PageView Facebook
date_range 19/09/2024 visibility 11 views
bookmark HR Knowledge
การคำนวณ Absenteeism Rate เพื่อติดตามอัตราการหยุดงานในองค์กร - blog image preview
Blog >การคำนวณ Absenteeism Rate เพื่อติดตามอัตราการหยุดงานในองค์กร

อัตราการหยุดงาน (Absenteeism Rate) ตัวชี้วัดประสิทธิภาพการบริหารทรัพยากรบุคคลในองค์กร เรียนรู้วิธีคำนวณ ปัจจัยที่ส่งผล และแนวทางการลดอัตราไปพร้อมกันในบทความนี้เลย


อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม


รู้จักกับ Absenteeism Rate

Absenteeism Rate หรืออัตราการหยุดงาน หมายถึง อัตราจำนวนวันที่พนักงานไม่มาทำงานเมื่อเทียบกับจำนวนวันที่พนักงานควรทำงานตามปกติในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ คิดเป็นร้อยละ เช่น อัตราการหยุดงานในช่วง 1 เดือนหรือ 1 ปี ซึ่งการหยุดงานที่นับรวมอาจเป็นการลาป่วย การลาเพื่อเหตุฉุกเฉิน หรือการขาดงานโดยไม่ได้รับอนุญาต ทั้งนี้อัตราการหยุดงานสามารถบ่งชี้ถึงสุขภาพทางกายภาพและจิตใจของพนักงาน และสามารถใช้เป็นตัวชี้วัดประสิทธิภาพการบริหารจัดการพนักงานในองค์กรได้


ความสำคัญของการติดตาม Absenteeism Rate ในองค์กร

การติดตาม Absenteeism Rate หรืออัตราการหยุดงานในองค์กรมีความสำคัญอย่างมากต่อการบริหารจัดการและประสิทธิภาพขององค์กร การทราบข้อมูลอัตราการหยุดงานช่วยให้องค์กรสามารถระบุปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น ปัญหาสุขภาพของพนักงาน สภาพแวดล้อมการทำงานที่ไม่ดี หรือการบริหารจัดการที่ไม่เหมาะสม เมื่อทราบถึงข้อมูลเหล่านี้จะช่วยองค์กรให้สามารถประเมินและปรับปรุงกลยุทธ์การจัดการทรัพยากรบุคคลได้อย่างมีประสิทธิภาพ


วิธีการคำนวณ Absenteeism Rate

สูตรการคำนวณ Absenteeism Rate ดังนี้



Absenteeism Rate = จำนวนวันที่หยุดงานคูณด้วย 100 และหารด้วยจำนวนวันที่ทำงานทั้งหมด


    • จำนวนวันที่หยุดงาน คือจำนวนวันทั้งหมดที่พนักงานไม่มาทำงานในช่วงเวลาที่ระบุ เช่น 1 เดือน หรือ 1 ปี

    • จำนวนวันทำงานทั้งหมดที่กำหนด คือจำนวนวันที่พนักงานควรจะทำงานทั้งหมดในช่วงเวลานั้น เช่น ถ้าองค์กรทำงาน 5 วันต่อสัปดาห์ จำนวนวันทำงานทั้งหมดใน 1 เดือนอาจเท่ากับ 20-22 วัน

 

ตัวอย่างการคำนวณ Absenteeism Rate

บริษัท A มีพนักงานในองค์กรจำนวน 80 คน ใน 1 เดือนแต่ละคนทำงานคนละ 22 วัน ในเดือนนั้นมีพนักงานขาดงานรวมทั้งหมด 30 วัน จะสามารถคิดอัตราการหยุดงานได้ดังนี้

 

    Absenteeism Rate = (30 X 100) / (80 X 22) = 1.7%

 

ดังนั้นอัตรา Absenteeism Rate หรืออัตราการหยุดงานของบริษัท A ในช่วงเวลา 1 เดือน คิดเป็น 1.7%


ปัจจัยที่ส่งผลต่อ Absenteeism Rate

อัตราการหยุดงานในองค์กรอาจเกิดขึ้นได้จากหลายเหตุปัจจัย ดังนี้



1. สุขภาพและสภาพร่างกายของพนักงาน

สุขภาพและสภาพร่างกายของพนักงานเป็นปัจจัยที่มีผลอย่างมากต่อการเกิด Absenteeism Rate หรืออัตราการหยุดงาน หากพนักงานมีปัญหาสุขภาพหรือต้องรับการรักษาพยาบาลบ่อยครั้ง อาจทำให้มีการลาป่วยเพิ่มขึ้น

