สวัสดิการในบริษัทนั้น มักจะแตกต่างกันไปตามการบริหาร แต่ยังคงต้องอยู่ภายใต้สวัสดิการแรงงานที่กฎหมายกำหนด โดยมีอะไรบ้างนั้น ดูกันในบทความนี้เลย
สวัสดิการบริษัทในประเทศไทย
สวัสดิการแรงงานเป็นปัจจัยสำคัญที่บริษัทไม่ควรมองข้ามโดยเฉพาะ สวัสดิการพนักงานยุคใหม่ เพราะสามารถช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับลูกจ้าง และครอบครัวของพนักงานได้ และลูกจ้างเองก็ล้วนต้องการบริษัทที่มีสวัสดิการที่ดี มีความมั่นคงให้กับครอบครัว อีกทั้งการให้สวัสดิการที่ดีของบริษัทนั้น สามารถเรียกได้ว่าเป็น “น้ำใจ” ที่ลูกจ้าง ได้รับจากบริษัทอีกด้วย จะทำให้ลูกจ้าง เกิดความรัก เกิดความภักดี รวมถึงเป็นมีกำลังใจในการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
เรื่องเกี่ยวกับสวัสดิการที่คุณอาจสนใจ
- สวัสดิการ คืออะไร สำคัญอย่างไรกับพนักงานและองค์กร
- 10 สวัสดิการที่ “พนักงาน”ให้ความสำคัญมากที่สุด
- สวัสดิการพนักงานยุคใหม่ ที่พนักงานอยากได้และน่าสนใจ
- บริหารสวัสดิการเงินกู้ยืมในองค์กรได้ง่ายๆด้วย โปรแกรมงานบุคคล
โดยสวัสดิการ บริษัทในประเทศไทยนั้น ได้ถูกส่งเสริมจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานภายใต้กรอบภารกิจการปฏิบัติงาน ซึ่งแบ่งสวัสดิการแรงงานออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1. สวัสดิการบริษัท ตามที่กฎหมายกำหนด
สวัสดิการคือ สิ่งจำเป็นพื้นฐานสำหรับลูกจ้าง ที่องค์กรต้องจัดให้ลูกจ้าง ตามกฏกระทรวง ว่าด้วยการ จัดสวัสดิการในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. 2548 ซึ่งจะพูดถึงเรื่องหลักๆ คือ น้ำดื่ม ห้องน้ำ ห้องส้วม การปฐมพยาบาลและการรักษาพยาบาล โดยมีรายละเอียดดังนี้
1.1 ในสถานที่ทำงานต้องจัดให้มีน้ำดื่มและห้องน้ำดังนี้
- น้ำสะอาด สำหรับดื่ม
โดยน้ำสะอาด 1 ที่ ต่อลูกจ้างไม่เกิน 40 คน และเพิ่มขึ้นตามอัตราส่วน ซึ่งเศษของ 40 คนนั้น หากเกิน 20 คนให้ถือเป็น 40 คน
- ห้องน้ำ ห้องส้วม
ที่มีการดูแลรักษาความสะอาดให้อยู่ในสภาพถูกสุขลักษณะเป็นประจำทุกวัน และแยกชาย-หญิง หากมีลูกจ้างเป็นคนพิการก็จะต้องมีห้องน้ำห้องส้วมสำหรับคนพิการโดยเฉพาะ โดยแบบและจำนวนห้องน้ำห้องส้วมให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการควบคุม อาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
1.2 สิ่งจำเป็นในการปฐมพยาบาลและการรักษาพยาบาล
ในสถานที่ทำงานต้องจัดให้มีสิ่งจำเป็นในการปฐมพยาบาลและการรักษาพยาบาล เวชภัณฑ์และยาเพื่อใช้ในการปฐมพยาบาลในจำนวนที่เพียงพอ โดยแบ่งตามจำนวนลูกจ้างดังนี้
1.2 (1) ลูกจ้างตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป
ต้องจัดให้มีเวชภัณฑ์และยา อย่างน้อยตามรายการดังนี้
กรรไกร แก้วยาน้ำ และแก้วยาเม็ด เข็มกลัด ถ้วยน้ำ ที่ป้ายยา ปรอทวัดไข้ ปากคีบปลายทู่ ผ้าพันยืด ผ้าสามเหลี่ยม สายยางรัดห้ามเลือด สำลี ผ้าก๊อซ ผ้าพันแผล และผ้ายางปลาสเตอร์ปิดแผล หลอดหยดยา ขี้ผึ้งแก้ปวดบวม ทิงเจอร์ไอโอดีน หรือโพวิโดน-ไอโอดีน น้ำยาโพวิโดน-ไอโอดีน ชนิดฟอกแผล ผงน้ำตาลเกลือแร่ ยาแก้ผดผื่นที่ไม่ได้มาจากการติดเชื้อ ยาแก้แพ้ ยาทาแก้ผดผื่นคัน ยาธาตุน้ำแดง ยาบรรเทาปวดลดไข้ ยารักษาแผลน้ำร้อนลวก ยาลดกรดในกระเพาะอาหาร เหล้าแอมโมเนียหอม แอลกอฮอล์เช็ดแผล ขี้ผึ้งป้ายตา ถ้วยล้างตา น้ำกรดบอริคล้างตา ยาหยอดตา
1.2 (2) ลูกจ้างตั้งแต่ 200 คนขึ้นไป ต้องจัดให้มีตามรายการดังนี้
- เวชภัณฑ์และยา ตามข้อ 1.2 (1)
- ห้องรักษาพยาบาลพร้อมเตียงพักคนไข้อย่างน้อย 1 เตียง เวชภัณฑ์และยานอกจากที่ระบุไว้ใน ข้อ 1.2 (1) ตามความจำเป็นและให้เพียงพอแก่การรักษาพยาบาลเบื้องต้น
- พยาบาลประจำอย่างน้อย 1 คนตลอดเวลาทำงาน โดยเป็นพยาบาลตั้งแต่ระดับเทคนิคขึ้นไป
- แพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งอย่างน้อย 1 คน เพื่อตรวจรักษาพยาบาลไม่น้อยกว่าสัปดาห์ละ 2 ครั้ง เมื่อรวมเวลาแล้วต้อง ไม่น้อยกว่าสัปดาห์ละ 6 ชั่วโมงในเวลาทำงาน
1.2 (3) ลูกจ้างตั้งแต่ 1000 คนขึ้นไป ต้องจัดให้มีตามรายการดังนี้
- เวชภัณฑ์และยาเพื่อใช้ในการปฐมพยาบาลตาม ข้อ 1.2 (1)
- ห้องรักษาพยาบาลพร้อมเตียงพักคนไข้อย่างน้อย 1 เตียง เวชภัณฑ์และยานอกจากที่ระบุไว้ใน ข้อ 1.2 (1) ตามความจำเป็นและให้เพียงพอแก่การรักษาพยาบาลเบื้องต้น
- พยาบาลประจำอย่างน้อย 2 คนตลอดเวลาทำงาน โดยเป็นพยาบาลตั้งแต่ระดับเทคนิคขึ้นไป
- แพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งอย่างน้อย 1 คน เพื่อตรวจรักษาพยาบาลไม่น้อยกว่าสัปดาห์ละ 2 ครั้ง เมื่อรวมเวลาแล้วต้อง ไม่น้อยกว่าสัปดาห์ละ 6 ชั่วโมงในเวลาทำงาน
- ยานพาหนะที่พร้อมจะนำลูกจ้างส่งสถานพยาบาลในกรณีฉุกเฉิน
1.3 นายจ้างอาจทำข้อตกลงกับสถานพยาบาลเพื่อส่งลูกจ้างเข้ารับการรักษาได้ตลอด 24 ชั่วโมง
นายจ้างสามารถทำข้อตกลงกับสถานพยาบาลที่เปิดตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อส่งลูกจ้างเข้ารับการรักษาได้ตลอดเวลา เพื่อความสะดวกและรวดเร็ว แทนการจัดให้มีแพทย์ตามข้อ 1.2 (2) หรือข้อ 1.2 (3) ได้
2. สวัสดิการบริษัท นอกเหนือจากที่กฎหมายกำหนด
จากคำกล่าวที่ว่า สวัสดิการเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับลูกจ้าง และเป็นสิ่งที่ลูกจ้างเองก็ต้องการเช่นกัน
