PageView Facebook
date_range 11/04/2024 visibility 10155 views
bookmark HR Knowledge
7S McKinsey โมเดลสร้างองค์กรที่ยั่งยืนสำหรับองค์กรยุคใหม่ - blog image preview
Blog >7S McKinsey โมเดลสร้างองค์กรที่ยั่งยืนสำหรับองค์กรยุคใหม่

รู้จักกับ 7S McKinsey โมเดลที่ช่วยสร้างองค์กรอย่างยั่งยืนสำหรับการประกอบธุรกิจยุคใหม่โดย 7S McKinsey มีองค์ประกอบอะไรบ้าง สามารถนำไปปรับใช้ในองค์กรอย่างไร ไปดูเลย


อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม:


7S McKinsey คืออะไร


7S McKinsey หรือ กรอบการทำงาน McKinsey 7S เป็นโมเดลที่ถูกพัฒนาขึ้นโดย McKinsey & Company บริษัทที่ปรึกษาระดับโลก โดยโมเดล 7S McKinsey หมายถึงเครื่องมือที่วิเคราะห์ในการ “ออกแบบองค์กร” ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์และปรับปรุงองค์กรให้มีประสิทธิภาพและมีระสิทธิผลมากขึ้นผ่านการประสานด้วยองค์ประกอบสำคัญ 7 ประการ ได้แก่ Structure โครงสร้างองค์กร Strategy (กลยุทธ์) Style (รูปแบบการบริหารจัดการ) Staff (พนักงาน) System (ระบบการปฏิบัติงาน) Shared value (ค่านิยมร่วม) และ Skill (ทักษะ ความรู้ ความสามารถ)


องค์ประกอบของ 7S McKinsey

7S McKinsey ประกอบไปด้วยสิ่งสำคัญ 7 ประการ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

 


1. Structure - โครงสร้างองค์กร

เริ่มต้นกันที่ S แรก คือ Structure ซึ่งหมายถึง โครงสร้างองค์กร ทำหน้าที่สำคัญในการแสดงถึงบทบาทหน้าที่ ความสัมพันธ์ของบุคลากรหรือสมาชิกในองค์กร และเป็นการจัดระเบียบของส่วนต่าง ๆ ภายในองค์กร ซึ่งการมีโครงสร้างองค์กรที่ชัดเจนนั้น จะช่วยให้บุคลากรภายในองค์กรสามารถทำงานได้อย่างราบรื่น

 

2. Strategy – กลยุทธ์

S ต่อมาคือ Strategy หมายถึง กลยุทธ์ โดยการมีการวางแผนภายในองค์กรหรือการมีกลยุทธ์การบริหารที่ดีก็จะช่วยให้องค์กรบรรลุเป้าหมายได้ อีกทั้งยังเพิ่มความได้เปรียบในเรื่องของการแข่งขันทางธุรกิจได้เป็นอย่างดีอีกด้วย ซึ่งการมีกลยุทธ์ที่ดีก็เปรียบเสมือนการวางเส้นทางไปสู่จุดหมายได้นั่นเอง

 

ที่สำคัญการวางกลยุทธ์นั้น ควรที่จะต้องคำนึงถึง การแข่งขันทางธุรกิจ ทรัพยากร และความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต ดังนั้น ควรที่จะวางแผนกลยุทธ์อย่างรอบคอบ และตัดสินใจอย่างมีข้อมูล

 

3. Style – รูปแบบการบริหารจัดการ

S ต่อมาคือ Style หมายถึง รูปแบบของการบริหารจัดการ เชื่อว่าผู้บริหารแต่ละท่านก็มีรูปแบบการบริหารที่ต่างกันออกไป อีกทั้งยังขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการไม่ว่าจะเป็น วัฒนธรรมองค์กร สถานการณ์ ลักษณะนิสัยของผู้บริหารนั้น ๆ ซึ่งรูปแบบการบริหารเรียกได้ว่าไม่มีสูตรสำเร็จที่ตายตัว สิ่งสำคัญของสไตล์การบริหารคือการมีทัศนคติที่ดี และมีภาวะผู้นำ

 

4. Staff - พนักงาน

Staff หมายถึง พนักงานหรือบุคลากรในองค์กร เรียกได้ว่าเป็นทรัพยากรที่สำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรให้ไปสู่ความสำเร็จได้ โดยการบริหารจัดการบุคลากรภายในองค์กร ผ่านการคัดเลือกหรือสรรหาบุคลากร เลือกคนให้เหมาะสมกับงาน รวมไปถึงการพัฒนาบุคลากรให้มีประสิทธิภาพ

 

5. System - ระบบการปฏิบัติงาน

S ถัดมาคือ System หมายถึง ระบบการปฏิบัติงานหรือระบบการทำงาน โดย System ในที่นี้รวมไปถึงขั้นตอนการทำงาน ระบบที่นำมาใช้ในการทำงาน ตลอดจนซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมต่าง ๆ ที่ถูกนำมาใช้ในกระบวนการการทำงานภายในองค์กร ซึ่งควรสอดคล้องกับความต้องการขององค์กรและโครงสร้างองค์กร

 

ดังนั้น ควรวิเคราะห์ว่าระบบหรือกระบวนการทำงานในปัจจุบันนั้น มีเหมาะสมต่อความต้องการหรือเหมาะสมต่อโครงสร้างองค์กรหรือไม่ ช่วยสนับสนุนพนักงานในเรื่องของการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานหรือไม่

