‘จุดอ่อน จุดแข็งของคุณคืออะไร’ คำถามยอดฮิตที่ HR นำมาใช้ในการคัดเลือกพนักงานใหม่ เพื่อประเมินทัศนคติ ความคิด และมุมมองของผู้สมัครเบื้องต้น
อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม:
- 10 คําถามสัมภาษณ์งานดีๆ ที่ HR ควรใช้
- เทคนิคการเป็นผู้สัมภาษณ์งานที่ดี ที่ HR ไม่ควรพลาด
- 7 เทคนิค เตรียมตัวสัมภาษณ์งานอย่างไรให้ได้งาน
- วิธีสัมภาษณ์พนักงานใหม่ให้ได้บุคลากรที่ตอบโจทย์องค์กร
- คำถามสัมภาษณ์งาน ที่พิสูจน์ว่าผู้สมัครเหมาะกับองค์กรแค่ไหน?
ทำไม “จุดอ่อน จุดแข็ง” จึงเป็นคำถามสัมภาษณ์งานยอดฮิต
การสัมภาษณ์งานเป็นกระบวนการสำคัญในการสรรหาบุคลากรที่เหมาะสมกับตำแหน่งงานที่ต้องการ ในกระบวนการนี้ HR มักจะมีการถามคำถามที่หลากหลายเพื่อประเมินความสามารถ ทักษะ และคุณสมบัติของผู้สมัคร ซึ่งหนึ่งในคำถามที่ได้รับความนิยมและมีความสำคัญเป็นอย่างมากนั่นคือ การถามเกี่ยวกับจุดอ่อนจุดแข็งของผู้สมัครนั่นเอง
โดยคำถามที่พบบ่อยในการสัมภาษณ์งาน คงหนีไม่พ้นคำถามสุดคลาสสิกอย่าง ‘จุดอ่อน จุดแข็งของคุณคืออะไร?’ เป็นคำถามสัมภาษณ์งานยอดฮิตที่ HR นำมาใช้ในการสัมภาษณ์งาน เพื่อคัดเลือกพนักงานที่จะเข้ามาเป็นสมาชิกใหม่ขององค์กร ซึ่งคำถามจุดอ่อน จุดแข็งนั้นดูเหมือนเป็นคำถามที่ง่าย ๆ แต่คำถามเหล่านี้มักแฝงไปด้วยจุดมุ่งหมายที่มากกว่าความอยากรู้ว่าผู้สมัครเก่งด้านไหนหรือไม่เก่งด้านไหน แต่มันคือการวัดไหวพริบในการตอบคำถาม และยังเป็นคำถามที่ช่วยให้ HR หรือ ผู้สัมภาษณ์เข้าใจตัวตนของผู้สมัครมากขึ้นอีกด้วย
6 เหตุผลที่ทำไม HR ควรถามจุดอ่อน จุดแข็ง
คำถาม “จุดอ่อน จุดแข็ง” นั้นเป็นคำถามยอดฮิตที่มักถูกใช้ในการสัมภาษณ์งาน หลาย ๆ คนอาจมีข้อสงสัยว่าทำไม HR จึงควรถามคำถามเหล่านี้ บทความนี้เราจึงมาเปิดเหตุผลที่ทำไม HR จึงควรถามจุดอ่อน จุดแข็งในการสัมภาษณ์งาน ดังนี้
1. ประเมินทักษะและศักยภาพของผู้สมัคร
การถามคำถามเกี่ยวกับจุดอ่อน จุดแข็งของผู้สมัครช่วยให้ HR เห็นถึงทักทะ ความสามารถ ประสบการณ์ และคุณสมบัติที่ผู้สมัครมีว่าตรงกับความต้องการของตำแหน่งงานหรือไม่ อีกทั้งยังช่วยให้ HR สามารถประเมินทักษะและศักยภาพของผู้สมัครว่าผู้สมัครมีความสามารถในการประเมินและรับรู้ถึงความสามารถ-ข้อจำกัดของตนเองหรือไม่ เนื่องจากการรู้จักตนเองเป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาทักษะและความสามารถในการทำงานของตำแหน่งต่าง ๆ
