ไขข้อสงสัย หากนายจ้างต้องการเลิกจ้างลูกจ้าง นายจ้างต้องจ่ายค่าตกใจตามกฎหมายแรงงานให้กับลูกจ้างอย่างไร? อีกทั้งมีเงื่อนไขใดบ้างที่นายจ้างต้องรู้ ไปหาคำตอบกันเลย
อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม
- Q&A ค่ากะดึก ถือเป็นค่าจ้างหรือไม่?
- ไขข้อสงสัย เบี้ยขยันตามกฎหมาย ถือเป็นค่าจ้างหรือไม่?
- Q&A เงินค่าตำแหน่ง ถือเป็นเงินค่าจ้างหรือไม่?
- เงินที่ถือว่าเป็นค่าจ้าง ตามกฏหมายแรงงาน มีอะไรบ้าง?
Q: ค่าตกใจตามกฎหมายแรงงาน ต้องจ่ายยังไง?
ค่าตกใจ คือ สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ซึ่งถือเป็นเงินที่นายจ้างต้องจ่ายเมื่อมีการเลิกจ้างในสัญญาจ้างที่ไม่มีกำหนดระยะเวลาแน่นอน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582 และพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17
A: หากนายจ้างต้องการเลิกจ้างลูกจ้างโดยให้มีผลทันที โดยลูกจ้างไม่ได้กระทำความผิดและไม่บอกให้ลูกจ้างทราบก่อนล่วงหน้า หรือบอกล่วงหน้า 30-60 วัน นายจ้างนั้นจะต้องจ่ายค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกล่วงหน้าให้แก่ลูกจ้างเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 30 วัน
- กรณีที่นายจ้างจ่ายค่าจ้างทุกวันที่ 1 ของเดือน เมื่อนายจ้างต้องการเลิกจ้างลูกจ้างภายในวันที่ 1 เมษายน นายจ้างต้องบอกกล่าวลูกจ้าง “ช้าที่สุด” ในวันที่ 1 มีนาคม ซึ่งเป็นวันจ่ายค่าจ้าง หากนายจ้างบอกกล่าวลูกจ้างในวันที่ 15 มีนาคม และยังต้องการให้ลูกจ้างออกจากงานในวันที่ 1 เมษายน จะมีระยะเวลาไม่ครบ 1 เดือน (ไม่ครบ 1 รอบการจ่ายค่าจ้าง) กรณีนี้จะสามารถเลิกจ้างลูกจ้างได้ในวันที่ 1 พฤษภาคม
ตัวอย่าง
- เมื่อลูกจ้างได้ค่าจ้าง 20,000 บาท หากนายจ้างต้องการให้ลูกจ้างออกจากงานในวันที่ 1 เมษายน จะต้องบอกกล่าวล่วงหน้าในวันที่ 1 มีนาคม (ช้าสุด) หากต้องการให้ลูกจ้างออกจากงานทันทีในวันที่ 1 มีนาคม นายจ้างต้องค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า 20,000 บาท
- หากนายจ้างบอกกล่าววันที่ 15 มีนาคม ผลการเลิกจ้างคือวันที่ 1 พฤษภาคม เนื่องจากหากให้ลูกจ้างออกจากงานในวันที่ 1 เมษายน ระยะเวลาจะไม่ครบ 1 รอบการจ่ายค่าจ้าง แต่หากนายจ้างต้องการเลิกจ้าง และให้ลูกจ้างออกจากงานทันทีในวันที่ 15 มีนาคม นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างให้กับลูกจ้าง 35,000 บาท (จ่ายเงินเดือนแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า 1 เดือนครึ่ง)
Q: ค่าตกใจสำหรับพนักงานรายวัน จ่ายยังไง?
A: นายจ้างสามารถนำวันหยุด และวันหยุดที่ลูกจ้างไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้าง (ถ้ามี) นำมาหักก่อนได้ เมื่อหักออกแล้ว นั่นคือ จำนวนคงเหลือที่นายจ้างต้องจ่ายให้กับลูกจ้าง
นายจ้างสามารถนำวันหยุดประจำสัปดาห์ รวมทั้งวันหยุดอื่นที่ลูกจ้างไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้าง (ถ้ามี) ที่มีในระหว่างนั้นมาหักออกก่อนได้ เมื่อหักออกแล้ว นั่นคือ "จำนวนเงินที่นายจ้างต้องจ่ายเป็นสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามกฎหมาย" ให้กับลูกจ้าง
สรุป Q&A ค่าตกใจตามกฎหมายแรงงาน ต้องจ่ายยังไง?
โดยสรุปแล้ว นายจ้างต้องจ่ายค่าตกใจให้กับลูกจ้างรายเดือนนับจากวันที่เลิกจ้างเป็นระยะเวลา 1 เดือน หากให้ลูกจ้างออกจากงานทันทีนายจ้างต้องจ่ายเงินเดือนแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า 1 เดือนครึ่ง
ในกรณีของพนักงานรายวัน นายจ้างสามารถนำวันหยุด รวมถึงวันหยุดที่ลูกจ้างไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้าง นำมาหักออกก่อนได้ คงเหลือเท่าไหร่ นั่นคือ จำนวนเงินที่นายจ้างต้องจ่ายเป็นสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามกฎหมายให้กับลูกจ้าง