PageView Facebook
date_range 25/08/2022 visibility 88887 views
bookmark HR Knowledge
HRM คืออะไร ทำไมทุกองค์กรขาด สายงาน HRM ไม่ได้ - blog image preview
Blog >HRM คืออะไร ทำไมทุกองค์กรขาด สายงาน HRM ไม่ได้

HRM (Human Resource Management) คืออะไร มีหน้าที่อะไรบ้างและมีความสำคัญแค่ไหนต่อทุกองค์กร ทำความเข้าใจเรื่อง HRM แบบละเอียด ได้ที่นี่


ทำความรู้จัก HRM คือ

การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ (HRM) เป็นสิ่งที่สำคัญมากที่สุดในการบริหารองค์กร เนื่องจาก “มนุษย์” นับเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าและมีประโยชน์มากที่สุด หากองค์กรสามารถจัดการให้บุคลากรทุกคนมีศักยภาพในการทำงาน ย่อมส่งผลดีต่อการขับเคลื่อนองค์กรไปข้างหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้สายงานบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ถือเป็นหน้าที่ที่สำคัญต่อองค์กรอย่างมาก ดังนั้นวันนี้ HumanSoft จะหาไปทำความรู้จักว่า HRM คืออะไร ? มีหน้าที่หรือขอบเขตการทำงานอย่างไรบ้าง และจำเป็นแค่ไหนต่อองค์กรของคุณ หาคำตอบได้ที่นี่


HRM คืออะไร

Human Resource Management หรือที่เรียกว่า HRM คือ การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ หรือบุคลากรภายในองค์กร ด้วยกลยุทธ์ตลอดจนกระบวนต่าง ๆ ในทุกรอบด้านของการทำงาน โดยมีจุดประสงค์ให้พนักงานสามารถทำงานตามหน้าที่ของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อช่วยให้องค์กรมีศักยภาพในการเติบโตและขับเคลื่อนไปสู่ความสำเร็จมากขึ้นตามไปด้วย


บทบาทและหน้าที่ของ Human Resource Management คืออะไร

การบริการจัดการทรัพยากรมนุษย์ หรือบทบาทของ HRM มีหน้าที่ในการรับผิดชอบจัดการในขอบเขตงาน ดังต่อไปนี้


1. สรรหาและจัดการทรัพยากรด้านแรงงาน (Recruitment and Staffing)

หน้าที่หลักในการทำงานของ HRM คือการบริหารจัดการด้านทรัพยากรบุคคล ตั้งแต่ ขั้นตอนวางแผนการจัดการด้านแรงงาน ประเมินกำลังคนว่ามีส่วนใดขาดไปหรือไม่ และทำการสรรหาบุคลากรใหม่ที่จะเข้ามาทำงานให้เหมาะสมต่อองค์กร รวมถึงการประเมินศักยภาพการทำงานของพนักงานทุกคนให้ดีที่สุด โดยต้องอาศัยความสามารถและกลยุทธ์ในการคัดเลือกคนให้ตอบโจทย์ เพื่อให้องค์กรสามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ


2. พัฒนาบุคลากร (Training and Development)

เนื่องจากเทรนด์การบริหารจัดการองค์กรนั้นมีการปรับเปลี่ยนอยู่เสมอ การที่พนักงานทุกคนมีความสามารถและความพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนตนเองให้เท่าทันกับความเปลี่ยนแปลง เป็นสิ่งที่จะทำให้องค์จะขับเคลื่อนต่อไปได้ เพื่อให้บุคลากรทุกคนภายในองค์กรได้มีการพัฒนาตนเองอยู่เสมอ ก็เป็นหน้าที่ของฝ่ายทรัพยากรบุคคล ที่จะต้องจัดการอบรมส่งเสริมทักษะและความรู้ใหม่ ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงาน และฝึกทักษะการบริหารงานด้วย เช่น การอบรมการทำงานเป็นทีม หรือ การอบรมการเป็นผู้นำ เป็นต้น


3. บริหารอัตราการจ้างงาน (Payroll Management)

การบริหารอัตราการจ้างงานของฝ่ายทรัพยากรบุคคล ไม่ใช่การดูแลเฉพาะเรื่องการจ่ายเงินเดือนเท่านั้น ยังนับรวมไปถึงการดูแลระบบการจ่ายเงินเดือนให้ไม่มีปัญหา โดยการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาช่วยในการดูแลเรื่องของการทำเงินเดือน นอกจากนี้หน้าที่ของฝ่ายทรัพยากรบุคคลยังรวมไปถึงการบริหารงบประมาณ การประเมินเงินเดือนให้แต่ละตำแหน่ง และการจัดการด้านการเงินอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับพนักงาน เช่น ประกันสังคม ประกันสุขภาพ ค่าชดเชย ภาษี และอื่น ๆ อีกมากมาย



4. ดูแลประสิทธิภาพและประผลการทำงาน (Appraisals and Performance Management)

