การพ้นสภาพการเป็นพนักงาน คืออะไร และนายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยให้ลูกจ้างอย่างไรบ้าง วันนี้เรามีเกร็ดความรู้ดี ๆ มาฝาก สามารถหาคำตอบได้ที่บทความนี้เลย
อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม
- “พ้นสภาพ” กับ “ลาออก” ของพนักงานต่างกันอย่างไร?
- เมื่อลูกจ้าง"ลาออก" โดยไม่แจ้งล่วงหน้า จะเป็นอะไรไหม?
- สาเหตุการลาออกของพนักงานที่หัวหน้าทีมและ HR ต้องทำความเข้าใจ
- Q&A เลิกจ้างพนักงาน ต้องจ่ายเงินชดเชยเท่าไร? ตามกฎหมายแรงงาน
ว่าด้วยเรื่อง “การพ้นสภาพการเป็นพนักงาน”
การพ้นสภาพการเป็นพนักงาน คือ การสิ้นสุดสภาพความเป็นลูกจ้างของนายจ้าง
อาจออกจากงานในลักษณะของการถูกปลดออกจากงานหรือการไล่ออก หรือพนักงานอาจลาออกจากงานด้วยตนเอง รวมไปถึง การเกษียณอายุ หรือการถึงแก่กรรม เป็นต้น หากองค์กรจะเลิกจ้างพนักงานต้องจ่ายเงินชดเชยให้พนักงานอย่างไรและมีเงื่อนไขใดบ้าง ไปดูกันเลย
พนักงานจะพ้นสภาพการเป็นพนักงานขององค์กรในกรณีใดบ้าง
- ถึงแก่กรรม
- เลิกจ้าง
- พนักงานลาออกเอง
- เกษียณอายุ เมื่อมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์
องค์กรจะเลิกจ้างพนักงาน โดยจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมาย ในกรณีใดบ้าง
องค์กรจะเลิกจ้างพนักงาน โดยจ่ายค่าชดเชย ตามกฎหมายในกรณีดังต่อไปนี้
- พนักงานครบเกษียณอายุ 55 ปีบริบูรณ์
- พนักงานประสบอุบัติเหตุจนถึงขึ้นทุพพลภาพ หรือเจ็บป่วยเรื้อรังจนไม่สามารถปฏิบัติงานได้
- พนักงานมีสุขภาพเสื่อมโทรม อาจเป็นสาเหตุให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง
- ผลการปฏิบัติงานของพนักงานไม่ได้มาตรฐาน ไม่ตรงตามความต้องการขององค์กร ไม่ว่าจะเป็นด้านคุณภาพหรือปริมาณ
- องค์กรมีความจำเป็นต้องยุบหรือเปลี่ยนแปลงองค์กร จากการประสบภาวะเศรษฐกิจถดถอยหรือประสบภาวะขาดทุน
ในกรณีที่เลิกจ้างพนักงานเพราะสุขภาพเสื่อมโทรม องค์กรจะให้พนักงานได้รับการตรวจจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อน หากแพทย์ลงความเห็นว่าสุขภาพของพนักงานไม่เหมาะสมกับการทำงาน องค์กรจึงจะพิจารณาเลิกจ้างพนักงานต่อไป
องค์กรจะเลิกจ้างพนักงาน โดยไม่จ่ายค่าชดเชย ในกรณีต่าง ๆ ดังนี้
- พนักงานทำผิดวินัยขั้นร้ายแรงตามที่องค์กรกำหนดไว้
- ในระหว่างการทดลองงานภายในระยะเวลาไม่เกิน 119 วัน ผลการทำงานของพนักงานไม่เป็นที่พึงพอใจขององค์กร
- เมื่อพนักงานพ้นสภาพการเป็นพนักงานแล้ว ต้องนำส่งเอกสาร และทรัพย์สินต่าง ๆ รวมถึงบัตรประจำตัวพนักงาน คืนให้แก่องค์กร ก่อนวันพ้นสภาพการเป็นพนักงาน หรือวันสุดท้ายของการปฏิบัติงาน
การจ่ายค่าชดเชยให้แก่พนักงานที่ถูกเลิกจ้าง
เมื่อพนักงานถูกเลิกจ้าง องค์กรต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่พนักงานที่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยในกรณีที่พนักงานถูกเลิกจ้างในอัตราดังต่อไปนี้
พิจารณาจากอายุงานเป็นหลัก
- ครบ 120 วันแต่ไม่ครบ 1 ปี จะจ่ายให้เท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 30 วัน
- ครบ 1 ปีแต่ไม่ครบ 3 ปี จะจ่ายให้เท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 90 วัน
- ครบ 3 ปีแต่ไม่ครบ 6 ปี จะจ่ายให้เท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน
- ครบ 6 ปีแต่ไม่ครบ 10 ปี จะจ่ายให้เท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 240 วัน
- ครบ 10 ปีขึ้นไป จะจ่ายให้เท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 300 วัน
สรุปการพ้นสภาพการเป็นพนักงานและการจ่ายค่าชดเชย มีเงื่อนไขใดบ้าง
การพ้นสภาพการเป็นพนักงาน คือ การสิ้นสุดสภาพการเป็นลูกจ้างของนายจ้างภายในองค์กร หรือองค์กรนั้น ๆ โดยนายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยให้ลูกจ้างที่มีสิทธิตามอัตราค่าชดเชยที่กฎหมายกำหนด กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ออกมาตรการคุ้มครองแรงงานเชิงรุกเฝ้าระวังการเลิกจ้าง พร้อมเตือนนายจ้าง หากเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยหรือฝ่าฝืนคำสั่งนายจ้างจะมีความผิดตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน และอาจมีโทษปรับสูงสุดถึง 1 แสนบาท