 

2. สภาพจิตใจและความเครียดของพนักงาน

ความเครียดและปัญหาสภาพจิตใจสามารถส่งผลโดยตรงต่อการหยุดงานของพนักงาน เช่น ความเครียดที่เกิดจากภาระงานมากเกินไป หรือความกดดันในที่ทำงานอาจนำไปสู่การหมดไฟในการทำงาน (Burnout) ทำให้พนักงานเลือกที่จะหยุดงานเพื่อพักผ่อนหรือฟื้นฟูสภาพจิตใจ นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากปัญหาส่วนตัว เช่น ความเครียดจากครอบครัวหรือความสัมพันธ์ส่วนตัว ยังเป็นปัจจัยที่ทำให้พนักงานมีแนวโน้มขาดงานมากขึ้น เพราะความเครียดเหล่านี้อาจส่งผลให้พนักงานไม่มีสมาธิในการทำงานและต้องการเวลาหยุดเพื่อจัดการกับปัญหาส่วนตัว

 

3. วัฒนธรรมองค์กร

วัฒนธรรมองค์กรที่ไม่เอื้อต่อการทำงานอาจส่งผลให้พนักงานหยุดงานมากขึ้น เช่น องค์กรที่มีความขัดแย้งภายใน หรือมีการบริหารจัดการที่เข้มงวดมากเกินไป อาจทำให้พนักงานรู้สึกไม่สบายใจและสูญเสียแรงจูงใจในการทำงาน นอกจากนี้หากองค์กรไม่มีการสนับสนุนพนักงานในเรื่องส่วนตัวหรือการดูแลสุขภาพ พนักงานอาจรู้สึกว่าตนเองไม่มีคุณค่าและตัดสินใจหยุดงานบ่อยขึ้น เพื่อหาวิธีหลีกหนีจากสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวย

 

4. นโยบายการลางานขององค์กร

นโยบายการลางานขององค์กรมีผลโดยตรงต่อการหยุดงาน หากองค์กรมีนโยบายการลางานที่เข้มงวดหรือมีข้อจำกัดในการลาป่วยหรือหยุดงาน พนักงานอาจไม่สามารถลางานได้เมื่อมีความจำเป็น หรืออาจเลือกที่จะหยุดงานแบบไม่แจ้งล่วงหน้า ซึ่งทำให้อัตราการหยุดงานเพิ่มสูงขึ้น ในทางกลับกัน องค์กรที่มีนโยบายการลางานที่ยืดหยุ่น เช่น การลาป่วยโดยไม่ต้องมีใบรับรองแพทย์ หรือมีการสนับสนุนการลางานเพื่อลดความเครียด จะช่วยลดอัตราการหยุดงานลงได้


แนวทางการลดอัตรา Absenteeism Rate ในองค์กร

แนวทางในการลดอัตรา Absenteeism Rate หรืออัตราการหยุดงานในองค์กรเพื่อให้พนักงานมีสุขภาพที่ดี มีแรงจูงใจในการทำงาน และสามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ มีดังนี้



1. การส่งเสริมสุขภาพพนักงาน

การส่งเสริมสุขภาพพนักงานเป็นกุญแจสำคัญในการลดอัตราการหยุดงาน เนื่องจากสุขภาพร่างกายและจิตใจที่แข็งแรงช่วยให้พนักงานมีความสามารถในการทำงานอย่างต่อเนื่อง องค์กรสามารถสนับสนุนสุขภาพของพนักงานได้หลายวิธี เช่น จัดกิจกรรมออกกำลังกายที่เหมาะสมในที่ทำงาน จัดหาสวัสดิการสุขภาพ เช่น ประกันสุขภาพ โปรแกรมตรวจสุขภาพประจำปี และการให้คำปรึกษาด้านสุขภาพจิต การส่งเสริมให้พนักงานพักผ่อนอย่างเหมาะสม รวมถึงการให้พนักงานมีเวลาพักเพียงพอระหว่างวันทำงาน จะช่วยลดโอกาสการเจ็บป่วยและทำให้พนักงานมีความพร้อมในการทำงานมากขึ้น

 

