PageView Facebook
date_range 05/07/2023 visibility 10649 views
bookmark HR Knowledge
ทำธุรกิจส่วนตัวยื่นภาษี แบบไหน - blog image preview
Blog >ทำธุรกิจส่วนตัวยื่นภาษี แบบไหน

เมื่อทำธุรกิจส่วนตัว แล้วต้องยื่นภาษีแบบไหน? เป็นคำถามที่ผู้เริ่มต้นทำธุรกิจมักสงสัย มาหาคำตอบด้วยกันในบทความนี้เลย


 

เรื่องเกี่ยวกับภาษีเงินได้ ที่คุณอาจสนใจ



เรื่องการยื่นภาษีของคนทำธุรกิจส่วนตัว 


อีกเรื่องสำคัญในการประกอบธุรกิจส่วนตัว คือการยื่นภาษี ที่หลายคนมักมองข้าม และสำหรับผู้เริ่มต้นทำธุรกิจนั้น ถือเป็นเรื่องที่ปวดหัวเรื่องหนึ่งเลย และในบางกรณีที่ผู้เริ่มต้นทำธุรกิจยังคงเสียภาษีบุคคลธรรมดาอยู่ ยังไม่รู้ว่าควรจะเปลี่ยนมาเป็นนิติบุคคลหรือไม่ หรือเมื่อเปลี่ยนมาแล้วจะต้องเสียภาษีเท่าไร อย่างไรบ้าง และยิ่งในยุคปัจจุบัน การคำนวณเงินเดือนภาษีเงินได้ของบุคคลธรรมดาของลูกจ้างนั้น สามารถคำนวณได้แบบอัตโนมัติผ่านโปรแกรมบริหารงานบุคคลได้ จึงเป็นเรื่องที่เหมือนจะยุ่งยากและซับซ้อนสำหรับบุคคลธรรมดาที่กำลังจะเปลี่ยนมาเป็นนิติบุคคล


ซึ่งความจริงแล้วเรื่องภาษี ไม่ใช่เรื่องยากอย่างที่คิด เพราะภาษีสำหรับธุรกิจส่วนตัวแล้ว แบ่งตามประเภท จะมีไม่เกิน 5 ประเภทเท่านั้น แต่ก่อนที่จะรู้ว่าธุรกิจส่วนตัวของเรานั้น จะต้องยื่นภาษีอะไรบ้าง เจ้าของธุรกิจต้องเริ่มที่การวางแผนภาษีล่วงหน้า


วางแผนการยื่นภาษีสำหรับธุรกิจส่วนตัว


การวางแผนภาษีล่วงหน้านั้น เริ่มที่การตัดสินใจของเจ้าของธุรกิจว่าจะเป็นแบบบุคคลธรรมดา หรือแบบนิติบุคคล เพราะทั้งสองแบบ มีอัตราการเสียภาษีที่แตกต่างกัน




      

หากธุรกิจมีรายได้สุทธิมากกว่า 750,001 บาท ควรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล เพราะเจ้าของธุรกิจจะเสียภาษีเงินได้อยู่ที่ 15 % ซึ่งน้อยกว่าอัตราภาษีเงินได้ของบุคคลธรรมดา แต่ทั้งนั้นทั้งนี้ ขึ้นอยู่ที่การตัดสินใจของเจ้าของธุรกิจและรายได้สุทธิของกิจการด้วย เพราะในหลายๆ อย่างต้องผ่านการวางแผนภาษีล่วงหน้า ต้องทำระบบบัญชีที่ดี บันทึกรายรับ-รายจ่าย จัดเก็บเอกสารให้ครบถ้วน และประมาณการค่าใช้จ่ายเพื่อลดหย่อนภาษีอีกด้วย


