PageView Facebook
date_range 25/08/2022 visibility 63768 views
bookmark HR Knowledge
KPI คืออะไร? ประเมินผลงานเพื่อคุณภาพขององค์กร - blog image preview
Blog >KPI คืออะไร? ประเมินผลงานเพื่อคุณภาพขององค์กร

คุณภาพและความสำเร็จของงานที่เป็นไปตามเป้าหมาย เป็นสิ่งที่ทุกองค์กรต้องการจากพนักงานของพวกเขา KPI คือ ตัวชี้วัดที่ทำให้เห็นผลลัพธ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ


ทำความรู้จัก KPI คือ

ในการทำงานขององค์กร โปรเจคหรือธุรกิจก็ตาม ต่างมีเป้าหมายหลักให้ผลงานเกิดผลสำเร็จ บรรลุตามเป้าหมาย แต่จะรู้ได้อย่างไรว่าสิ่งที่ทำไปนั้นได้ผลลัพธ์ที่สำเร็จจริง หากไม่มีมาตรฐานหรือตัวชี้วัดที่ชัดเจนในการวัดผลความสำเร็จ ทำให้แต่ละองค์กรได้มีการพัฒนากระบวนการ หรือรูปแบบ และวิธีการประเมินผลงานเพื่อใช้ชี้วัดความสำเร็จขึ้นมา ซึ่งหนึ่งในกระบวนการมาตรฐานที่ได้รับความน่าเชื่อถือ และนิยมนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายในองค์กรอย่างมากคือการใช้ “ดัชนีชี้วัดความสำเร็จ” หรือที่เรียกว่า “KPI” ขึ้นมาเป็นเครื่องมือในการวัดผล ซึ่งจะมีรายละเอียดที่แตกต่างกันไปตามการใช้งานของแต่ละองค์กร


KPI คืออะไร

KPI หรือ Key Performance Indicator คือ ดัชนีชี้วัดความสำเร็จของผลงานเมื่อเปรียบเทียบกับมาตรฐาน หรือเป้าหมายที่ได้ตกลงกันไว้ ออกมาเป็นจำนวนหรือตัวเลขที่ชัดเจน เพื่อใช้ในการวัดและประเมินผลการทำงานของพนักงาน รวมถึงใช้วัดความก้าวหน้าขององค์กร หรือเพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานขององค์กรได้ด้วยเช่นกัน

K ย่อมาจาก Key : หัวใจหลัก, เป้าหมายหลัก หรือกุญแจสำคัญของความสำเร็จ

P ย่อมาจาก Performance : ประสิทธิภาพ, ประสิทธิผล หรือความสามารถในการทำงาน

I ย่อมาจาก Indicator : ดัชนีชี้วัด หรือเกณฑ์ตัวชี้วัด


ประเภทของตัวชี้วัด KPI

1. การวัดผลทางตรง

ดัชนีชี้วัดความสำเร็จ KPI ประเภทการวัดผลทางตรง หมายถึง การวัดผลลัพธ์จากข้อมูลที่แสดงออกมาอย่างชัดเจน หรือตัวเลขที่แสดงข้อมูลจริง ไม่ต้องอาศัยการตีความหมายใด ๆ และสามารถตรวจสอบข้อมูลได้ มักจะเป็นมาตรวัดที่อยู่ในระดับ Ratio Scale หรือการวัดอัตราส่วน ยกตัวอย่างเช่น จำนวนสินค้าน้ำหนัก หรือส่วนสูง เป็นต้น


2. การวัดผลทางอ้อม

ดัชนีชี้วัดความสำเร็จ KPI ประเภทการวัดผลทางอ้อม หมายถึงการวัดผลลัพธ์จากข้อมูลที่แสดงออกมาไม่ชัดเจน หรือข้อมูลที่ไม่ใช่ตัวเลขต้องอาศัยการวัดผลทางความคิดเพิ่มเติม เช่น การวัดทัศนคติ หรือการวัดบุคลิกภาพ เป็นต้น ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะเป็นการประเมินที่ขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของแต่ละบุคคลด้วยเช่นกัน เป็นมาตรวัดที่อยู่ในระดับ Interval Scale หรือการมาตรวัดอันตรภาคที่เป็นการประเมินตามความคิดเห็นส่วนบุคคล


