“EQ” หรือ ความฉลาดทางอารมณ์ สิ่งสำคัญที่มนุษย์ทุกคนพึงมี วันนี้ HumanSoft รวบรวมวิธีการพัฒนา EQ ที่ทุกคนสามารถทำตามได้นำมาฝาก จะมีวิธีการอย่างไร ไปดูกันเลย
อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม
- รวมทักษะจิตวิทยาสำหรับ HR ที่ช่วยแก้ไขปัญหาภายในองค์กรได้
- 4 วิธีจัดการปัญหาสุขภาพจิตในที่ทำงาน ฉบับ HR
- Checklist อาการที่เป็นสัญญาณเตือนว่าเข้าข่ายออฟฟิศซินโดรม
- เช็กอาการโรคซึมเศร้าของพนักงาน ด้วยแบบทดสอบโรคซึมเศร้า
- เคล็ดลับพัฒนาการสื่อสารของคนในองค์กร ด้วยหลักการทำงานแบบ CFR
ทำความรู้จักกับ “EQ”
EQ (Emotional quotient) หรือ ความฉลาดทางอารมณ์ คือความสามารถในการรับรู้ สามารถควบคุม และจัดการกับอารมณ์ของตนเองได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ มองโลกในแง่ดี รู้จักมารยาททางสังคม และมีความประพฤติที่ดี ความฉลาดทางอารมณ์นำไปสู่การเป็นผู้ที่มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ รับฟังผู้อื่นอย่างตั้งใจ เห็นอกเห็นใจผู้อื่น ยอมรับความเห็นต่าง และสามารถใช้ชีวิตร่วมกันกับผู้อื่นในสังคมได้
วิธีการพัฒนา EQ ที่ทุกคนสามารถทำตามได้
การพัฒนา EQ หรือความฉลาดทางอารมณ์ ช่วยให้มนุษย์เข้าใจตนเองอยากลึกซึ้ง สามารถควบคุมและจัดการอารมณ์ของตนเองได้ อีกทั้งยังทำให้เป็นผู้ที่สามารถสื่อสารกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยวิธีการพัฒนา EQ ที่สามารถทำตามได้นั้น จะมีวิธีการอย่างไร ไปดูกันเลย
1. การฝึกสมาธิ ตระหนักรู้ในตนเอง
การฝึกสมาธิและการมีสติ จะทำให้เราเข้าใจ ตระหนักรู้ในอารมณ์ความรู้สึกของตนเอง ทำให้เราสามารถควบคุมอารมณ์ได้ดี อีกทั้งยังทำให้เราสามารถตอบสนองอารมณ์นั้น ๆ ต่อบุคคลรอบข้างได้อย่างเหมาะสม เช่น หากเรารู้สึกว่าขณะนี้กำลังโกรธหรือเสียใจ ตัวเราเองสามารถระงับความโกรธหรือความเสียใจนั้นได้ รวมถึงสามารถแสดงออกทางอารมณ์ได้อย่างเหมาะสม
2. การตระหนักรู้ความรู้สึกของผู้อื่น
นอกจากการตระหนักรู้ในตนเองแล้ว การตระหนักรู้ในความรู้สึกของผู้อื่น ก็นับเป็นสิ่งสำคัญที่เราไม่ควรมองข้าม บุคคลที่มีความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) จะสามารถประเมินความรู้สึกและสามารถเข้าใจผู้อื่นได้ดี การจะเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่นได้นั้น เราต้องสามารถสื่อสารได้ทั้งคำพูด อารมณ์ และความรู้สึก และนำการสื่อสารนั้นมาปรับใช้ให้สอดคล้องกับแต่ละสถานการณ์ การฝึกฝนนี้อาจจะให้บุคคลรอบข้างร่วมประเมินวิธีการสื่อสารของเรา แล้วนำคำแนะนำ ติชมเหล่านั้นมาปรับปรุง และพัฒนาให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
3. ฝึกทักษะการสื่อสาร
การมีทักษะการสื่อสารที่ดี ถือเป็นเครื่องมือสำคัญที่สามารถบ่งชี้ถึงการเป็นบุคคลที่มีความฉลาดทางอารมณ์ได้อเพราะการสื่อสารที่ชัดเจนและตรงประเด็น จะทำให้บุคคลรอบข้างเข้าใจในสารที่เรากำลังพูดออกไป ส่งผลให้การทำงานเป็นทีมราบรื่นและบรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้
4. การฝึกฝนทักษะการฟัง
