสดงรายงานค่าจ้างกองทุนทดแทนประจำปี (กท. 20ก) ผ่านระบบ e-wage (ช่องทางออนไลน์) ของเว็บไซต์ประกันสังคม หรือสามารถยื่นแบบได้ที่สำนักงานประกันสังคม และกรณีที่ต้องจ่ายเพิ่มนายจ้างจะต้องจ่ายเงินสมทบจากการรายงานค่าจ้างตามที่คำนวณจากใบแจ้งสมทบจากรายงานประจำปี (กท. 25 ค) ภายในวันที่ 31 มีนาคม (หากเกินกำหนดจะต้องเสียเงินเพิ่มร้อยละ 2 ต่อเดือนของเงินสมทบที่ค้างชำระ)


สรุปกองทุนเงินทดแทนนายจ้างต้องจ่ายเท่าไหร่ และจ่ายอย่างไร


ลูกจ้างทุกคนที่ทำงานให้กับนายจ้างที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คน จะได้รับสิทธิประโยชน์จากกองทุนเงินทดแทน โดยนายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนทดแทนประจำปี ภายในวันที่ 31 มกราคมของทุกปี ทั้งนี้หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติมสามารถสอบถามได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา www.sso.go.th หรือโทรสายด่วน 1506

hms-helpful-shadow svg fileโปรแกรมเงินเดือน HumanSoft
ทดลองใช้ฟรี 30 วันครบทุกฟังก์ชัน
  • บริการขึ้นระบบ ฟรี
  • ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น
  • ยกเลิกเมื่อไหร่ก็ได้