เปรียบเทียบความต่างระหว่าง “พ้นสภาพ” กับ “ลาออก” ของพนักงานมีความต่างกันอย่างไร? HR สามารถมาหาคำตอบได้ในบทความนี้เลย
อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม:
- เมื่อลูกจ้าง"ลาออก" โดยไม่แจ้งล่วงหน้า จะเป็นอะไรไหม?
- สาเหตุการลาออกของพนักงานที่หัวหน้าทีมและ HR ต้องทำความเข้าใจ
- Q&A พนักงานลาป่วยบ่อย นายจ้างสามารถเลิกจ้างได้หรือไม่?
- Q&A เลิกจ้างพนักงาน ต้องจ่ายเงินชดเชยเท่าไร? ตามกฎหมายแรงงาน
“พ้นสภาพ” กับ “ลาออก” ของพนักงาน
แต่ละองค์กรล้วนมีการเปลี่ยนแปลง หมุนเวียนพนักงานมาทำงานอยู่เสมอ พนักงานใหม่เข้า พนักงานเก่าออกล้วนเป็นวัฏจักรของการทำงาน เมื่อทำงานสักระยะเชื่อว่าคงไม่มีใครไม่รู้จักกับคำว่า “พ้นสภาพจากงาน” และ “การลาออก” ของพนักงาน ซึ่งเป็นคำที่มีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงทั้งในเรื่องของกระบวนการและผลลัพธ์ โดยบทความนี้เราจะมาเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่าง “พ้นสภาพ” กับ “ลาออก” ว่ามีความต่างกันอย่างไร?
พ้นสภาพการเป็นพนักงานเป็นอย่างไร
พ้นสภาพการเป็นพนักงาน กระบวนการที่อาจเกิดขึ้นได้ในช่วงชีวิตของการทำงาน โดยพ้นสภาพการเป็นพนักงาน คือ การสิ้นสุดการเป็นพนักงานขององค์กรนั้น ๆ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายกรณีทั้ง เกษียณอายุ ลาออก เลิกจ้าง และเสียชีวิต เป็นต้น
Tips อ่านบทความเพิ่มเติม >> การพ้นสภาพการเป็นพนักงานและการจ่ายค่าชดเชย มีเงื่อนไขใดบ้าง
ลาออกเป็นอย่างไร
การลาออกจากงานเป็นเรื่องที่หลาย ๆ ท่านคุ้นเคย เคยเห็นคนรอบตัวลาออก หรืออาจเคยมีประสบการณ์ลาออกจากงานกันมาบ้าง ซึ่งการลาออกนั้นเกิดจากความสมัครใจของพนักงานไม่ว่าจะทั้งวาจาหรือกรณีที่มีการยื่นใบลาออกที่เป็นลายลักษณ์อักษร โดยปกติแล้วพนักงานที่ลาออกจะไม่ได้รับเงินชดเชยการทำงาน
เปรียบเทียบความต่างของ “พ้นสภาพ” กับ “ลาออก” ต่างกันอย่างไร
หากจะพูดถึงความต่างระหว่างการ “พ้นสภาพ” และ “ลาออก” ของพนักงานนั้นเรียกได้ว่ามีความแตกต่างกันอย่างมากทั้งในเรื่องของสาเหตุ ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น และค่าชดเชย โดย “พ้นสภาพ” และ “ลาออก” ต่างกันดังนี้
พ้นสภาพการเป็นพนักงาน
- สาเหตุ: สาเหตุของพ้นสภาพนั้น เกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น เลิกจ้าง ไล่ออก ลาออก ละเลยในหน้าที่ เกษียณอายุ และเสียชีวิต เป็นต้น
- ผลลัพธ์: ผลลัพธ์ของการพ้นสภาพ อาจส่งผลในเรื่องความน่าเชื่อถือในตลาดแรงงานของพนักงานในกรณีที่เหตุผลในการพ้นสภาพการเกิดจากการกระทำผิดร้ายแรงตามที่บริษัทกำหนด
- ค่าชดเชย: การพ้นสภาพในบางกรณีพนักงานมีสิทธิได้รับเงินชดเชยตามที่กฎหมายกำหนด โดยมักจะเกิดจากการเลิกจ้างโดยไม่เกี่ยวกับการกระทำผิดของพนักงาน เช่น กรณีที่เลิกจ้างเพราะปรับโครงสร้างองค์กร เป็นต้น
ลาออกจากการเป็นพนักงานในองค์กร
- สาเหตุ: สาเหตุของการลาออกนั้น เกิดจากการตัดสินใจของพนักงาน และความประสงค์ที่ต้องการลาออก เนื่องจากต้องการเปลี่ยนงาน ศึกษาต่อ หรือโอกาสทางการทำงานที่ดีกว่า เป็นต้น
- ผลลัพธ์: ผลลัพธ์ของการลาออกคือการสิ้นสุดการเป็นพนักงานขององค์กรนั้น ๆ ดังนั้น และไม่มีผลกระทบต่อตลาดแรงงาน ทั้งนี้ การลาออกควรเคลียร์งานที่ค้างให้เสร็จสิ้นและส่งต่องานอย่างมืออาชีพ เพื่อไม่ให้กระทบต่อการดำเนินการขององค์กร
- ค่าชดเชย: การลาออกพนักงานจะไม่ได้รับเงินชดเชยจากองค์กร
สรุป “พ้นสภาพ” กับ “ลาออก” ของพนักงานต่างกันอย่างไร?
ความแตกต่างระหว่างการพ้นสภาพและการลาออกอยู่ที่ในการตัดสินใจ โดยการพ้นสภาพอาจเกิดขึ้นโดยไม่ได้เป็นตามความประสงค์ของพนักงาน ในขณะที่การลาออกเป็นการตัดสินใจของพนักงานเองในการสิ้นสุดความเป็นพนักงานในองค์กรนั้น ๆ