การลาป่วยเป็นสิทธิพื้นฐานของพนักงงาน แต่หากกรณีที่พนักงานลาป่วยบ่อย นายจ้างหรือ HR สามารถเลิกจ้างได้ไหม สามารถหาคำตอบได้ในบทความนี้เลย
อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม:
- Q&A พนักงานยังไม่ผ่านโปร ลากิจ ลาป่วยได้ไหม?
- ลาป่วยกี่วัน ต้องมีใบรับรองแพทย์ นายจ้างหักเงินได้ไหม?
- ลาป่วย 20 ข้อ ที่พนักงานควรรู้!
- ลาพักร้อน ลาป่วย ลากิจได้กี่วัน ตามกฎหมายแรงงาน
ว่าด้วยเรื่องของการลาป่วย
ในช่วงเช้าของวันทำงานบ่อยครั้งที่ HR หรือนายจ้างมักจะได้รับแจ้งเตือนจากพนักงานเกี่ยวกับการลาป่วย โดยตามกฎหมายแรงงาน ลูกจ้างมีสิทธิลาป่วยได้ไม่เกิน 30 วันต่อปี โดยนายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างหรือค่าตอบแทนให้เต็มจำนวนหรือเท่ากับวันทำงานปกติ
Q: พนักงานลาป่วยบ่อย นายจ้างสามารถเลิกจ้างได้ไหม?
กรณีที่พนักงานลาป่วย HR หรือนายจ้างได้นำเรื่องนี้ไปเป็นเหตุผลในการเลิกจ้าง แบบนี้นายจ้างสามารถทำได้ไหม ถือเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมหรือไม่?
A: ลาป่วยบ่อย นายจ้างเลิกจ้างได้ และถือว่าเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรม
กรณีที่พนักงานลาป่วยบ่อย นายจ้างสามารถเลิกจ้างได้ ตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2600/2529 กล่าวว่า “พนักงานลาป่วยบ่อย แสดงว่าสุขภาพไม่สมบูรณ์ และหย่อนสมรรภาพในการทำงาน ถือเป็นเหตุสมควรที่นายจ้างสามารถเลิกจ้างได้ และการเลิกจ้างดังกล่าวจึงเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรม”
Q: หากเลิกจ้างเพราะพนักงานลาป่วยบ่อย นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยไหม?
นายจ้างเลิกจ้างพนักงานหรือลูกจ้างเพราะว่าลาป่วยบ่อย กรณีแบบนี้นายจ้างจำเป็นที่จะต้องจ่ายค่าชดเชยให้กับพนักงานหรือไม่ อย่างไร?
A: เลิกจ้างเพราะพนักงานลาป่วยบ่อย นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงาน
กรณีที่นายจ้างเลิกจ้างเหตุเพราะพนักงานหรือลูกจ้างลาป่วยบ่อย นายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชยให้กับพนักงานตามที่กฎหมายแรงงานกำหนด เนื่องจากการเลิกจ้างเพราะลาป่วยบ่อย ไม่เข้าข่ายข้อยกเว้นที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามมาตรา 119 ดังนั้นพนักงานมีสิทธิได้ค่าชดเชยกรณีที่เลิกจ้างเพราะลาป่วยบ่อย
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน 2541 มาตรา118 นายจ้างมีหน้าที่จ่ายค่าชดเชยให้กับพนักงานหรือลูกจ้างดังต่อไปนี้
- พนักงานทำงานติดต่อกันครบ 120 วัน แต่ไม่ครบ 1 ปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 30 วัน
- พนักงานทำงานติดต่อกันครบ 1 ปี แต่ไม่ครบ3 ปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 90 วัน
- พนักงานทำงานติดต่อกันครบ 3 ปี แต่ไม่ครบ6 ปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180วัน
- พนักงานทำงานติดต่อกันครบ 6ปี แต่ไม่ครบ10 ปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 240วัน
- พนักงานทำงานติดต่อกันครบ 10ปี แต่ไม่ครบ20 ปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 300 วัน
- พนักงานทำงานติดต่อกันครบ 20ปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 400 วัน
สรุปพนักงานลาป่วยบ่อย นายจ้างเลิกจ้างได้ไหม
พนักงานลาป่วยบ่อย นายจ้างสามารถเลิกจ้างได้ หากการลาป่วยนั้นทำให้นายจ้างเสียหายหรือกระทบต่อประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงาน และนายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชยให้กับพนักงานตามที่กฎหมายแรงงานกำหนด