PageView Facebook
date_range 12/01/2024 visibility 26544 views
bookmark HR Knowledge
ขั้นตอนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่ดี มีอะไรบ้าง? - blog image preview
Blog >ขั้นตอนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่ดี มีอะไรบ้าง?

เพื่อยกระดับการบริหารงานให้มีคุณภาพมากขึ้น ขั้นตอนการบริหารทรัพยากรมนุษย์จึงต้องมีคุณภาพด้วย โดยมีอะไรบ้าง มาดูกันในบทความนี้


บทความเกี่ยวข้องที่น่าสนใจ :




การบริหารทรัพยากรมนุษย์คืออะไร


การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Management) หรือ HRM เดิมเรียกกันว่าการบริหารงานบุคคล (Personnel Management) เป็นกระบวนการที่มุ่งเน้นการจัดการและดูแลด้านทรัพยากรมนุษย์ภายในองค์กร เพื่อให้ทรัพยากรมนุษย์ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและมีความพร้อมที่จะทำในทิศทางของวัตถุประสงค์ขององค์กรนั้น ๆ


การบริหารทรัพยากรมนุษย์มักเกี่ยวข้องกับหลายด้าน เช่น การสรรหาบุคลากรและเลือกบุคลากรที่เหมาะสม, การพัฒนาทักษะและความสามารถของพนักงาน, การจัดทำนโยบายและกฎระเบียบบริษัท, การบริหารประสิทธิผล, และการจัดการความสัมพันธ์ระหว่างพนักงาน ซึ่งทั้งหมดนี้มีเป้าหมายที่จะส่งผลให้ทรัพยากรมนุษย์ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความพร้อมที่จะทำงานในสภาพแวดล้อมองค์กรที่เต็มไปด้วยความท้าทายและเป้าหมายทางธุรกิจขององค์กร


ขั้นตอนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่ดี มีอะไรบ้าง?


การบริหารทรัพยากรมนุษย์ให้ดีนั้น จะมีกระบวนการครอบคลุมหลายด้าน เพื่อให้บุคลากรสามารถทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและสร้างความมั่นใจในองค์กร โดยขั้นตอนในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่ดี มีดังนี้



1. การออกแบบและวิเคราะห์ความต้องการ (Task Specialization Process)


ขั้นตอนนี้จะเริ่มที่การสำรวจความต้องการขององค์กรว่าบุคลากรแบบใดที่จะตอบโจทย์ในการบริหารงานขององค์กรได้ดีที่สุด แล้วจะต้องตั้งวัตถุประสงค์ของการวิจัย ออกแบบและวิเคราะห์จากทีมงานที่มีความรู้ในตำแหน่งนั้นๆ เพื่อที่จะตามหาบุคลากรที่ตรงตามความต้องการนั้น โดยส่วนใหญ่จะใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการสำรวจ


2. การวางแผนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Planning)


หลังจากได้ความต้องการบุคลากรที่ตอบโจทย์องค์กรอย่างชัดเจนแล้ว ต่อไปจึงเป็นขั้นตอนการวางแผนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ โดยประกอบไปด้วย 4 ขั้นตอนดังนี้


  • การสรรหาทรัพยากรมนุษย์ (Recruitment)

เป็นการกำหนดกลยุทธ์ในการสรรหาบุคลากรที่ตรงกับความต้องการขององค์กร ซึ่งส่วนใหญ่จะมีกลยุทธ์ที่แตกต่างกันไป เช่น การลงประกาศตามหาในเว็บไซต์ หรือโซเชียลมีเดีย การแนะนำจากพนักงานในองค์กร เป็นต้น


  • การคัดเลือกบุคลากร (Selection)

เป็นขั้นตอนหลังจากที่ผู้สมัครส่งใบสมัครและประวัติส่วนตัวเข้ามาแล้ว โดยขั้นตอนนี้จะมีวิธีการพิจารณาที่แตกต่างกันไปแต่ละองค์กร


  • การว่าจ้างพนักงาน (Hiring)

เมื่อ HR ตามหาคนพบบุคลากรที่ตอบโจทย์ความต้องการขององค์กรแล้ว ก็จะทำข้อตกลงว่าจ้างตามความเหมาะสมและขั้นตอนของแต่ละองค์กรต่อไป


  • การอบรมและพัฒนาบุคลากร (Training and Development)

