การประเมินผลการทำงานของพนักงานประจำปี ให้ได้ผลลัพธิ์ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด ควรใช้เกณฑ์ในการวัดผลในหลายๆ มิติ โดยใช้อะไรบ้าง มาดูในบทความนี้
บทความเกี่ยวกับการประเมินผลที่คุณอาจสนใจ :
- ระบบประเมินผลพนักงานที่ดี ต้องมีอะไรบ้าง
- KPI คืออะไร? ประเมินผลงานเพื่อคุณภาพขององค์กร
- แจกฟรี! แบบฟอร์มประเมินพนักงาน รวมครบ โหลดใช้ได้ทันที
- สร้างแบบประเมินพนักงานออนไลน์ง่ายๆ ด้วยโปรแกรม HR
- ประเมิน KPI ทำอย่างไรให้ถูกต้องและเห็นผลมากที่สุด
องค์กรมีการประเมินผลพนักงานประจำปีเพื่ออะไร?
การประเมินผลพนักงานประจำปี เป็นกระบวนการที่องค์กรหรือบริษัทใช้ในการประเมินและวิเคราะห์ประสิทธิภาพและการทำงานของพนักงานในระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งระยะเวลานี้มักเป็นปีการทำงานขององค์กรนั้นๆ โดยมีวัตถุประสงค์หลักๆ ดังเช่น
วัตถุประสงค์การประเมินผลพนักงาน
- เพื่อประเมินศักยภาพของพนักงาน
เพราะการประเมินผลการทำงานประจำปีนั้น สามารถช่วยให้องค์กรทราบถึงความสามารถและประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานแบบใกล้เคียงความเป็นจริงมากที่สุด อีกทั้งยังสามารถหาจุดแข็งและจุดอ่อนที่พนักงานควรปรับปรุงได้อีกด้วย
- เพื่อพัฒนาบุคลากร
การประเมินนี้สามารถส่งเสริมกระบวนการพัฒนาศักยภาพให้กับพนักงานได้ เพราะจะสามารถระบุได้ว่าพนักงานควรพัฒนาคนเองไปในทิศทางใด
- เพื่อการปรับเงินเดือน
การประเมินผลการทำงานประจำปีนี้ สามารถเป็นตัวชี้วัดสำคัญในการตัดสินใจปรับอัตราค่าจ้าง หรือ การให้รางวัลสำหรับพนักงานที่มีผลงานดีในปีนั้นๆ
- เพื่อบริหารความสัมพันธ์ของพนักงานและองค์กร
การประเมินผลที่ดี และมีความชอบธรรมนั้น จะช่วยสร้างความมั่นใจและความพึงพอใจในการทำงาน โดยจะช่วยบริหารความสัมพันธ์ระหว่างพนักงานและองค์กรได้
การประเมินผลพนักงานประจำปี สามารถทำได้หลายวิธีและหลากหลายเครื่องมือ เช่น การสัมภาษณ์พนักงาน การติดตามผลงาน แบบประเมินความสามารถ และการรีวิวประจำปี ส่วนหลักเกณฑ์การประเมินผล จะขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์และแนวทางขององค์กร ซึ่งนิยมที่จะมีการประเมินจากหลายมุมมอง เช่น ผู้บังคับบัญชา ร่วมงาน และผู้รับบริการ เพื่อให้การประเมินเป็นรูปแบบครอบคลุมและมีความสมดุลอย่างมากที่สุด
เกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินผลงานประจำปี
เมื่อการประเมินผลงานนั้น สามารถทำได้หลากหลายวิธี ขึ้นอยู่กับลักษณะงานของแต่ละแผนก และขึ้นอยู่กับธุรกิจแต่ละองค์กรด้วย การประเมินผลงานของแต่ละฝ่าย แต่ละแผนก จึงมีวิธีการที่แตกต่างกัน เช่น พนักงานขายที่มีเป้าหมายเป็นยอดขาย การประเมินก็จะไม่ซับซ้อนเท่าพนักงานฝ่ายสนับสนุนที่มีลักษณะงานอันหลากหลาย องค์กรจึงต้องเลือกวิธีการวัดผลในหลายๆ มิติ โดยหลักเกณฑ์ที่สำคัญดังนี้
1. เป้าหมาย
