ไขข้อสงสัยแก่นายจ้างและชาวออฟฟิศเรื่องกยศ. หักเงินเดือน นายจ้างสามารถหักเงินเดือนพนักงานเพื่อนำส่งกยศ. โดยที่พนักงานไม่ยินยอมได้หรือไม่? อย่างไร?
อ่านบทความที่คุณอาจสนใจเพิ่มเติม:
- กยศ. หักเงินเดือน กับข้อกฎหมายที่นายจ้างควรรู้
- กยศ.หักเงินเดือนมีวิธีคำนวณแบบใด นายจ้างต้องเตรียมตัวอย่างไร
- วิธีการคิดเงินเดือนพนักงานรายเดือนตามกฎหมาย
นายจ้างหักเงินเดือนเพื่อชำระกยศ.
นายจ้างจะเริ่มมีหน้าที่หักเงินเดือนและนำส่งเงินกู้ยืมคืนกองทุน ตั้งแต่ได้รับการแจ้งอย่างเป็นทางการจากทางกองทุน โดยกองทุนแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมิน (หน่วยงาน) หรืออธิบายง่าย ๆ คือ นายจ้างจะดำเนินการหักเงินเดือนได้ ก็ต่อเมื่อกองทุนแจ้งต่อนายจ้างอย่างเป็นทางการเท่านั้น
ลำดับการหักเงิน
- หักภาษี ณ ที่จ่าย
- กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ / กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ / กฎหมายคุ้มครองแรงงาน / ประกันสังคม
- เงินกู้ยืมกองทุน
Tips! อ่านบทความเพิ่มเติม >> กยศ. หักเงินเดือน กับข้อกฎหมายที่นายจ้างควรรู้
นายจ้างหักเงินพนักงานเพื่อชำระกยศ. โดยที่พนักงานไม่ยินยอมได้หรือไม่
การหักเงินเดือนพนักงานเพื่อชำระหนี้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) เป็นประเด็นที่พนักงานหลายคนสงสัยว่าการกระทำเช่นนี้ของนายจ้างสามารถหักเงินเดือนพนักงานโดยที่พนักงานไม่ยินยอมได้หรือไม่
นายจ้างมีหน้าที่หักเงินเดือนพนักงานเพื่อชำระเงินกู้ยืมคืนกองทุนตามที่กองทุนแจ้งให้ทราบตาม พ.ร.บ. กยศ. พ.ศ. 2560 โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากพนักงานเนื่องจากเป็นการชำระเงินอื่นตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้ตามมาตรา 76 (1) แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
กรณีที่พนักงานไม่ยินยอมหรือมีข้อโต้แย้งในการหักเงินเดือนต้องทำอย่างไร
หากพนักงานไม่ยินยอมหรือมีข้อโต้แย้งในการหักเงินเดือนพนักงานเพื่อนำจ่ายกยศ. ให้พนักงานหรือลูกจ้างติดต่อกองทุนโดยตรง ผ่านช่องทางการติดต่อขององค์กรนายจ้างเบอร์โทรศัพท์ 02 080 5099 หรือไลน์บัญชีทางการ กยศ.หักเงินเดือน หรืออีเมล slf-debt@studentloan.or.th เพื่อให้เจ้าหน้าที่แจ้งรายละเอียดแก่ผู้กู้ยืมเงินในการเข้าสู่ระบบการหักเงินเดือนผ่านองค์กรนายจ้าง
สรุปนายจ้างหักเงินพนักงานชำระกยศ โดยไม่ได้รับความยินยอมได้หรือไม่
กล่าวโดยสรุปคือ นายจ้างสามารถหักเงินเดือนพนักงานเพื่อชำระ กยศ. โดยที่ไม่ต้องได้รับความยินยอมจากพนักงานได้