มุมมองการวัดผล KPI

1. Positive KPI : การกำหนดเกณฑ์วัดความสำเร็จเชิงบวก หรือการประเมินผลในแง่ดีของผลงานที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ เช่น ยอดขาย ผลกำไร ความพึงพอใจของลูกค้า หรือ กำลังการผลิต เป็นต้น

2. Negative KPI : การกำหนดเกณฑ์วัดความสำเร็จเชิงลบ หรือการประเมินผลในแง่จุดบกพร่อง ปัญหา จุดด้อย หรือความเสียหายที่เกิดขึ้นกับผลงานที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ เช่น ผลการผลิตที่ผิดพลาด ความไม่พึงพอใจของลูกค้า หรือ เป้าหมายในการกู้ยืมที่ต่ำลง เป็นต้น



หลักการ SMART KPI

หลักการที่จะช่วยให้ตัวชี้วัด KPI นั้นเหมาะสมได้ผลลัพธ์ที่ดีนั้น นิยมนำหลักการ SMART เข้ามาใช้ช่วยสำหรับการตั้งเป้าหมาย รวมถึงเป็นตัวช่วยที่ดีในการตรวจสอบผลลัพธ์ KPI ซึ่งหลักการ SMART จะประกอบไปด้วย

• S – Specific : การตั้งวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่เฉพาะเจาะจง มีขอบข่ายชัดเจนไม่กว้างจนเกินไป

• M – Measurable : การวัดผลในเชิงสถิติหรือข้อมูลที่เป็นตัวเลข เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ที่ในการช่วยตัดสินที่ชัดเจนยิ่งขึ้น

• A – Achievable : ต้องตั้งเป้าหมายที่สามารถบรรลุผลได้จริง สมเหตุสมผล ในขณะเดียวก็ไม่ตั้งง่ายจนเกินไปจากการเปรียบเทียบกับขนาดธุรกิจของบริษัท

• R – Realistic : การตั้งเกณฑ์วัดผล ต้องตั้งให้สอดคล้องสถานการณ์ความเป็นจริง เช่น ในสถานการณ์ที่เศรษฐกิจกำลังถดถอยผลกำไรที่ได้อาจลดลงตามไปด้วย

• T – Timely : การกำหนดช่วงเวลาที่ชัดเจนเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการวัดผลความสำเร็จ หากไร้กรอบเวลาที่แน่นอนอาจนำมาซึ่งความล้มเหลวได้


วิธีการกำหนดตัวชี้วัดหลักใน KPI

การที่ KPI จะมีประสิทธิภาพดีหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับการกำหนดตัวชี้วัดหลักที่เกี่ยวข้องต่อการปฏิบัติงานจริง เพราะตัวชี้วัดนี้จะเป็นเกณฑ์ที่ใช้ประเมินมาตรฐานของผลลัพธ์นั่นเอง ดังนั้นการกำหนดตัวชี้วัดจำเป็นต้องได้รับการพิจารณาที่รอบคอบ และในขณะเดียวกันสามารถมองเห็นถึงผลลัพธ์ความสำเร็จได้เหมาะสมกับธุรกิจ ซึ่งขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยทั้งนโยบายบริษัท ตลอดจนขนาดที่แตกต่างกันขององค์กรด้วยเช่นกัน


1. กำหนดตัวชี้วัดระดับองค์กร (Organization indicators)

การกำหนดตัวชี้วัดแรกที่สำคัญ คือการเริ่มต้นจากการกำหนดเป้าหมายขององค์กรหรือนโยบายหลักที่แต่ละองค์กรจะต้องทำ เพื่อให้เป็นแนวทางให้กับทุกฝ่ายและทุกคนสามารถปฎิบัติตามได้ ตัวชี้วัดในระดับองค์กรนี้จะเป็นสิ่งที่วัดว่าองค์กรนั้นสำเร็จหรือก้าวหน้าไปได้มากแค่ไหน