2. การจัดการกับความเครียดของพนักงาน

การจัดการความเครียดอย่างมีประสิทธิภาพสามารถช่วยลดการหยุดงานได้ องค์กรควรสร้างระบบการสนับสนุนทางจิตใจให้พนักงาน เช่น การจัดหาโปรแกรมให้คำปรึกษาหรือสอนเทคนิคการจัดการกับความเครียด นอกจากนี้การแบ่งงานอย่างสมดุลเพื่อลดภาระงานที่มากเกินไป และการสร้างการสื่อสารที่เปิดกว้างเพื่อให้พนักงานสามารถแสดงความคิดเห็นหรือข้อกังวลได้อย่างอิสระ จะช่วยลดความเครียดในที่ทำงานและทำให้พนักงานรู้สึกมีความมั่นใจและพร้อมทำงานต่อไป

 

3. การสร้างบรรยากาศการทำงานที่ดี

องค์กรควรส่งเสริมวัฒนธรรมการทำงานที่พนักงานรู้สึกมีคุณค่าและเป็นส่วนหนึ่งของทีม เช่น การสร้างการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ หรือการให้พนักงานมีโอกาสในการพัฒนาตนเอง บรรยากาศการทำงานที่เปิดกว้างและเป็นมิตรยังช่วยสร้างความผูกพันระหว่างพนักงานกับองค์กร ซึ่งส่งผลให้พนักงานรู้สึกมีความสุขในการทำงาน ช่วยให้พนักงานรู้สึกสบายใจและลดแนวโน้มการหยุดงาน

 

4. การพัฒนานโยบายการลางานที่สมดุล

หากนโยบายการลางานมีความยืดหยุ่น เช่น การอนุญาตให้พนักงานลาป่วยได้โดยไม่ต้องมีเอกสารที่ยุ่งยาก หรือการให้พนักงานสามารถใช้วันลาพักร้อนเมื่อมีเหตุฉุกเฉิน นโยบายเหล่านี้จะทำให้พนักงานรู้สึกว่าองค์กรเข้าใจและสนับสนุนความเป็นอยู่ของพวกเขา นอกจากนี้การให้พนักงานสามารถจัดตารางวันลาของตนเองได้โดยไม่กระทบกับการทำงาน จะช่วยลดแรงกดดันในการตัดสินใจลางานอย่างไม่จำเป็น และยังช่วยให้พนักงานสามารถจัดการเรื่องส่วนตัวได้ดีขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้พนักงานมีความพร้อมในการทำงานมากขึ้น

 

5. การสร้างแรงจูงใจในการมาทำงาน

พนักงานที่รู้สึกมีแรงจูงใจจะมีความผูกพันและอยากที่จะทำงานมากขึ้น องค์กรสามารถสร้างแรงจูงใจได้ผ่านหลายวิธี เช่น การให้รางวัลหรือโบนัสสำหรับการมาทำงานอย่างสม่ำเสมอ การจัดโปรแกรมรางวัลสำหรับพนักงานที่ไม่ขาดงานตลอดปี การให้โอกาสพนักงานได้เรียนรู้หรือพัฒนาทักษะใหม่ ๆ รวมถึงการสนับสนุนการเลื่อนตำแหน่งหรือความก้าวหน้าในอาชีพยังช่วยเพิ่มความรู้สึกภาคภูมิใจและความมุ่งมั่นในการทำงาน



สรุป การคำนวณ Absenteeism Rate เพื่อติดตามอัตราการหยุดงานในองค์กร

Absenteeism Rate หมายถึง อัตราการหยุดงานเมื่อเทียบกับจำนวนวันที่พนักงานควรทำงานตามปกติในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ คิดเป็นร้อยละ ซึ่งมีความสำคัญในด้านการติดตามและปรับปรุงระบบการบริหารทรัพยากรบุคคลขององค์กร โดยมัสูตรการคำนวณคือ Absenteeism Rate = จำนวนวันที่หยุดงานคูณด้วย 100 และหารด้วยจำนวนวันที่ทำงานทั้งหมด อัตราการหยุดงานในองค์กรนั้นมีปัจจัยมาจากสุขภาพร่างกาย สภาพจิตใจ และความเครียดของพนักงาน วัฒนธรรมองค์กร และนโยบายการลางาน โดยมีแนวทางในการลดอัตราการหยุดงาน ได้แก่ การส่งเสริมสุขภาพพนักงาน การจัดการกับความเครียดของพนักงาน การสร้างบรรยากาศการทำงานที่ดี การพัฒนานโยบายการลางานที่สมดุล และการสร้างแรงจูงใจในการมาทำงาน

โปรแกรมเงินเดือน HumanSoft
ทดลองใช้ฟรี 30 วันครบทุกฟังก์ชัน
  • บริการขึ้นระบบ ฟรี
  • ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น
  • ยกเลิกเมื่อไหร่ก็ได้