ค่าใช้จ่ายด้านแรงงานเป็นต้นทุนหลักของธุรกิจที่ควรวางแผนอย่างรอบคอบ มาเรียนรู้วิธีคำนวณงบประมาณแรงงานอย่างถูกต้องในบทความกันนี้
อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม
- วิธีการคิดค่าแรงรายชั่วโมงอย่างง่าย คำนวณเป๊ะ เข้าใจได้ทันที
- การคำนวณบำเหน็จบำนาญประกันสังคม สิทธิประโยชน์ที่ HR ต้องเข้าใจ
- วิธีเลือกใช้ โปรแกรมคำนวณ OT ฟรี ให้เหมาะสมกับองค์กร
- การคำนวณ Absenteeism Rate เพื่อติดตามอัตราการหยุดงานในองค์กร
- FTE คืออะไร วิธีคำนวณและประโยชน์ในการจัดการทรัพยากรบุคคล
ความสำคัญของการคำนวณงบประมาณแรงงานต่อธุรกิจ
งบประมาณแรงงานเป็นหนึ่งในต้นทุนหลักที่มีผลโดยตรงต่อความสามารถในการทำกำไรของธุรกิจ หากไม่มีการคำนวณและบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ อาจทำให้ต้นทุนสูงเกินไป ส่งผลต่อกระแสเงินสด และอาจทำให้ธุรกิจขาดสภาพคล่องได้
การคำนวณงบประมาณแรงงานอย่างถูกต้องช่วยให้ธุรกิจสามารถวางแผนค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับพนักงานได้อย่างเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นเงินเดือน ค่าล่วงเวลา สวัสดิการ และโบนัส ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงทางการเงินและทำให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปอย่างราบรื่น
วิธีการคำนวณงบประมาณแรงงาน
มาดูวิธีการคำนวณงบประมาณแรงงานอย่างเป็นระบบ ตั้งแต่ค่าแรงทางตรง ค่าล่วงเวลา การวางแผนกำลังคน ไปจนถึงการตรวจสอบความถูกต้องของต้นทุน ดังนี้
1. คำนวณค่าแรงทางตรงขององค์กร
ค่าแรงทางตรงคือค่าใช้จ่ายสำหรับพนักงานที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการผลิตสินค้า หรือให้บริการ เช่น พนักงานสายการผลิต หรือพนักงานที่ทำงานเป็นกะ
สูตรคำนวณค่าแรงทางตรง:
1. ค่าแรงรายสัปดาห์
- พนักงานรายเดือน: เงินเดือน ÷ 4 สัปดาห์ = ค่าแรงต่อสัปดาห์
ตัวอย่าง: หากพนักงานรายเดือนได้รับเงินเดือน 20,000 บาท จะสามารถคำนวณได้ดังนี้ 20,000 ÷ 4 = 5,000 บาท/สัปดาห์
- พนักงานกะ: ค่าแรงรายชั่วโมง × ชั่วโมงทำงานต่อสัปดาห์ = ค่าแรงรายสัปดาห์
ตัวอย่าง: หากพนักงานกะได้รับค่าแรง 100 บาทต่อชั่วโมง และทำงาน 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ จะสามารถคำนวณได้ดังนี้ 100 × 40 = 4,000 บาท/สัปดาห์
2. ค่าแรงรายชั่วโมง: ค่าแรงรายสัปดาห์ ÷ 40 ชั่วโมง = ค่าแรงต่อชั่วโมง
ตัวอย่าง: หากค่าแรงรายสัปดาห์ของพนักงานรายเดือนคือ 5,000 บาท จะสามารถคำนวณได้ดังนี้ 5,000 ÷ 40 = 125 บาท/ชั่วโมง
3. ค่าแรงทางตรงทั้งหมด: เงินเดือน + ค่าล่วงเวลา + สวัสดิการ = ค่าแรงทางตรงรวม
ตัวอย่าง: หากพนักงานได้รับเงินเดือน 20,000 บาท, ค่าล่วงเวลา 2,000 บาท และสวัสดิการ 1,000 บาท จะสามารถคำนวณได้ดังนี้ 20,000 + 2,000 + 1,000 = 23,000 บาท
