PageView Facebook
date_range 19/07/2023 visibility 13784 views
bookmark HR Knowledge
นายจ้างควรรู้ รายได้ไหน ที่ต้องยื่นประกันสังคมให้ลูกจ้าง - blog image preview
Blog >นายจ้างควรรู้ รายได้ไหน ที่ต้องยื่นประกันสังคมให้ลูกจ้าง

เป็นคำถามที่หลายคนสงสัยว่ารายได้ หรือค่าจ้างอะไรบ้างของลูกจ้าง ที่ต้องยื่นประกันสังคม หาคำตอบได้ในบทความนี้


เรื่องเกี่ยวกับประกันสังคมที่คุณอาจสนใจ



นายจ้างควรรู้ รายได้ที่ต้องยื่นประกันสังคม

     

หนึ่งในสวัสดิการที่ลูกจ้างจะได้รับตามกฎหมายนั้นคือ สิทธิประกันสังคม ที่เป็นผลประโยชน์ร่วมกันระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง ซึ่งนายจ้างจะเป็นผู้ยื่นประกันสังคมในแต่ละเดือน โดยหักจากรายได้ในแต่ละเดือนที่ลูกจ้างจะได้รับ ตามที่อัตราเงินสมทบประกันสังคมกำหนดไว้ และผลประโยชน์หลักๆ ที่ลูกจ้างจะได้รับนั้น มีดังนี้

 


  • ค่าหมอ ค่ายา ค่าทำฟัน ยามเจ็บป่วย หรือเกิดอุบัติเหตุ
  • ค่าเงินชดเชย กรณีทุพพลภาพ
  • ค่าคลอดบุตร
  • ค่านมลูก (เงินสงเคราะห์บุตร)
  • ค่าใช้จ่ายยามตกงาน
  • ค่าจัดงานกรณีเสียชีวิต
  • ค่าใช้จ่ายยามเกษียณ

นอกจากนั้นการยื่นประกันสังคมให้กับลูกจ้าง ยังส่งผลดีต่อนายจ้างและภาพลักษณ์ของธุรกิจด้วย ดังเช่น

 

  • ลูกจ้างมองว่าเป็นหลักประกันชีวิตขั้นพื้นฐานที่ควรได้รับจึงเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อธุรกิจได้ 
  • เป็นแรงจูงใจให้กับลูกจ้างในการตัดสินใจเข้าร่วมงานกับนายจ้างหรือองค์กร
  • เพิ่มความมั่นใจให้กับลูกจ้างว่าองค์กรจะดูแลคุณภาพชีวิตของลูกจ้างให้ดีขึ้น ทำให้รักษาพนักงานเก่งๆ ให้อยู่ทำงานด้วยกันยาวๆ

 

เมื่อทั้งลูกจ้างและนายจ้างต่างได้รับผลประโยชน์ที่ดีร่วมกัน ทำให้ธุรกิจดำเนินไปได้อย่างมั่นคง อีกทั้งยังส่งผลต่อลูกค้าและคู่ค้าในเชิงบวกอีกด้วย


ค่าจ้างในความหมายของประกันสังคม


คำว่ารายได้ หรือค่าตอบแทน ตามคำศัพท์ของประกันสังคมคือ “ค่าจ้าง” ซึ่งหมายถึง เงินทุกประเภทที่นายจ้างจ่ายให้กับลูกจ้างเป็นค่าตอบแทนการทำงาน จะคำนวณตามระยะเวลาหรือคำนวณตามผลงานของลูกจ้างก็ได้ และยังรวมถึงค่าจ้างที่นายจ้างจ่ายให้ในวันหยุดและวันลาด้วย ซึ่งจะนับเฉพาะรายได้ประจำ เช่น เงินเดือน ค่าเบี้ยเลี้ยงที่จ่ายประจำทุกๆ เดือน ค่าคอมมิสชันที่ให้ประจำไม่ว่าจะได้ยอดเท่าไร โดยค่าจ้างสำหรับยื่นประกันสังคมนั้นแตกต่างจากค่าจ้างสำหรับการคิดภาษี เพราะค่าจ้างในการคิดภาษีจะรวมทุกอย่างที่ลูกจ้างได้รับจากนายจ้าง ไม่ว่าจะเป็นค่าเช่าบ้าน ค่าโอที เบี้ยเลี้ยงที่ไม่ประจำ หรือค่าน้ำมันรถ เป็นต้น

 

องค์ประกอบค่าจ้างสำหรับยื่นประกันสังคม

  • เป็นตัวเงินที่นายจ้างให้กับลูกจ้าง
  • นายจ้างเป็นผู้ดำเนินการจ่ายให้ลูกจ้าง
  • เพื่อตอบแทนให้กับลูกจ้างในวันทำงาน ซึ่งรวมถึงวันหยุดและวันลาด้วย


