นักลงทุนควรรู้ หากนึกถึงกองทุนรวมที่ลดหย่อนภาษีได้ แน่นอนว่าต้องเป็นกองทุน LTF กับ RMF แต่กองทุนนี้มีเงื่อนไขและมีความแตกต่างกันอย่างไร ไปติดตามกันเลย
อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม
- Q&A กองทุนเงินทดแทนนายจ้างต้องจ่ายเท่าไหร่ และจ่ายอย่างไร?
- กองทุนเงินทดแทนคืออะไร? กิจการใดบ้างที่ต้องจ่ายเงินสมทบ
- ความสำคัญและวิธีการส่งเงินสมทบประกันสังคม
ว่าด้วยเรื่องกองทุน LTF และ RMF
LTF (Long Term Equity Fund)
หรือ กองทุนรวมหุ้นระยะยาว คือ กองทุนรวม ที่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐให้มีการลงทุนในหุ้นระยะยาว ช่วยให้ตลาดทุนมีเสถียรภาพมากขึ้น โดยผู้ลงทุนจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีตามที่กฎหมายกำหนด กองทุนนี้เหมาะกับผู้มีรายได้ ต้องเสียภาษี และยอมรับความเสี่ยงจากการลงทุนได้
RMF (Retirement Mutual Fund)
หรือ กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ คือ กองทุนรวมที่ภาครัฐส่งเสริมให้มีการออมอย่างสม่ำเสมอเพื่อใช้จ่ายยามเกษียณ กองทุนนี้เหมาะกับผู้ที่ไม่มสวัสดิการออมเงินเพื่อวัยเกษียณมารองรับ หรือเป็นผู้มสวัสดิการแต่ต้องการออมเงินเพิ่ม โดยผู้ลงทุนจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีตามที่กฎหมายกำหนด
ความแตกต่างระหว่าง LTF และ RMF
หลายคนยังสงสัยว่า LTF และ RMF นั้น แตกต่างกันอย่างไร และมีเงื่อนไขใดในการลงทุนบ้าง ไปดูกันเลย
นโยบายการลงทุน
- LTF ลงทุนในหุ้นสามัญของบริษัทจดทะเบียนไม่น้อยกว่า 65% ของ NAV และอีก 35% ลงทุนในตราสารอื่นๆ เช่น ตราสารหนี้ พันธบัตรรัฐบาล ทองคำ เป็นต้น ซึ่งมีทั้งกองที่จ่ายและไม่จ่ายปันผล
- RMF มีความหลากหลายขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละกองทุน ผู้ซื้อกองทุนต้องซื้อหน่วยลงทุนในแต่ละปีเป็นจำนวนเงินไม่น้อยกว่า 3% ของเงินได้ในแต่ละปี แต่ต้องไม่เกิน 15% ของเงินได้ในแต่ละปี จะต้องมีปีในการลงทุนไม่น้อยกว่า 5 ปี และต้องถือไว้จนกระทั่งอายุ 55 ปีบริบูรณ์ ถึงจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีครบถ้วน
ระดับความเสี่ยง
- LTF มีความเสี่ยงค่อนข้างสูง - สูงมาก เนื่องจากลงทุนในหุ้น
- RMF ความเสี่ยงมีตั้งแต่ระดับต่ำ ปานกลาง ไปจนถึงเสี่ยงสูง ขึ้นอยู่กับนโยบายการลงทุน
เงินลงทุนขั้นต่ำสุดและสูงสุด
- LTF ไม่กำหนดเงินลงทุนขั้นต่ำ สามารถลงทุนสูงสุดไม่เกิน 15% ของรายได้ที่ต้องเสียภาษีแต่ต้องไม่เกิน 500,000 บาท/ปี
- RMF ลงทุนขั้นต่ำไม่น้อยกว่า 3% ของเงินได้ หรือไม่น้อยกว่า 5,000 บาท/ปี แล้วแต่ว่าจำนวนเงินใดจะต่ำกว่า และสามารถลงทุนสูงสุดไม่เกิน 15% ของรายได้ที่ต้องเสียภาษีในแต่ละปี และเมื่อรวมเข้ากับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือ กบข. ประกันชีวิตแบบบำนาญ และกองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชนแล้ว ต้องไม่เกิน 500,000 บาท/ปี
ระยะเวลาการลงทุน
- LTF ต้องถือไม่น้อยกว่า 7 ปีปฏิทิน จึงจะสามารถขายคืนได้
- RMF ต้องถือไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ (นับวันชนวัน) และสามารถขายคืนได้ก็ต่อเมื่อผู้ถืออายุครบ 55 ปี
กำหนดการขายคืนหน่วยลงทุน
- LTF ไม่เกินปีละ 2 ครั้งตามที่กำหนดไว้ในหนังสือชี้ชวน
- RMF ทุกวันทำการ หรือตามที่กำหนดไว้ในหนังสือชี้ชวน
สรุปไขข้อสงสัย กองทุน LTF กับ RMF ต่างกันอย่างไร?
เมื่อทราบถึงความแตกต่างของทั้ง 2 กองทุนแล้ว เราจึงต้องวางแผนการเงินให้ดี ไม่ควรเน้นในเรื่องเงิน หรือการลดหย่อนภาษีมากเกินไป สิ่งสำคัญคือต้องศึกษารายละเอียดการลงทุนให้มั่นใจก่อนว่าเหมาะสมกับสภาพคล่องทางการเงินของเราหรือไม่ และจึงเริ่มตั้งเป้าหมายหลักในการลงทุนเพื่อการใช้ชีวิตหลังเกษียณได้ นอกจากสิทธิประโยชน์เรื่องภาษีแล้ว ยังช่วยสร้างเสริมวินัยในการออมเงินให้กับเรา ช่วยสร้างโอกาสและสร้างความมั่นคงให้กับชีวิต เพื่อให้ชีวิตหลังวัยเกษียณมีความมั่งคงและมีความสุขต่อไป