2. คำนวณค่าล่วงเวลา
หากมีค่าล่วงเวลาที่ไม่แน่นอน อาจใช้ค่าเฉลี่ยโดยคำนวณจากค่าล่วงเวลาทั้งปีแล้วหารเฉลี่ยเป็นรายสัปดาห์ หรือรายชั่วโมง
สูตรคำนวณค่าล่วงเวลาเฉลี่ย:
- ค่าล่วงเวลาประจำปี ÷ จำนวนพนักงาน = ค่าล่วงเวลาพนักงานต่อคนต่อปี
- ค่าล่วงเวลาพนักงานต่อคนต่อปี ÷ 52 = ค่าล่วงเวลาต่อสัปดาห์
- ค่าล่วงเวลาต่อสัปดาห์ ÷ 40 = ค่าล่วงเวลาต่อชั่วโมง
ตัวอย่าง: หากค่าล่วงเวลาประจำปีทั้งหมดคือ 1,000,000 บาท และมีพนักงาน 10 คน จะสามารถคำนวณได้ดังนี้
- 1,000,000 ÷ 10 = 100,000 บาท/คน/ปี
- 100,000 ÷ 52 = 1,923.08 บาท/สัปดาห์
- 1,923.08 ÷ 40 = 48.08 บาท/ชั่วโมง
3. คำนวณแรงงานที่ต้องใช้
องค์กรต้องทราบจำนวนแรงงานที่ต้องใช้เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการผลิตหรือบริการ โดยอ้างอิงจากข้อมูลยอดขายในอดีตและแนวโน้มของลูกค้า
สูตรคำนวณชั่วโมงแรงงานทั้งหมดต่อหน่วย:
ชั่วโมงการผลิต + ชั่วโมงการตรวจสอบ + ชั่วโมงปฏิสัมพันธ์กับลูกค้า + ชั่วโมงในการขนส่ง = ชั่วโมงแรงงานทั้งหมดต่อหน่วย
ตัวอย่าง: หากใช้เวลา 5 ชั่วโมงในการผลิต, 1 ชั่วโมงในการตรวจสอบ, 2 ชั่วโมงในการปฏิสัมพันธ์กับลูกค้า และ 1 ชั่วโมงในการขนส่ง จะสามารถคำนวณได้ดังนี้ 5 + 1 + 2 + 1 = 9 ชั่วโมง/หน่วย
สูตรคำนวณชั่วโมงแรงงานทางตรงที่ต้องใช้:
จำนวนหน่วยที่ต้องการ x จำนวนชั่วโมงแรงงานที่จะทำหน่วยให้เสร็จ = จำนวนชั่วโมงแรงงานทางตรงที่จัดทำงบประมาณไว้
ตัวอย่าง: หากต้องการผลิต 100 หน่วย และใช้ 9 ชั่วโมงต่อหน่วย จะสามารถคำนวณได้ดังนี้ 100 × 9 = 900 ชั่วโมงแรงงานทางตรง
4. ตรวจสอบความถูกต้องของต้นทุน
องค์กรควรตรวจสอบว่าต้นทุนแรงงานที่คำนวณมาครอบคลุมค่าใช้จ่ายทั้งหมด และสะท้อนต้นทุนที่แท้จริงของธุรกิจ
สูตรงบประมาณแรงงานทางตรง:
เป้าหมายการผลิต x ชั่วโมงแรงงานทางตรง = ชั่วโมงแรงงานทางตรงของงบประมาณ
ตัวอย่าง: หากเป้าหมายการผลิตคือ 100 หน่วย และต้องการ 9 ชั่วโมงแรงงานต่อหน่วย จะสามารถคำนวณได้ดังนี้ 100 × 9 = 900 ชั่วโมงแรงงานทางตรงของงบประมาณ
งบประมาณชั่วโมงแรงงานทางตรง x ต้นทุนแรงงานทางตรง = งบประมาณต้นทุนแรงงานทางตรง
ตัวอย่าง: หากต้นทุนแรงงานทางตรงคือ 200 บาทต่อชั่วโมง จะสามารถคำนวณได้ดังนี้ 900 × 200 = 180,000 บาท
สรุป วิธีการคำนวณงบประมาณแรงงานเรื่องสำคัญที่เจ้าของธุรกิจต้องรู้
การคำนวณงบประมาณแรงงานเป็นเรื่องสำคัญที่เจ้าของธุรกิจต้องรู้ เพื่อให้สามารถควบคุมต้นทุนแรงงาน วางแผนค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับพนักงาน และลดความเสี่ยงทางการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยสามารถทำได้ด้วยการคำนวณค่าแรงทางตรงขององค์กร คำนวณค่าล่วงเวลา คำนวณแรงงานที่ต้องใช้ และตรวจสอบความถูกต้องของต้นทุน