การทำธุรกิจส่วนตัว ต้องยื่นภาษี แบบไหนบ้าง


เมื่อตัดสินใจได้แล้วว่าจะเปลี่ยนการยื่นภาษีมาเป็นแบบนิติบุคคล คราวนี้เราจะมาดูกันว่าการทำธุรกิจส่วนตัวนั้น ต้องยื่นภาษีแบบไหน โดยภาษีที่นิติบุคคลจะต้องพบเจอนั้น จะมีอยู่ 5 ประเภทดังนี้



1. ภาษีเงินได้นิติบุคคล

ภาษีประเภทนี้ เป็นแบบเดียวกันภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเลย เพียงแตกต่างกันที่อัตราการเสียภาษีและการเก็บภาษีแบบนี้ เป็นการเก็บจาก “ผลกำไร” ที่สามารถหักต้นทุนทางธุรกิจมาเป็นค่าใช้จ่ายตามจริงได้ แต่การจะทำแบบนี้ธุรกิจจะต้องมีการทำบัญชีที่ชัดเจนว่าต้นทุนเท่าไร รายได้เท่าไร แล้วจึงมาคำนวณเป็นผลกำไร ที่จะเป็นจำนวณสำหรับการคิดเงินได้ที่ต้องเสียภาษีนั้นเอง


      และนอกจากการที่ธุรกิจต้องทำบัญชีให้ถูกต้องและชัดเจนนั้น ยังจะต้องมีว่าจ้างผู้ตรวจสอบบัญชีมารับรองความถูกต้องก่อนการยื่นภาษี ซึ่งจะเป็นค่าใช้จ่ายที่ตามมาของการเป็นนิติบุคคลเช่นกัน ดังนั้นการยื่นภาษีแบบนิติบุคคลก็จะมีข้อดีที่ธุรกิจสามารถหักค่าใช้จ่ายตามจริงได้ และเสียภาษีจากผลกำไรตามจริง ไม่ใช่เสียภาษีจากรายได้ที่หักลบค่าลดหย่อน และค่าใช้จ่ายที่ถูกกำหนดมาให้อย่างตายตัว


แต่ก็ยังมีข้อเสียตรงที่จะมีค่าใช้จ่ายในส่วนของการทำบัญชี และตรวจสอบบัญชีมาด้วยเช่นกันเจ้าของธุรกิจจึงต้องวางแผนล่วงหน้าและคำนวณรายรับ รายจ่าย และผลกำไรให้ชัดก่อนการเปลี่ยนมาเป็นนิติบุคคลนี้


2. ภาษีหัก ณ ที่จ่าย

ในบางครั้งที่การทำธุรกิจจะต้องมีการจ้างบุคคลภายนอก เช่น การจ้างช่างรับเหมาทำงานต่างๆ เมื่อต้องจ่ายค่าจ้างนั้นบริษัทจะต้องหักค่าจ้างส่วนหนึ่งเพื่อยื่นให้กับสรรพากร ซึ่งเรียกว่า “ภาษีหัก ณที่จ่าย” เพื่อทำให้รัฐรับรู้รายได้บางส่วนของผู้รับจ้างเหล่านั้น และภาษีส่วนนั้นจะถูกนับเป็นภาษีล่วงหน้าของผู้รับจ้างรายนั้นไปเลยก็ได้ ส่วนจะต้องจ่ายเพิ่มตามหลัง หรือจะได้คืน ก็ขึ้นอยู่กับรายได้สุทธิของผู้รับจ้างเหล่านั้นว่าต้องเสียภาษีเท่าไรในปีนั้นๆ ด้วย หากภาษี ณ ที่จ่าย มียอดมากกว่าภาษีที่ผู้รับจ้างต้องเสีย ผู้รับจ้างก็มีสิทธิ์ยื่นขอภาษีคืนได้


3. ภาษีมูลค่าเพิ่ม

ต่อมาคือภาษีที่ทุกคนคุ้นเคยกัน เพราะเรามักจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่มนี้รวมกับสินค้าและบริการที่เราซื้ออยู่เสมอ ซึ่งสาเหตุที่ธุรกิจจำนวนมาก นำภาษีมูลค่าเพิ่มมาคิดรวมกับสินค้าและบริการให้เราจ่ายนั้น มาจากภาษีมูลค่าเพิ่มที่รัฐเรียกเก็บจากธุรกิจทุกรูปแบบนั่นเอง ไม่ว่าจะเป็นภาษีบุคคลธรรมดา หรือภาษีนิติบุคคล หากมีรายได้ต่อปีถึง 1.8 ล้านบาท ก็จะต้องจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่มให้กับรัฐแบบไม่มีเงื่อนใดๆ ทั้งสิ้น


4. ภาษีธุรกิจเฉพาะ

ภาษีธุรกิจเฉพาะนั้น เป็นภาษีที่ต้องเสียให้รัฐ นอกเหนือจากภาษีทั้งหมดที่กล่าวมารายละเอียดของภาษีเหล่านี้จะอยู่ในกฎหมายเฉพาะที่ใช้กำกับดูแลธุรกิจแต่ละประเภทนั้นเลย  เช่น ธนาคารพาณิชย์ โรงรับจำนำ หรือธุรกิจค้าขายอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น โดยเจ้าของธุรกิจไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคลก็ต้องเสียให้รัฐทั้งสิ้น ดังนั้น หากเราทำธุรกิจเหล่านี้ ควรศึกษากฎหมายให้เข้าใจและตรวจสอบเงื่อนใขภาษีเฉพาะของธุรกิจให้ชัดเจน เพื่อการชำระภาษีตามกฎหมายให้ถูกต้อง


5. ภาษีอากรแสตมป์

ภาษีอากรแสตมป์นั้น เป็นภาษีที่รัฐจะเก็บจากธุรกิจเมื่อทำสัญญาบางชนิด เช่น การทำสัญญาเช่าที่ดิน กาเช่าซื้อทรัพย์สิน การจ้างทำของ การทำสัญญากู้ยืมเงิน เป็นต้น ซึ่งเจ้าของธุรกิจต้องเช็กกับฝ่ายกฎหมายให้ดีว่าการทำสัญญานั้นต้องเสียอากรแสตมป์อย่างไรบ้าง เพราะไม่ใช่ทุกการทำสัญญาจะต้องเสียอากรแสตมป์ และแต่ละอากรแสตมป์ก็มีความแตกต่างกันไป บางประเภทคิดอากรแสตมป์คงที่ต่อการออกเอกสาร 1 ฉบับ เช่น  การออกใบมอบอำนาจ หรือใบรับของ แต่บางประเภทก็จะคิดอากรแสตมป์ตามอัตราส่วนของมูลค่าธุรกรรม เช่น การเช่าที่ดิน หรือการโอนใบหุ้น เป็นต้น โดยรายละเอียดพวกนี้สามารถเข้าไปดูได้ในประมวลรัษฎากร


สรุปการยื่นภาษีสำหรับการทำธุรกิจส่วนตัว

จากรายละเอียดเกี่ยวกับภาษีต่างๆ ที่กล่าวมานั้น สามารถตอบคำถามเกี่ยวกับการยื่นภาษีให้กับผู้เริ่มทำธุรกิจได้เป็นอย่างดี และเรื่องภาษีสำหรับผู้ทำธุรกิจส่วนตัวนั้น ไม่ได้มีความซับซ้อนหรือยุ่งยากอย่างที่เคยเข้าใจ หากมีการวางแผนภาษีที่ดี ก็จะช่วยให้ธุรกิจดำเนินกิจการไปได้อย่างราบรื่นแน่นอน




hms-helpful-shadow svg fileโปรแกรมเงินเดือน HumanSoft
ทดลองใช้ฟรี 30 วันครบทุกฟังก์ชัน
  • บริการขึ้นระบบ ฟรี
  • ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น
  • ยกเลิกเมื่อไหร่ก็ได้