วิธีนี้ใช้เป้าหมายที่กำหนดไว้ภายในระยะเวลา เช่น ทุกๆ 3 เดือน ทุกๆ 6 เดือน เป็นต้น พนักงานจะถูกประเมินตามความสำเร็จในการบรรลุเป้าหมายเหล่านั้น ทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ ซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีการวัดผลที่นิยมใช้กันทั่วไป
2. คะแนนจาก Job Description
เป็นการให้คะแนน 1-10 จาก Job Description ที่ HR ได้กำหนดบทบาทพนักงานในแต่ละตำแหน่งไว้ ไม่ว่าจะเป็น การให้ความร่วมมือ การตัดสินใจหรือ ความเชื่อถือได้ ซึ่งเป็นการวัดผลในเชิงพฤติกรรมาของตัวพนักงานเอง
3. พนักงานให้คะแนนตนเอง
หลักเกณฑ์นี้จะทำให้ทราบว่าพนักงานมีแนวโน้มที่จะลาออกในอนาคตอันใกล้นี้หรือไม่ เพราะเป็นการให้คะแนนความพึงพอใจในผลงานของตนเอง ซึ่งพนักงานที่มีความสุขจะสร้างสรรค์ผลงานได้ดี ดังนั้นความพึงพอใจจึงเป็นตัวชี้วัดอย่างหนึ่งได้
4. ประสิทธิภาพการทำงาน
การวัดประสิทธิภาพในการทำงาน วิธีนี้จะใช้คุณสมบัติหรือทักษะของพนักงานมาเป็นเกณฑ์ หากพบว่าพนักงานมีประสิทธิภาพในการทำงานลดลง จะสามารถเช็คได้ว่าพนักงานมีความจดจ่อในการทำงานมากน้อยแค่ไหน โดยอาจดูจากเวลาที่พนักงานใช้ไปกับกิจกรรมอื่นๆ เช่น การโทรศัพท์ส่วนตัว การเข้าเว็ปไซต์หรือ Social Media ต่างๆ
5. ผลงานของทีม
เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพนั้น ควรใช้ทั้งเกณฑ์ผลงานรวมของทีมและผลงานส่วนตัว ด้วย เพราะจะสามารถพิจารณาได้ว่าคนในทีมนั้นสามารถทำงานร่วมกันได้ดีหรือไม่ หรือหากทำงานร่วมกันได้ไม่ดี ควรจัดสรรทีมใหม่เพื่อกระตุ้นการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
6. เพื่อนรวมงาน
เกณฑ์การวัดความคิดเห็นของเพื่อนร่วมงานนั้น เป็นวิธีการประเมินความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นในอีกทางหนึ่ง ซึ่งเพื่อนร่วมงานจะเป็นผู้ที่รู้ว่าผู้ถูกประเมินนั้นทำหน้าที่ได้ดีเพียงใด เพราะเพื่อนร่วมงานมักรู้กันอยู่ว่างานในหน้าที่ดังที่ประเมินนั้น ต้องการอะไรบ้าง มีความยากน้อยเพียงใด
7. พฤติกรรมของพนักงาน
วิธีนี้ใช้พฤติกรรมที่พนักงานแสดงออกในการปฏิบัติงานเป็นเกณฑ์ เช่น พนักงานขาดลามาสายบ่อย จะกระทบกับการทำงานหรือไม่ เป็นต้น การประเมินนี้อาจใช้การสัมภาษณ์หรือการติดตามพฤติกรรมที่แสดงออกของพนักงานในชีวิตประจำวัน ซึ่งควรคำนึงถึงเหตุผลความจำเป็นในพฤติกรรมของพนักงานประกอบกันด้วย ไม่ควรดูจากจำนวนวันเพียงอย่างเดียว
8. ความพึงพอใจของลูกค้า
การใช้เกณฑ์ความพึงพอใจของลูกค้านี้ จะใช้ได้เฉพาะตำแหน่งงานที่ต้องติดต่อกับลูกค้าเท่านั้น โดยลูกค้าให้คะแนนการบริการของพนักงาน แล้วนำคะแนนนั้นมารวบรวมเพื่อพิจารณา ซึ่งรวมถึงการกรอกแบบฟอร์มประเมินพนักงานแสดงความคิดเห็นของลูกค้าด้วย
สรุปเกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินผลพนักงานประจำปี
การประเมินผลพนักงานประจำปีจะมีการใช้เกณฑ์เหล่านี้ซึ่งในบางครั้งอาจนำมาใช้ร่วมกันเพื่อให้การประเมินเป็นรูปแบบครอบคลุมและสมบูรณ์ และสิ่งสำคัญที่สุด คือ การกำหนดเกณฑ์การประเมินผลที่ชัดเจนและยุติธรรมเพื่อให้ผู้ที่ถูกประเมินรู้ว่าต้องปรับปรุงตัวในจุดใดและควรชี้แนะวิธีการที่ดีในการปรับปรุงตนเองในปีถัดไป