อีกทั้งลูกจ้างขององค์กรในแต่ละพื้นที่ ก็จะมีความต้องการที่แตกต่างกันไป คณะกรรมการสวัสดิการตามพระราชบัญญัติจึงแนะนำรูปแบบสวัสดิการพนักงานที่กฎหมายไม่ได้กำหนดไว้ แต่สถานประกอบการสามารถจัดสวัสดิการให้ตามความต้องการของลูกจ้างได้ เพื่อเป็นทางเลือก โดยแบ่งเป็นหมวดๆ ได้ดังนี้
2.1. สวัสดิการที่มุ่งพัฒนาลูกจ้าง
- การส่งเสริมการศึกษาทั้งในและนอกเวลาทำงาน
- การจัดตั้งโรงเรียนในโรงงาน
- การอบรมความรู้เกี่ยวกับการทำงานทั้งในและนอกสถานที่ทำงาน
- การจัดให้มีห้องสมุด หรือมุมอ่านหนังสือ ฯลฯ เป็นต้น
2.2. สวัสดิการที่ช่วยเหลือในเรื่องค่าครองชีพ
- การจัดตั้งร้านค้าสวัสดิการหรือสหกรณ์ร้านค้า
- การให้เงินช่วยเหลือต่างๆ เช่น งานแต่งงาน งานอุปสมบท งานศพ
- การจัดชุดทำงาน
- การจัดหอพัก
- การจัดให้มีรถรับ-ส่ง
- เงินโบนัส ค่าครองชีพ เบี้ยขยัน ค่าเข้ากะ
2.3. สวัสดิการที่ช่วยเหลือการออมของลูกจ้าง
- สหกรณ์ออมทรัพย์
- กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
2.4. สวัสดิการที่พัฒนาสถาบันครอบครัวของลูกจ้าง
- การจัดสถานเลี้ยงดูบุตรของลูกจ้าง
- การช่วยค่ารักษาพยาบาลบุคคลในครอบครัว
- การช่วยเหลือค่าเล่าเรียนบุตรของลูกจ้าง
- การประกันชีวิตให้กับลูกจ้าง
2.5. สวัสดิการที่ส่งเสริมความมั่นคงในอนาคต
- เงินบำเหน็จ
- เงินรางวัลทำงานนาน
- ให้ลูกจ้างซื้อหุ้นของบริษัท
- กองทุนฌาปนกิจ
- เงินกู้เพื่อสวัสดิการที่พักอาศัย
2. 6. สวัสดิการนันทนาการและสุขภาพอนามัย
- การจัดทัศนศึกษา
- การแข่งขันกีฬา
- การจัดงานเลี้ยงสังสรรค์พนักงาน
- การให้ความรู้เรื่องสุขภาพอนามัย
สรุปสวัสดิการที่ทุกบริษัทต้องมีตามกฎหมายแรงงาน
สวัสดิการเป็นสิ่งสำคัญนอกเหนือจากเงินเดือน ที่จะทำให้ลูกจ้างมีชีวิตที่ดีขึ้น มีความสะดวกสบายและคุณภาพชีวิตของครอบครัวก็ดีขึ้นด้วย ซึ่งสวัสดิการมีทั้งจากที่กฎหมายกำหนดและนอกเหนือกฎหมายกำหนด โดยองค์กรสามารถจัดสวัสดิการตามความต้องการของพนักงานได้ ไม่ว่าจะเป็น สวัสดิการเงินกู้ยืม สวัสดิการกองทุนหรือสวัสดิการด้านการเพิ่มรายได้ และลดค่าใช้จ่ายต่างๆ เพื่อเป็นแรงจูงใจในการทำงาน สร้างความภักดีให้กับองค์กรและที่สำคัญที่สุดคือ สามารถสร้างประสิทธิภาพในการทำงานให้มากขึ้นด้วย
และเมื่อสวัสดิการเป็นเรื่องสำคัญแล้วการบริหารงานด้านสวัสดิการก็เป็นเรื่องสำคัญด้วยเช่นกันการบริหารสวัสดิการที่ซับซ้อน ทั้งในด้านการคำนวณและการบันทึกรายละเอียดต่างๆ ให้มีความถูกต้อง สะดวกและรวดเร็ว จึงต้องมีตัวช่วยอย่างโปรแกรมบริหารงานบุคคล HumanSoft ที่จะทำให้การบริหารงานของ HR หรือเจ้าของกิจการมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น