เมื่อคัดเลือกพนักงานเข้ามาทำงานในองค์กรแล้ว ฝ่ายทรัพยากรบุคคลยังคงต้องติดตามดูประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานแต่ละคนว่าเป็นไปตามที่องค์กรต้องการหรือไม่ หรือมีประสิทธิภาพการทำงานเหมาะสมต่อการจ้างงานต่อแค่ไหน รวมถึงการประเมินประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานว่าควรปรับปรุงหรือพัฒนาในส่วนใด เพื่อเป็นการเพิ่มศักยภาพขององค์กรให้สูงขึ้นไปอีกขั้น


5. แก้ปัญหาและลดความขัดแย้ง (Conflict Resolution)

การขัดแย้งของบุคลากรภายในเป็นเรื่องปกติ เนื่องจากในแต่ละองค์กรมีวัฒนธรรมที่แตกต่าง รวมถึงความหลากหลายของบุคลากร ตลอดจนเรื่องพื้นฐานของการศึกษาที่แตกต่างกัน อาจทำให้เกิดเกิดปัญหาความขัดแย้งระหว่างกันได้ ฝ่ายทรัพยากรบุคคลจะเข้ามาช่วยในการแก้ไขปัญหา และลดปัญหาที่อาจทำให้เกิดความขัดแย้งขึ้นได้ในอนาคต ตลอดจนการบริการต่าง ๆ ที่เป็นการช่วยเหลือพนักงานภายในองค์กร เช่น ประกันภัยสุขภาพ การกู้เงินฉุกเฉิน หรือแม้แต่การดูแลในเรื่องสิทธิการลาต่าง ๆ เป็นต้น


6. การสร้างแรงงานสัมพันธ์ (Employee Relation)

อีกหนึ่งหน้าที่ที่ขาดไปไม่ได้ในสายงานฝ่ายทรัพยากรบุคคล นั่นคือ การสร้างความสัมพันธ์ภายในองค์กรให้เกิดความสามัคคี ให้พนักงานทุกคนสามารถทำงานร่วมมือกันได้ รวมถึงการดูแลประสานงานภายในองค์กรกับภายนอกองค์กรไม่ให้เกิดปัญหาขึ้นได้ ไม่สร้างความแตกแยก หรือไม่อำนวยความสะดวกในการทำงานของให้กับแรงงาน ถ้าหากบุคลากรภายในองค์กรทำงานไม่สัมพันธ์กัน อาจก่อให้เกิดความเสียหายให้กับองค์กรได้


HRM กับ HRD ต่างกันตรงไหนบ้าง

Human Resource Development หรือที่เรียกว่า HRD หมายถึง การมุ่งพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้มีความเก่งและมีประสิทธิภาพในการทำงาน มีจุดประสงค์เพื่อขับเคลื่อนองค์กรให้ไปในทิศทางที่ต้องการโดยอาศัยการเก็บข้อมูลด้านประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานว่าเป็นตามที่องค์กรมุ่งหวังหรือไม่ ซึ่งบทบาทของ HRD จะเป็นหน่วยงานเฉพาะกิจที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ HRM อีกทีหนึ่ง โดยหน้าที่ของ HRD จะเป็นการดูแลพัฒนาพนักงานตามเทรนด์ของบุคลากรที่เปลี่ยนไปเรื่อย ๆ ให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ


Tips! อ่านต่อเพิ่มเติมได้ที่ >>> HRM vs HRD ต่างกันอย่างไร


สรุปความสำคัญของ HRM ต่อองค์กร

การทำงานของ HRM คือ การมุ่งเน้นไปที่การบริหารจัดการบุคคลโดยภาพรวม ตั้งแต่ การเริ่มต้นเข้าทำงาน จนถึงการลาออกไปจากองค์กรให้ราบรื่น และไม่มีปัญหาร้องเรียนในมุมของการพัฒนาทรัพยากรบุคคล ซึ่งมีบทบาทหน้าที่สำคัญในการดูแลระบบที่เกี่ยวข้องกับพนักงาน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเงินเดือน การให้รางวัล และการสร้างแรงจูงใจในการทำงาน เนื่องจากพนักงานนับเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าและความสำคัญอย่างมาก ยิ่งในโลกธุรกิจยุคใหม่เช่นนี้ พนักงานจะเป็นตัวการที่จะขับเคลื่อนให้องค์กรก้าวไปข้างหน้า ดังนั้นการที่องค์กรสามารถบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ได้ดีมากเท่าไหร่ ก็จะย่อมส่งผลให้องค์กรประสบความสำเร็จได้เพิ่มมากขึ้นเช่นกัน



hms-helpful-shadow svg fileโปรแกรมเงินเดือน HumanSoft
ทดลองใช้ฟรี 30 วันครบทุกฟังก์ชัน
  • บริการขึ้นระบบ ฟรี
  • ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น
  • ยกเลิกเมื่อไหร่ก็ได้