 

6. Shared value – ค่านิยมร่วม

Shared value หมายถึง ค่านิยมร่วมกันในองค์กร เป็นแนวทางหรือกรอบแนวคิดในการปฏิบัติขององค์กร ที่พนักงานในองค์กรทุกคนรับรู้ รับทราบ และยึดถือปฏิบัติร่วมกัน ซึ่งค่านิยมในองค์กรถือเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันภายในองค์กรได้

 

7. Skill - ทักษะ ความรู้ ความสามารถ

Skill หมายถึง ทักษะ ความรู้ และความสามารถของบุคลากรในองค์กร การส่งเสริมการพัฒนาทักษะของพนักงานด้วยการ Upskill และ Reskill อยู่เสมอก็จะช่วยส่งผลดีให้กับองค์กร และยังเป็นการช่วยเตรียมความพร้อมของพนักงานในยุคที่การแข่งขันทางธุรกิจสูงได้อีกด้วย

 

โดยองค์ประกอบของ 7S McKinsey ของแต่ละ S นั้น มีความหมายที่ต่างกันออกไป แต่มีความสัมพันธ์ที่เชื่อมโยงถึงกัน แต่ก็ล้วนมีวัตถุประสงค์หลักในการเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กร


การนำ 7S McKinsey มาปรับใช้ในองค์กร

การนำโมเดล 7S McKinsey มาปรับใช้ในองค์กรนั้นสามารถทำได้อย่างไร? ... การนำ 7S McKinsey มาใช้ในองค์กร ต้องผ่านการคิดวิเคราะห์ การตรวจสอบอย่างถี่ถ้วน เพื่อมองหาช่องว่างและความไม่สอดคล้องกันในความสัมพันธ์ในองค์ประกอบต่าง ๆ ขององค์กร โดยสามารถนำ 7S McKinsey มาปรับใช้ในองค์กรในองค์กรได้ดังนี้


 

ขั้นตอนที่ 1 วิเคราะห์ปัจจัยแต่ละ S

เริ่มต้นด้วยการทำการวิเคราะห์แต่ละองค์ประกอบของโมเดล 7S McKinsey ในองค์กร การวิเคราะห์นี้ควรประกอบด้วยการสำรวจกลยุทธ์ปัจจุบันขององค์กร เข้าใจโครงสร้างองค์กร ระบบการทำงาน ความสามารถของบุคลากร วิธีการดำเนินการภายในองค์กร และวัฒนธรรมองค์กร

 

ขั้นตอนที่ 2 ระบุส่วนที่ต้องปรับปรุงภายในองค์กร

เมื่อทำการวิเคราะห์องค์กรตามองค์ประกอบของ 7S McKinsey แล้ว ต่อมาคือการระบุส่วนที่ควรปรับปรุงหรือต้องการพัฒนาในองค์กร เช่น การปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กรเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นในการทำงาน การพัฒนาระบบการทำงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ เป็นต้น

 

ขั้นตอนที่ 3 วางแผนและดำเนินการ

ก่อนที่จะเริ่มดำเนินการปรับปรุง ผู้บริหาร HR และพนักงานควรวางแผนและกำหนดกลยุทธ์ในการดำเนินการร่วมกันโดยใช้ข้อมูลจากการวิเคราะห์ รวมถึงการกำหนดวัตถุประสงค์ และแผนการปฏิบัติที่เหมาะสมในแต่ละส่วนที่ควรปรับปรุงและพัฒนา

 

ขั้นตอนที่ 4 ปรับปรุงและพัฒนาตามแผนงาน

ดำเนินการปรับปรุงตามแผนงานที่ได้วางแผนไว้ รวมถึงการสร้างระบบการทำงานในรูปแบบใหม่ ๆ ให้ดียิ่งขึ้น พัฒนาทักษะและความสามารถของบุคลากร การปรับเปลี่ยนวิธีการดำเนินการที่คิดว่าเป็นอุปสรรคในการทำงาน

 

ขั้นตอนที่ 5 การติดตามผลและประเมิน

ติดตามผลการดำเนินการและการปรับปรุงอยู่เสมอ เพื่อให้แน่ใจว่าการปรับปรุงหรือพัฒนาตามแผนที่ได้วางไว้มีผลต่อประสิทธิภาพและความสำเร็จขององค์กรมากน้อยแค่ไหน และนำข้อมูลที่ได้ไปพัฒนาต่อไปเพื่อให้องค์กรมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้


สรุป 7S McKinsey โมเดลสร้างองค์กรที่ยั่งยืนสำหรับธุรกิจยุคใหม่

กล่าวโดยสรุปคือ 7S McKinsey เป็นโมเดลในเชิงกลยุทธ์ที่เข้ามาช่วยปรับปรุงและวิเคราะห์องค์กรให้เกิดความพัฒนา เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี และมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยการนำ 7S McKinsey มาปรับใช้ในองค์กรควรที่จะเกิดจากการร่วมมือของทุกคนในองค์กรตั้งแต่ผู้บริหาร HR หัวหน้างาน พนักงาน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกคน เพื่อที่จะนำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จ

hms-helpful-shadow svg fileโปรแกรมเงินเดือน HumanSoft
ทดลองใช้ฟรี 30 วันครบทุกฟังก์ชัน
  • บริการขึ้นระบบ ฟรี
  • ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น
  • ยกเลิกเมื่อไหร่ก็ได้