ข้อสังเกตรายได้ที่ไม่ใช่ค่าจ้าง

  • เงินที่นายจ้างจ่ายให้เพื่อเป็นสวัสดิการให้กับลูกจ้าง เช่น ค่าเล่าเรียนบุตร ค่ารักษาพยาบาล จะไม่ถือเป็นการตอบแทนการทำงาน
  • เงินที่จูงใจให้ลูกจ้างทำงานมากขึ้นทำงานให้ดีขึ้น หรือให้เมื่อลาออกจากงาน เช่น เบี้ยขยัน โบนัส บำเหน็จ เงินสะสมเงินชดเชย ถึงแม้จะจ่ายให้เป็นประจำก็ยังไม่ถือว่าเป็นการตอบแทนการทำงาน

     

ดังนั้น เงินที่นายจ้างให้กับลูกจ้างตามองค์ประกอบดังกล่าวแล้ว ไม่ว่าจะมีชื่อเรียกว่าอะไร มีการคำควณอย่างไร หรือจ่ายโดยวิธีการใดก็ตาม จะถือว่าเป็นค่าจ้างสำหรับยื่นประกันสังคมด้วยกันทั้งสิ้น ซึ่งเรื่องของค่าจ้างสำหรับยื่นประกันสังคมนั้น เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับนายจ้างและ HR เพราะเป็นหนึ่งในหน้าที่สำคัญ ที่ต้องดูแลพนักงานให้ได้รับสิทธิพื้นฐานตามกฎหมาย และนายจ้างหรือ HR ต้องเป็นผู้ยื่นเอกสารค่าจ้างดังกล่าวให้กับหน่วยงานประกันสังคม


แล้วลูกจ้างรายได้เท่าไร? ที่ต้องยื่นประกันสังคม


สำหรับลูกจ้างที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี แต่ไม่เกิน 60 ปี ต้องส่งเงินสมทบประกันสังคมมาตรา 33  โดยลูกจ้างที่ได้รับค่าจ้างตั้งแต่ 1,650 บาท และจนถึง 15,000 บาทขึ้นไป นั้น ต้องจ่ายเงินสมทบประกันสังคมในอัตรา 5% และนายจ้าง 5% คิดเป็นเงินขั้นต่ำ 83 บาท และสูงสุดไม่เกิน 750 บาท และลูกจ้างก็จะได้รับสิทธิประกันสังคมทั้งหมดตามที่กฎหมายแรงงานได้กำหนดไว้ ซึ่งในปัจจุบันลูกจ้างสามารถเช็คสิทธิประกันสังคมออนไลน์ง่ายๆ ด้วยเลขบัตรประชาชน ผ่านทาง เว็ปไซด์ www.sso.go.th หรือ Application SSO Connect

 


อัตราเงินสมทบประกันสังคม 2566 ม.33 นี้ ได้ปรับเป็น 5% ตามปกติแล้ว หลังสิ้นสุดมาตราการลดเงินสมทบประกันสังคมเพื่อช่วยเหลือนายจ้างและลูกจ้างในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ทำให้ลูกจ้างสามารถใช้สิทธิลดหย่อนประกันสังคมในการคำนวณภาษีได้สูงสุด 9000 บาท ตามเดิมแล้ว


สรุปรายได้ที่ต้องยื่นประกันสังคม


จากข้อมูลที่กล่าวมาทั้งหมด ทำให้ทราบว่าค่าจ้างใดบ้างที่ต้องนำมาคำนวณเป็นรายได้เพื่อยื่นประกันสังคมของลูกจ้าง และนายจ้างต้องเริ่มยื่นประกันสังคมให้ลูกจ้างตั้งแต่มีรายได้เท่าไร เพื่อให้นายจ้างสามารถดูแลลูกจ้างให้ได้รับสิทธิพื้นฐานในการทำงานตามกฎหมาย และยังเป็นหนึ่งในหน้าที่สำคัญของนายจ้างและ HR ด้วยที่จะต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด เพราะหากไม่ปฏิบัติตาม ก็อาจกลายเป็นความผิดเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดของกฎหมายแรงงานได้เช่นเดียวกัน


hms-helpful-shadow svg fileโปรแกรมเงินเดือน HumanSoft
ทดลองใช้ฟรี 30 วันครบทุกฟังก์ชัน
  • บริการขึ้นระบบ ฟรี
  • ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น
  • ยกเลิกเมื่อไหร่ก็ได้