ไขข้อข้องใจสำหรับลูกจ้างและนายจ้าง เกี่ยวกับสิทธิการลาป่วยของลูกจ้าง หากลูกจ้างประสบอุบัติเหตุ และลาป่วยเกิน 30 วัน นายจ้างเลิกจ้างได้หรือไม่? บทความนี้มีคำตอบ
อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม
- Q&A ลาตรวจครรภ์ ใช้ลาป่วยได้ไหม?
- ลาป่วย 20 ข้อ ที่พนักงานควรรู้!
- Q&A พนักงานลาป่วยบ่อย นายจ้างสามารถเลิกจ้างได้หรือไม่?
- ลาป่วยกี่วัน ต้องมีใบรับรองแพทย์ นายจ้างหักเงินได้ไหม?
Q: ลูกจ้างประสบอุบัติเหตุ ลาป่วยเกิน 30 วัน เลิกจ้างได้ไหม?
ตอบทุกข้อสงสัยของทั้งลูกจ้างและนายจ้าง เกี่ยวกับการลาป่วยเกิน 30 วันของลูกจ้าง หากลูกจ้างประสบอุบัติเหตุ และต้องลาป่วยเกิน 30 วัน นายจ้างจะสามารถเลิกจ้างได้หรือไม่?
A: ในกรณีที่ลูกจ้างประสบอุบัติเหตุ และลาป่วยเกิน 30 วัน นายจ้างไม่สามารถเลิกจ้างได้
กฎหมายคุ้มครองแรงงาน กำหนดให้ลูกจ้างมีสิทธิลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง ตามมาตรา 32 และมีสิทธิได้รับค่าจ้างตลอดเวลาที่ลาป่วย โดยทั่วไปต้องไม่เกิน 30 วันทำงาน ตามมาตรา 57
การเจ็บป่วยจากอุบัติเหตุ ถือเป็นเหตุสุดวิสัยที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของลูกจ้าง นายจ้างจึงไม่สามารถนำมาเป็นเหตุผลในการเลิกจ้างลูกจ้างได้
Q: ลูกจ้างลาป่วยเกิน 30 วัน จะได้รับค่าจ้างหรือไม่?
A: หากลูกจ้างลาป่วยเกิน 30 วัน จะไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันที่ลาป่วยเกิน 30 วันนั้น
ในกรณีที่ลูกจ้างประสบอุบัติเหตุ และลาป่วยเกิน 30 วัน จะไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันที่ลาป่วยเกิน 30 วัน รวมถึงลูกจ้างย่อมไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุดประจำสัปดาห์และวันหยุดตามประเพณีภายหลังจากวันลาป่วยพ้นระยะเวลา 30 วันทำงานดังกล่าวด้วย
สรุป Q&A ลูกจ้างประสบอุบัติเหตุ ลาป่วยเกิน 30 วัน เลิกจ้างได้ไหม?
โดยสรุปแล้ว กรณีที่ลูกจ้างประสบอุบัติเหตุ ลาป่วยเกิน 30 วัน นายจ้างไม่สามารถเลิกจ้างได้ โดยในช่วง 30 วันแรกนายจ้างยังคงต้องจ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้างตามกฎหมาย หลังจากนั้นลูกจ้างก็ยังมีสิทธิลาป่วยอยู่ เพียงแต่ลูกจ้างจะไม่ได้รับค่าจ้างในวันเวลาดังกล่าว