นอกจากจะต้องฝึกทักษะการสื่อสารแล้ว การฝึกทักษะการฟัง ก็นับเป็นอีกหนึ่งทักษะที่พลาดไม่ได้ เพราะการสื่อสารของคนในสังคม มีทั้งการใช้ภาษาและการใช้อวัจนะภาษา การรับฟังผู้อื่นอย่างตั้งใจ จะทำให้เราเข้าใจว่าผู้พูดรู้สึกอย่างไร อีกทั้งการรับฟังอย่างตั้งใจ ยังเป็นการแสดงออกถึงการเคารพและให้เกียรติผู้พูดอีกด้วย ในการฝึกฝนทักษะการฟัง ผู้ฝึกอาจลองจับ ใจความสำคัญ ท่าทาง น้ำเสียง และอาจมีการจดบันทึกเพื่อให้ทั้งสองมีความเข้าใจตรงกัน
5. ฝึกการคิดบวก
การมีความคิดเชิงบวกเป็นพื้นฐานของคนที่มีความฉลาดทางอารมณ์ การคิดบวกแม้ในสถานการณ์ที่ตึงเครียด จะช่วยให้หาทางออกและสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ อีกทั้งยังช่วยให้บุคคลรอบข้างสามารถควบคุมอารมณ์ได้ ดังนั้นการฝึกการคิดบวก ถือเป็นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่มนุษย์เราไม่ควรมองข้าม เพราะการคิดบวกจะทำให้ช่วยลดความเครียดและลดความขัดแย้งในสถานการณ์นั้น ๆ ได้
6. การเห็นอกเห็นใจผู้อื่น
การเห็นอกเห็นใจผู้อื่นเป็นอีกหนึ่งคุณสมบัติที่สำคัญของผู้ที่มีความฉลาดทางอารมณ์ การปลอบใจผู้ที่กำลังเผชิญกับความโศกเศร้า พร้อมทั้งรับฟังปัญหาต่าง ๆ อย่างตั้งใจ ถือเป็นการช่วยยกระดับจิตใจ และทำให้สังคมน่าอยู่ขึ้นอีกด้วย
7. ยอมรับความเห็นต่าง
การเปิดกว้าง และยอมรับความเห็นต่าง ถือเป็นอีกหนึ่งคุณสมบัติของผู้ที่มีความฉลาดทางอารมณ์ เนื่องจากการเป็นผู้ฟังที่ดี จะสามารถพิจารณา วิเคราะห์ และเข้าใจมุมมองความคิดของเพื่อนมนุษย์ได้มากขึ้น แม้ว่าสิ่งนั้นอาจจะเป็นสิ่งที่แปลกใหม่ แต่ผู้ที่มีความฉลาดทางอารมณ์จะสามารถเรียนรู้ และประบตัวให้เข้ากับสังคมได้อย่างดีเยี่ยม
8. การรับฟังคำติชม ข้อเสนอแนะ
ผู้ที่มีความฉลาดทางอารมณ์ ย่อมสามารถรับฟังคำติชม ข้อเสนอแนะ และความคิดเห็นจากผู้อื่นได้ อีกทั้งยังสามารถนำคำแนะนำเหล่านั้น นำมาต่อยอดปรับปรุง และพัฒนาตนเองให้เป็นบุคคลที่ประสบความสำเร็จในทุก ๆ ด้าน
9. สามารถอยู่ภายใต้ความกดดัน
ผู้ที่มีความฉลาดทางอารมณ์ คือผู้ที่สามารถรับมือกับสถานการณ์ที่ตึงเครียด แสดงออกทางอารณ์ด้วยท่าทีที่สงบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อต้องทำงานภายใต้ระยะเวลาที่กำหนดที่อาจจะต้องเผชิญแรงกดดันจากการทำงานสูง ดังนั้น ผู้ที่มีความฉลาดทางอารณ์ จะสามารถควบคุมสติและอารมณ์ของตนเอง จนสามารถบรรลุเป้าหมายที่วางเอาไว้ได้ เมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์กดดัน ให้ลองตั้งสติ เรียงลำดับความสำคัญที่ต้องทำก่อน-หลัง โดยอาจขอความช่วยเหลือจากผู้อื่นในการช่วยให้สงบสติอารมณ์ได้
สรุป แชร์วิธีการพัฒนา EQ ที่ทุกคนสามารถทำตามได้
เป็นอย่างไรกันบ้างคะ กับวิธีการพัฒนา EQ ที่เรานำมาฝากในวันนี้ แน่นอนว่าการพัฒนา EQ เป็นกระบวนการที่ต้องใช้เวลาและการฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ เพราะการเป็นผู้ที่มีความฉลาดทางอารมณ์ย่อมส่งผลดีต่อตนเองและบุคคลรอบข้าง เพราะหากเราสามารถจัดการอารมณ์ ความรู้สึกของตนเองได้ ก็จะช่วยให้เราและบุคคลรอบข้างมีความสัมพันธ์ที่ดี เข้าใจกัน และสามารถร่วมกันแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่กำลังเผชิญได้