ตอบข้อสงสัยสำหรับลูกจ้างที่สิ้นสุดเวลาการทำงานกับนายจ้าง นายจ้างต้องคืนหลักประกันการทำงานให้ภายในกี่วัน และหากไม่คืนตามกำหนดนายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชยอะไรบ้าง?
อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม
- Q&A ไม่ผ่านทดลองงาน นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยไหม?
- การพ้นสภาพการเป็นพนักงานและการจ่ายค่าชดเชย มีเงื่อนไขใดบ้าง
- ค่าชดเชยพิเศษหมายความว่าอย่างไร นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยพิเศษ
- มัดรวมเคล็ดลับพัฒนาองค์กรด้วย Coloring Book
Q: นายจ้างต้องคืนหลักประกันการทำงานให้ลูกจ้างภายในกี่วัน?
ตามกฎหมายแรงงาน ห้ามมิให้นายจ้างเรียกเงินหรือหลักประกันการทำงานจากลูกจ้าง เว้นแต่งานบางประเภทที่กฎหมายอนุญาตเท่านั้น นายจ้างจึงจะสามารถเรียกเงินหรือหลักประกันจากลูกจ้างได้ สิ่งสำคัญที่ลูกจ้าง และนายจ้างต้องทราบ หากสัญญาจ้างสิ้นสุด นายจ้างจะต้องคืนหลักประกันการทำงานให้ลูกจ้างภายในกี่วัน? ไปหาคำตอบกันเลย
A: ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน นายจ้างต้องคืนหลักประกันการทำงานให้ลูกจ้างภายใน 7 วัน นับตั้งแต่วันที่นายจ้างเลิกจ้าง ลูกจ้างลาออก หรือสัญญาประกันสิ้นอายุ
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 10 วรรคสอง กำหนดว่า “ในกรณีนายจ้างเรียกหรือรับหลักประกัน หรือทำสัญญาประกันกับลูกจ้างเพื่อชดใช้ความเสียหายที่ลูกจ้างเป็นผู้กระทำ เมื่อนายจ้างเลิกจ้าง ลูกจ้างลาออก หรือสัญญาประกันสิ้นอายุให้นายจ้างคืนหลักประกันพร้อมดอกเบี้ย ถ้ามี ให้แก่ลูกจ้างภายใน 7 วัน นับแต่วันที่นายจ้างเลิกจ้าง ลูกจ้างลาออก หรือวันที่สัญญาประกันสิ้นอายุ แล้วแต่กรณี”
ตัวอย่าง
- นาย A เป็นลูกจ้างของบริษัท B นาย A ลาออกจากงานเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2567 บริษัท B ต้องคืนหลักประกันการทำงานให้กับนาย A ภายในวันที่ 12 มิถุนายน 2567
Q: นายจ้างไม่ต้องคืนหลักประกันให้ลูกจ้าง ในกรณีใดบ้าง
อย่างไรก็ตามกฎหมายยังมีข้อยกเว้น นายจ้างสามารถไม่คืนหลักประกันการทำงานให้กับลูกจ้างในกรณี ดังต่อไป
A: นายจ้างสามารถไม่คืนหลักประกันการทำงานให้แก่ลูกจ้างในกรณี ลูกจ้างผิดนัดชำระค่าเสียหาย, ลูกจ้างลาออกโดยไม่แจ้งล่วงหน้า และลูกจ้างกระทำผิดร้ายแรง
ลูกจ้างผิดนัดชำระค่าเสียหาย
กรณีลูกจ้างผิดนัดชำระค่าเสียหายแก่นายจ้าง นายจ้างมีสิทธิ หักค่าเสียหาย จากหลักประกันก่อนคืนให้ลูกจ้าง โดยต้อง แจ้งให้ลูกจ้างทราบ เป็นลายลักษณ์อักษรภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ลูกจ้างผิดนัดชำระค่าเสียหาย
ตัวอย่าง
- นายสมศักดิ์ เป็นลูกจ้างของบริษัท A นายสมศักดิ์ ยืมเงินจากบริษัทไป 5,000 บาท แต่ไม่ชำระเงินคืนตามกำหนด บริษัท A สามารถหักเงิน 5,000 บาท จากหลักประกันของนายสมศักดิ์ได้
ลูกจ้างลาออกโดยไม่แจ้งล่วงหน้า
กรณีลูกจ้างลาออกโดยไม่แจ้งล่วงหน้าตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญาจ้าง นายจ้างมีสิทธิ หักค่าเสียหาย จากหลักประกันก่อนคืนให้ลูกจ้าง โดยต้องแจ้งให้ลูกจ้างทราบเป็นลายลักษณ์อักษรภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ลูกจ้างลาออก
ลูกจ้างกระทำผิดร้ายแรง
กรณีลูกจ้างกระทำความผิดร้ายแรงก่อให้เกิดความเสียหายกับองค์กร ตามระเบียบของนายจ้างแล้วนั้น นายจ้างมีสิทธิสามารถไม่คืนหลักประกันการทำงานให้แก่ลูกจ้างได้
สรุป Q&A นายจ้างต้องคืนหลักประกันการทำงานให้ลูกจ้างภายในกี่วัน?
โดยสรุปแล้ว นายจ้างต้องคืนหลักประกันการทำงานให้แก่ลูกจ้างภายใน 7 วัน นับตั้งแต่วันที่นายจ้างเลิกจ้าง ลูกจ้างลาออก หรือวันที่สัญญาประกันสิ้นอายุ แล้วแต่กรณี
หากนายจ้างไม่คืนหรือไม่จ่าย แต่ “ไม่จงใจ” นายจ้างต้องเสียดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี และหากนายจ้างไม่คืนหรือไม่จ่าย โดย “จงใจ” โดยปราศจากเหตุอันสมควร เมื่อพ้น 7 วัน นายจ้างจะต้องเสีย “เงินเพิ่ม” ทุกระยะเวลา 7 วัน และต้องเสียดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี