ทำความรู้จักกับ ADKAR Model เครื่องมือหลักที่จะนำความเปลี่ยนแปลงมาสู่องค์กร พัฒนาองค์กรให้ทันสมัย เน้นการเปลี่ยนแปลงให้มีประสิทธิภาพและยั่งยืน
อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม
- สร้าง Growth Mindset ในองค์กร โดย HRM
- ปรับตัวองค์กรอย่างไรให้ทันกับยุค Digital Transformation
- "บริหารคน" ยังไงให้รุ่ง ของ HRM ยุคใหม่
- เคล็ด (ไม่) ลับ “การบริหารทรัพยากรมนุษย์” ที่ HR ควรรู้
ADKAR Model คืออะไร?
ADKAR Model คือ รูปแบบการจัดการการเปลี่ยนแปลง เป็นเครื่องมือที่ช่วยสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงได้ทั้งภายในองค์กรและกับตัวบุคคล เป็นการสร้างการรับรู้ ความเข้าใจในการจัดการปัญหา สร้างความพร้อมและความสมบูรณ์ให้บุคลากรในองค์กร เน้นการเปลี่ยนแปลงอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน
ขั้นตอนของ ADKAR Model
ก่อนจะเริ่มการเปลี่ยนแปลงภายในองค์กร สิ่งแรกที่องค์กรควรจะทำ คือการทำความรู้จักกับขั้นตอนของ ADKAR Model ให้ครบถ้วน ซึ่งรายละเอียดแต่ละขั้นตอน มีดังนี้
A: Awareness (สร้างการรับรู้) คือ บุคลากรภายในองค์กร ควรพูดคุยทำความเข้าใจร่วมกันเกี่ยวกับความสำคัญและประโยชน์ของการเปลี่ยนแปลง
D: Desire (สร้างแรงจูงใจ) คือ เป็นการสนับสนุนและมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงนั้น ๆ
K: Knowledge (ให้ความรู้) คือ การให้ความรู้แก่บุคลากร เพื่อให้บุคลากรเข้าใจถึงขั้นตอนของการเปลี่ยนแปลง
A: Ability (ความสามารถ) คือ การนำความรู้ที่ได้รับแล้วลงมือปฏิบัติจริง เป็นการฝึกฝน พัฒนาทักษะความรู้ความสามารถ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงได้
R: Reinforcement (เสริมการสนับสนุน) คือ การวัดผลจากการลงมือปฏิบัติของบุคลากร องค์กรต้องมีมาตรฐานในการทำงานและให้ Feedback กับบุคลากร เพื่อให้เขารู้สึกอยากจะทำซ้ำ หรือปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น ถ้าบุคลากรไม่ทำอย่างต่อเนื่อง และองค์กรไม่มีการวัดผล สิ่งที่ทำมาทั้งหมดจะเป็นเพียงแค่การปรับปรุง สุดท้ายจะไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงใด ๆ
ตัวอย่างของ ADKAR Model
ตัวอย่างการนำ ADKAR Model ไปใช้ในสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงภายในองค์กร ดังนี้
สถานการณ์: การนำเทคโนโลยีใหม่เข้าใช้ในองค์กร
Awareness
องค์กรตระหนักรู้ถึงความจำเป็นของการนำเทคโนโลยีใหม่เข้าใช้เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพและลดความซับซ้อนในการทำงาน
Desire
สร้างการรับรู้จากบุคลากรทุกคนให้เข้าใจว่าการใช้เทคโนโลยีใหม่นี้จะช่วยให้ทำงานได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
Knowledge
จัดอบรมและการสื่อสารเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีใหม่, ให้บุคลากรได้รับความรู้และทักษะที่จำเป็น
Ability
ให้การสนับสนุนในการทดลองใช้เทคโนโลยีใหม่, ให้คำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ, และเปิดโอกาสให้พนักงานได้ฝึกใช้งานจริง
Reinforcement
สร้างระบบการเสริมที่ช่วยในการรักษาพฤติกรรมที่ถูกต้อง, เช่น การประเมินประสิทธิภาพการใช้เทคโนโลยีใหม่, และการมอบของรางวัลสำหรับผู้ใช้ที่มีผลงานดี
ผลลัพธ์ที่องค์กรจะได้รับจาก ADKAR Model
เมื่อบุคลากรภายในองค์กรเปิดรับและลงมือใช้ ADKAR Model จะทำให้ทุกระบบงานถูกต้องตามเป้าหมายของการเปลี่ยนแปลง ผลลัพธ์ที่องค์กรจะได้รับ มีดังนี้
- บุคลากรพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงพร้อมปรับตัวให้ทันกับยุค Digital Transformation
- เมื่อบุคลากรปรับเปลี่ยนแนวคิด มีทัศนคติที่ดีต่อการเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมของบุคลากรก็จะเปลี่ยนแปลงไปตามสิ่งที่องค์กรคาดหวัง
- การทำงานในระบบหลังการเปลี่ยนแปลง ทำให้เนื้องานมีประสิทธิภาพ และมีโอกาสที่ธุรกิจจะมีอัตราการเติบโตที่สูงขึ้น
สรุป ADKAR Model เปลี่ยนแปลงอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ
ADKAR Model เป็นกรอบการตั้งเป้าหมายการปรับตัวของแต่ละบุคคลภายในองค์กร เพื่อนำไปสู่การได้รับความร่วมมือจากบุคลากร มนุษย์ทุกคนมีระยะเวลาการเรียนรู้ที่แตกต่างกันไป ดังนั้น องค์กรคือศูนย์กลางในการฝึกทักษะให้กับบุคลากร โดยหลังจากการลงมือปฏิบัติตาม 5 ขั้นตอน องค์กรต้องมีการวัดผลในการทำงานและให้ Feedback ทุกครั้ง เพื่อให้บุคลากรรู้สึกอยากจะทำซ้ำและกล้าที่จะปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น รวมถึงบุคลากรในองค์กรจะต้องร่วมกันสร้างแรงบันดาลใจให้เกิด Growth Mindset ภายในองค์กร เพื่อร่วมกันเปลี่ยนแปลงและผลักดันองค์กรไปสู่เป้าหมายได้