2. วิเคราะห์วิธีคิดและมุมมองของผู้สมัคร
คำถามจุดอ่อน จุดแข็ง เป็นคำถามที่บ่งบอกถึงวิธีคิด มุมมองของผู้สมัคร อีกทั้งยังเป็นการบ่งบอกวิธีคิดในการแก้ไขปัญหา มุมมองที่มีต่อข้อจำกัด และวิธีการรับมือกับปัญหาของผู้สมัครได้ เช่น ผู้สมัครตอบว่าจุดอ่อนคือ การพูดในที่สาธารณะ แล้วรู้สึกประหม่า ไม่มั่นใจ จึงมีการแก้ไขปัญหาด้วยการฝึกพูดกับผู้คนเยอะ ๆ จึงเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงความพยายามที่ผู้สมัครมีในการพัฒนาตัวเอง พยายามเปลี่ยนจุดอ่อนให้เป็นจุดแข็ง เป็นต้น
3. ประเมินความเหมาะสมกับองค์กร
คำถามจุดอ่อน จุดแข็งช่วยให้ HR สามารถประเมินความเหมาะสมของผู้สมัครกับองค์กรได้ ซึ่งคำถามนี้ช่วยให้ HR เห็นว่าผู้สมัครสามารถปรับตัวเข้ากับวัฒนธรรมองค์กรได้หรือไม่
4. ทักษะและคุณสมบัติตรงกับตำแหน่งหรือไม่
คำถามจุดอ่อน และจุดแข็งนั้นสามารถบ่งบอกได้ว่าผู้สมัครนั้นมีทักษะหรือคุณสมบัติที่เหมาะสมกับตำแหน่งงานที่สมัครหรือไม่ ทำให้ HR สามารถช่วยประกอบการตัดสินใจได้ว่าผู้สมัครมีคุณสมบัติเหมาะสมกับตำแหน่งนั้น ๆ หรือไม่
5. การพัฒนาและการเติบโตในสายอาชีพ
การพูดถึงจุดอ่อนจุดแข็งและการพัฒนาช่วยให้ HR เห็นถึงทัศนคติของผู้สมัครต่อการพัฒนาและการเติบโตในสายอาชีพว่าพวกเขามีความมุ่งมั่นในการปรับปรุงตนเองอย่างไรบ้างที่จะเปลี่ยนจุดอ่อน ให้เป็นจุดแข็งในอนาคต แสดงให้เห็นว่าผู้สมัครนั้นมีความพร้อมที่จะเติบโตไปพร้อมกับองค์กร
6. การสื่อสารและการนำเสนอ
การตอบคำถามเกี่ยวกับจุดอ่อนและจุดแข็งช่วยให้ HR เห็นถึงทักษะการสื่อสารและการนำเสนอของผู้สมัคร การที่ผู้สมัครสามารถสื่อสารความคิดเห็นของตนเองได้อย่างชัดเจนและตรงประเด็น แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการสื่อสารซึ่งเป็นทักษะที่สำคัญในการทำงานร่วมกับผู้อื่น
สรุปเหตุผลที่ HR ควรถามจุดอ่อน จุดแข็ง ในการสัมภาษณ์งาน
อย่างไรก็ตาม การวิเคราะห์คำตอบจากคำถามจุดอ่อน จุดแข็งในการสัมภาษณ์งานของผู้สมัครนั้นเป็นเพียงแนวทางการประเมินผู้สมัครเบื้องต้น นอกจากนี้เท่านั้น HR ควรพิจารณาจากบริบทอื่น ๆ ประกอบการตัดสินใจเลือกพนักงาน เช่น ความสามารถ ประสบการณ์ทำงานของผู้สมัคร ลักษณะของงานที่สมัคร และวัฒนธรรมองค์กร เป็นต้น และที่สิ่งสำคัญในการสัมภาษณ์งาน HR ควรเป็นผู้ฟังที่ดีและผู้สัมภาษณ์งานที่ดี เพื่อวิเคราะห์คำตอบอย่างรอบคอบ และเป็นกลางในการคัดเลือกพนักงาน