เขียนหนังสือตักเตือนพนักงานอย่างไรให้ได้ผล? เรามีตัวอย่างพร้อมวิธีการใช้หนังสือตักเตือนพนักงานอย่างเหมาะสมและได้ผลให้คุณดาวน์โหลดฟรีและนำไปปรับใช้ได้ง่าย ๆ
อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม
- เมื่อพนักงานกระทำผิด HR ตักเตือนพนักงานอย่างไรได้บ้าง?
- องค์ประกอบสำคัญบนใบเตือนพนักงาน และข้อควรระวังที่ HR ควรรู้
- Q&A หนังสือเตือนพนักงานสามารถออกย้อนหลังได้หรือไม่
- Q&A โดนใบเตือน เพราะลางานไม่มีใบรับรองแพทย์ ทำได้หรือไม่?
- Q&A ไขข้อสงสัย นายจ้างออกใบเตือนซ้ำกี่ครั้ง จึงเลิกจ้างได้?
- ส่งจดหมายเตือนพนักงานได้ทันใจ ด้วยโปรแกรม HR
ความสำคัญของหนังสือตักเตือนพนักงาน
หนังสือเตือนพนักงาน (Warning Letter) เป็นเอกสารที่ออกโดยนายจ้างหรือตัวแทนที่มีอำนาจเท่านั้น เช่น ผู้จัดการหรือผู้บังคับบัญชา ซึ่งเป็นการแจ้งตักเตือนอย่างเป็นทางการในรูปแบบลายลักษณ์อักษร โดยใบเตือนมีอายุไม่เกิน 1 ปี นับจากวันที่ลูกจ้างกระทำผิดครั้งแรก ทั้งนี้ หัวหน้างานไม่มีอำนาจเลิกจ้างโดยตรง แต่สามารถออกใบเตือนเพื่อกำหนดแนวทางแก้ไขพฤติกรรมได้
หนังสือเตือนมีความสำคัญอย่างมากในด้านการบริหารงานบุคคล เพราะช่วยให้การจัดการปัญหาเป็นไปอย่างเป็นธรรมและโปร่งใส เป็นหลักฐานที่ชัดเจนในการแจ้งข้อผิดพลาดและให้โอกาสพนักงานปรับปรุงตนเอง นอกจากนี้ ยังช่วยลดความขัดแย้งและป้องกันข้อพิพาทที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต โดยเฉพาะในกรณีที่ต้องดำเนินการขั้นเด็ดขาด เช่น การพิจารณาเลิกจ้าง
การมีหนังสือเตือนที่ถูกต้องจะช่วยให้นายจ้างสามารถดำเนินการตามกฎหมายแรงงานได้อย่างถูกต้องและเป็นธรรม
วิธีการใช้หนังสือตักเตือนพนักงานให้ได้ผล
แนวทางการใช้หนังสือตักเตือนพนักงานให้ได้ผล เพื่อให้ผู้บริหารและฝ่ายบุคคลสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1. ตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อนออกหนังสือ
- รวบรวมหลักฐานและข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมหรือการกระทำผิดของพนักงาน
- พิจารณาว่าการกระทำดังกล่าวผิดระเบียบของบริษัทจริงหรือไม่
- ให้โอกาสพนักงานชี้แจงก่อนออกหนังสือตักเตือน
2. ระบุรายละเอียดอย่างชัดเจน
- ระบุชื่อพนักงาน วันที่ และรายละเอียดของการกระทำผิด
- อธิบายเหตุผลที่ต้องตักเตือน และแนวทางแก้ไขที่คาดหวัง
- ระบุผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นหากพนักงานไม่ปรับปรุงพฤติกรรม
3. ใช้ภาษาที่เหมาะสม
- ควรใช้ภาษาที่เป็นทางการ สุภาพ และชัดเจน
- หลีกเลี่ยงการใช้คำพูดรุนแรงหรือแสดงอารมณ์
4. แจ้งให้พนักงานรับทราบและลงนาม
- ส่งหนังสือตักเตือนโดยตรงให้พนักงาน และอธิบายเนื้อหาให้เข้าใจ
- ขอให้พนักงานลงนามรับทราบเพื่อเป็นหลักฐานว่าพนักงานได้รับหนังสือแล้ว
- หากพนักงานปฏิเสธการลงนาม ควรให้พยานหรือฝ่ายบุคคลลงชื่อรับทราบแทน
5. ติดตามผลและให้โอกาสปรับปรุง
- กำหนดระยะเวลาให้พนักงานปรับปรุงตนเอง
- ตรวจสอบพฤติกรรมและให้คำแนะนำเพิ่มเติมหากจำเป็น
- หากพนักงานยังคงกระทำผิด อาจพิจารณามาตรการขั้นต่อไป เช่น การตักเตือนขั้นสุดท้ายหรือการพิจารณาเลิกจ้าง
ตัวอย่างหนังสือตักเตือนพนักงาน
ดาวโหลด “ตัวอย่างหนังสือตักเตือนพนักงาน” ได้ที่นี่
>> ตัวอย่างหนังสือตักเตือนพนักงาน ไฟล์ word <<
>> ตัวอย่างหนังสือตักเตือนพนักงาน ไฟล์ pdf <<
หมายเหตุ วิธีการ Download นำไปใช้
- วิธีที่ 1 ไปที่ File > Download > เลือกรูปแบบไฟล์ที่ต้องการ
- วิธีที่ 2 ทำการ Copy คัดลอกแบบฟอร์มจากนั้นนำไปวางที่ Microsoft word ของตนเองได้เลย
สรุป ตัวอย่างหนังสือตักเตือนพนักงาน โหลดฟรี! นำไปปรับใช้ได้เลย
หนังสือเตือนพนักงาน (Warning Letter) เป็นเอกสารแจ้งตักเตือนพนักงานกรณีกระทำผิดกฎระเบียบบริษัทที่ออกโดยนายจ้างหรือตัวแทนที่มีอำนาจ ใช้เป็นหลักฐานที่ชัดเจนในการแจ้งข้อผิดพลาดและให้โอกาสพนักงานปรับปรุงตนเอง การใช้หนังสือตักเตือนอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ ไม่เพียงช่วยให้การบริหารบุคคลเป็นไปอย่างมีระเบียบ แต่ยังช่วยส่งเสริมวินัยและความเข้าใจระหว่างนายจ้างกับพนักงาน ทำให้เกิดบรรยากาศการทำงานที่เป็นธรรมและสร้างสรรค์