2. กำหนดตัวชี้วัดระดับหน่วยงาน (Department indicators)

หลังจากการกำหนดตัวชี้วัดในระดับองค์กรแล้ว รองลงมาคือการกำหนดตัวชี้วัดในหน่วยงานย่อยให้สอดคล้องกับตัวชี้วัดหลัก เพื่อมีส่วนช่วยในการผลักดันองค์ให้สำเร็จ ซึ่งในแต่ละหน่วยงานที่รองลงมาอาจมีตัวชี้วัดที่แตกต่างกันไปตามสายงานและเป้าหมายของแต่ละหน่วยนั้น ๆ ด้วย เช่น ระดับแผนกหรือกลุ่ม เป็นต้น


3. กำหนดตัวชี้วัดระดับรายบุคคล (Department indicators)

ตัวชี้วัดระดับรายบุคคลหรือการวัดประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานแต่ละคนถือเป็นหน่วยที่เล็กที่สุดในองค์กร แต่กลับมีความสำคัญมากที่สุด เรื่องจากบุคลากรภายในองค์กรเป็นฟันเฟืองสำคัญที่ช่วยให้องค์กรขับเคลื่อนไปข้างหน้า หากตั้งตัวชี้วัดรายบุคคลมีประสิทธิภาพจะส่งผลให้ KPI ระดับองค์กรนั้นมีประสิทธิภาพมากขึ้นตามไปด้วย รวมถึงยังเป็นประโยชน์ต่อพนักงานที่จะได้รับการพิจารณาอัตราเงินเดือนที่เพิ่มสูงขึ้น เป็นต้น


4. กำหนดตัวชี้วัดรอง (Secondary indicators)

นอกจากตัวชี้วัดหลักข้างต้นจะเป็นการวัดประสิทธิภาพการทำงานโดยตรงแล้ว องค์กรควรมีตัวชี้วัดรองที่ไม่เกี่ยวข้องกับประสิทธิภาพการทำงาน ซึ่งเป็นการวัดผลอีกด้านที่มีส่วนช่วยประกอบการพิจารณาสำหรับหน่วยงาน โดยที่จะไม่มีตัวชี้วัดที่ประเมินค่าเป็นตัวเลขชัดเจน หรือเป็นข้อมูลในเชิงคุณภาพ เพื่อเป็นเกณฑ์ที่เหมาะสมกับเนื้องาน เช่น ความพึงพอใจของลูกค้าที่มีต่อการบริการขององค์กร เป็นต้น



ประโยชน์ของ KPI

1. ใช้สำหรับประเมินผลและชี้วัดประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรในแต่ละตำแหน่งว่ามีประสิทธิภาพหรือไม่สามารถทำงานได้บรรลุวัตถุประสงค์ หรือมีจุดใดที่ควรปรับปรุง

2. เพื่อเป็นการวัดความสำเร็จขององค์กร ว่าบรรลุเป้าหมายที่องค์กรวางไว้ได้หรือไม่

3. มีประโยชน์ต่อการพิจารณา ประเมินเพิ่มอัตราจ้างหรือการให้โบนัสประจำปีของแต่ละคน

4. เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการตรวจสอบข้อมูลให้ทราบถึงจุดบกพร่องแล้วจุดแก้ไข

5. ใช้เพื่อวางแผนงานการลงทุน และใช้เพื่อประเมินงบประมาณที่เหมาะสมในปีต่อไปได้

6. ใช้เพื่อเป็นเกณฑ์พิจารณาในการวางแผนกำหนด KPI ที่ใช้ในปีถัดไป


hms-helpful-shadow svg fileโปรแกรมเงินเดือน HumanSoft
ทดลองใช้ฟรี 30 วันครบทุกฟังก์ชัน
  • บริการขึ้นระบบ ฟรี
  • ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น
  • ยกเลิกเมื่อไหร่ก็ได้