ถึงแม้ว่าจะจบกระบวนการสรรหาบุคลากรที่ตรงความต้องการขององค์กรแล้ว แต่ก็ยังคงต้องดำเนินการต่อในช่วงที่เรียกว่า การทดลองงาน ต่อไปอีก 3 เดือนโดยประมาณ ซึ่งในระหว่างนั้นองค์กรจะอบรมตามหลักสูตรการปฐมนิเทศพนักงานใหม่ หรือ Onboarding Program ของแต่ละองค์กร เพื่อพัฒนาศักยภาพและสร้างการรับรู้และปรับตัวให้เข้ากับการทำงานและวัฒนธรรมองค์กร


3. การจ่ายค่าตอบแทนและผลประโยชน์แก่พนักงาน (Employee Remuneration)


สำหรับขั้นตอนนี้อาจจะต้องใช้การวิจัยด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์เข้ามาช่วยในการสำรวจค่าตอบแทนของตลาดแรงงานและสำรวจทรัพยากรภายในองค์กรว่าสามารถจ่ายค่าตอบแทนได้เท่าใด จึงต้องพิจารณากันให้ดีทั้งด้านบุคลากรที่มาสมัครและองค์กรที่กำลังมองหาบุคลากรด้วย และนอกจากนี้ยังมีเรื่องของสวัสดิการพนักงานและผลประโยชน์อื่นๆ ที่ต้องมอบให้กับพนักงาน โดยต้องพิจารณาจากการตั้งสมมติฐานงานวิจัย พร้อมกับการทำแบบสอบถามเพื่อให้ตรงกับสวัสดิการหรือผลประโยชน์ที่กลุ่มเป้าหมายต้องการให้มากที่สุด


4. การประเมินผลการปฏิบัติงาน (Performance Management)


ทุกองค์กรมักจะมีการประเมินผลการปฏิบัติงานตามช่วงเวลาที่แตกต่างกันไป เช่น ช่วงฝึกงาน 3 เดือน ทุก 3 เดือน 6 เดือน หรือ 1 ปี เป็นต้น โดยหลายองค์กรจะมีตัวช่วยในการสร้างแบบประเมินออนไลน์จากโปรแกรมบริหารงานบุคคล เช่น โปรแกรม HumanSoft ทำให้การประเมินผลทั้งในส่วนของ HR และพนักงานมีความสะดวกมากขึ้น นอกจากการประเมินผลการปฏิบัติงานแล้ว ควรสำรวจความพึงพอใจในการทำงานด้วยวิธีการทำแบบสอบถามออนไลน์ เพื่อพิจารณาปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในองค์กรด้วย


5. การแก้ไขปัญหาและลดการขัดแย้ง (Conflict Resolution)


การวางแผนกลยุทธ์เพื่อแก้ไขปัญหาและรับมือกับความขัดแย้งทั้งระหว่างพนักงานด้วยกัน และระหว่างองค์กรกับพนักงาน ก็เป็นเรื่องที่ขาดไม่ได้สำหรับขั้นตอนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ เพราะหากมีความขัดแย้งเกิดขึ้น ถึงแม้จะเป็นเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ก็สามารถสร้างผลกระทบให้กับองค์กรได้เช่นกัน


6. การสร้างปฏิสัมพันธ์ในองค์กร (Employee Relations)


อีกหนึ่งขั้นตอนที่ขาดไม่ได้ คือการสร้างปฏิสัมพันธ์ภายในองค์กร ซึ่งเป็นขั้นตอนที่จะช่วยให้การบริหารทรัพยากรมนุษย์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะความสัมพันธ์ที่ดี จะช่วยส่งเสริมการทำงานเป็นทีมให้มีประสิทธิภาพ และประสานงานกันได้ดีมากขึ้น อีกทั้งยังสามารถรักษาบุคลากรให้อยู่กับองค์กรนานมากขึ้นด้วย


สรุปขั้นตอนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่ดี


ขั้นตอนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่ดี เป็นพื้นฐานของความก้าวหน้าในธุรกิจ เพราะเมื่อองค์กรมีขั้นตอนและกลยุทธ์ในการบริหารที่ดี จะทำให้บุคลากรมีศักยภาพมากขึ้นและการทำงานในทุกๆ ด้านขององค์กรก็จะมีประสิทธิภาพมากขึ้นตามไปด้วย แล้วสุดท้ายทั้งบุคลากรและองค์กรก็จะประสบความสำเร็จและก้าวหน้าไปด้วยกัน


hms-helpful-shadow svg fileโปรแกรมเงินเดือน HumanSoft
ทดลองใช้ฟรี 30 วันครบทุกฟังก์ชัน
  • บริการขึ้นระบบ ฟรี
  • ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น
  • ยกเลิกเมื่อไหร่ก็ได้