ไขข้อสงสัย เมื่อพนักงานรักษาความปลอดภัย (รปภ.) ทำงานเกิน 8 ชั่วโมง มีสิทธิได้รับโอทีหรือไม่ หากมาทำงานในวันหยุดต้องได้รับค่าจ้างอย่างไร มาหาคำตอบได้ในบทความนี้
อ่านบทความที่คุณอาจสนใจเพิ่มเติม:
- HR ควรรู้! ตามกฎหมายแรงงาน ห้ามบังคับลูกจ้างทำโอที
- Q&A ทำงานล่วงเวลา แต่ไม่ได้โอที ผิดกฎหมายแรงงานไหม?
- Q&A ลูกจ้างต้องได้พักก่อนเริ่มทำโอที 20 นาที ใช่หรือไม่?
- โอที 1.5 คืออะไร และมีวิธีการคำนวณโอที 1.5 อย่างไร?
Q: รปภ. มีสิทธิได้รับค่าโอที (OT) หรือไม่?
พนักงานรักษาความปลอดภัย (รปภ.) หรือนายจ้างอาจกำลังเกิดความสงสัยว่า “รปภ. มีสิทธิได้รับค่าโอทีหรือไม่?”
A: ไม่มีสิทธิได้รับโอที
ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน มาตรา 65 (9) กฎกระทรวง กำหนดให้งานที่ลูกจ้างไม่มีสิทธิได้รับโอที (ค่าล่วงเวลา) และโอทีค่าล่วงเวลาวันหยุด พ.ศ. 2522 ข้อ 2 ได้กำหนดให้งานลูกจ้างที่ไม่ได้ค่าโอที แต่มีสิทธิได้รับค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำ ได้แก่ "งานเฝ้าดูแลสถานที่หรือทรัพย์สินอันเป็นหน้าที่การงานปกติของลูกจ้าง" โดยพนักงานรักษาความปลอดภัยหรือ รปภ. ถือเป็นลูกจ้างที่ทำหน้าที่ดูแลสถานที่หรือทรัพย์สินอันเป็นหน้าที่การงานปกติของลูกจ้างดังกล่าว ดังนั้น รปภ. จึงไม่มีสิทธิได้รับโอทีหรือค่าล่วงเวลานั่นเอง
หมายเหตุ รปภ. มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนเป็นเงินเท่ากับอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงาน ตามจำนวนชั่วโมงที่ทำ
Q: รปภ. ทำงานในวันหยุด นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างอย่างไร?
A: จ่ายค่าทำงานในวันหยุด 2 เท่า ตลอดระยะเวลาการทำงานในวันหยุด
เมื่อ รปภ. ทำงานในวันหยุด นายจ้างจะต้องทำการจ่ายค่าทำงานในวันหยุดให้กับ รปภ. เป็น 2 เท่า ตลอดระยะเวลาการทำงานในวันหยุด ซึ่งตามมาตรา 62 กล่าวว่า “การทำงานในวันหยุด ไม่ใช่การทำงานล่วงเวลาหรือการทำโอที ที่ได้รับการยกเว้นตามกฎกระทรวง ที่ออกโดยอาศัยอำนาจ ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน 2541 มาตรา 65 (9) นายจ้างต้องจ่ายค่าทำงานในวันหยุด 2 เท่า ตลอดระยะเวลาการทำงานในวันหยุด"
สรุปพนักงานรักษาความปลอดภัย (รปภ.) มีสิทธิได้โอทีไหม?
กล่าวโดยสรุปคือ รปภ. นั้นไม่มีสิทธิได้รับโอทีล่วงเวลาทำงาน และค่าโอทีล่วงเวลาในวันหยุด แต่มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนเป็นเงินเท่ากับอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงาน ตามจำนวนชั่วโมงที่ทำแทนนั่นเอง
โปรแกรมเงินเดือน HumanSoft เป็นโปรแกรมที่สามารถช่วยบริหารจัดการกะการทำงานให้กับพนักงานรักษาความปลอดภัย (รปภ.) ได้ง่าย ๆ อีกทั้งยังสามารถกำหนดค่าตอบแทนได้อย่างยืดหยุ่น ช่วยให้ HR หรือนายจ้างสามารถคำนวณค่าตอบแทนให้กับ รปภ. ได้ง่ายขึ้น สามารถทดลองใช้งานฟรี 30 วันได้เลย