PageView Facebook
date_range 20/10/2023 visibility 71018 views
bookmark HR Knowledge
HR ควรรู้! กฎระเบียบบริษัท ข้อบังคับการทำงาน ตามกฎหมายแรงงาน - blog image preview
Blog >HR ควรรู้! กฎระเบียบบริษัท ข้อบังคับการทำงาน ตามกฎหมายแรงงาน

การจัดทำกฎระเบียบบริษัทหรือข้อบังคับการทำงานเป็นสิ่งที่นายจ้างและ HR ควรต้องรู้และจัดทำ เพื่อสร้างความเป็นระเบียบในการทำงานร่วมกันระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง


อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม:


ความสำคัญของกฎระเบียบบริษัท ข้อบังคับการทำงาน

“กฎระเบียบบริษัท” หรือ "ข้อบังคับการทำงาน" สิ่งสำคัญสำหรับทั้งนายจ้างและพนักงาน เป็นเครื่องมือที่ช่วยระบุกฎระเบียบและนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการทำงานในองค์กร โดยมีวัตถุประสงค์ในการสร้างความเข้าใจและเป็นแนวทางการปฏิบัติในการทำงานร่วมกันในบริษัทระหว่างนายจ้างและพนักงาน ที่จะช่วยป้องกันความขัดแย้งและความสับสนเรื่องของการทำงานในอนาคต


อธิบายง่าย ๆ ก็คือ “กฎระเบียบบริษัท” หรือ "ข้อบังคับการทำงาน" ก็เปรียบเสมือนเป็นข้อตกลงในการทำงานภายในบริษัทนั่นเอง ซึ่งในกฎระเบียบบริษัทก็จะมีรายละเอียดของเรื่องวันทำงาน วันหยุด วันลา ค่าจ้าง การร้องทุกข์ และอื่น ๆ ตามที่กฎหมายกำหนด


กฎระเบียบบริษัท ข้อบังคับการทำงาน ควรจัดทำเมื่อไหร่?



พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ตามมาตรา 108 กำหนดให้นายจ้างซึ่งมีลูกจ้างรวมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป จัดให้มีข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเป็นภาษาไทย โดยนายจ้างจะต้องทำการจัดทำกฎระเบียบบริษัท ข้อบังคับการทำงานภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่นายจ้างมีลูกจ้างรวมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป

 

และให้นายจ้างหรือ HR จัดเก็บสําเนาข้อบังคับนั้นไว้ ณ สถานประกอบกิจการ หรือสํานักงานของนายจ้างตลอดเวลา โดยนายจ้างจะต้องทำการเผยแพร่และปิดประกาศข้อบังคับเกี่ยวกับการทํางานโดยเปิดเผย ณ สถานที่ทํางานของลูกจ้าง เพื่อให้ลูกจ้างได้ทราบและดูได้โดยสะดวก


กฎระเบียบบริษัท ข้อบังคับการทำงาน ที่ควรเขียนและไม่ควรเขียน

การเขียนกฎระเบียบบริษัทและข้อบังคับการทำงานเป็นขั้นตอนสำคัญในการดำเนินกิจการภายในบริษัทหรือองค์กร ซึ่งมีทั้งสิ่งที่ควรเขียนและไม่ควรเขียนลงไปในข้อบังคับการทำงาน โดยมีรายละเอียดดังนี้


กฎระเบียบบริษัท ข้อบังคับการทำงาน ที่ “ควรเขียน”



กฎระเบียบบริษัทและข้อบังคับการทำงานตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 108 ได้ประกาศในส่วนของรายละเอียดเกี่ยวกับข้อบังคับการทำงาน โดยมีทั้งหมด 8 รายการที่ต้องเขียนให้ครบดังนี้

  1. วันทำงาน เวลาทำงานปกติ เวลาพัก
  2. วันหยุดและหลักเกณฑ์การหยุด
  3. หลักเกณฑ์การทำงานล่วงเวลา การทำงานวันหยุด และการทำงานล่วงเวลาในวันหยุด
  4. วันและสถานที่จ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลาต่าง ๆ
  5. วันลาและหลักเกณฑ์การลา
  6. วินัยและโทษทางวินัย
  7. การร้องทุกข์
  8. การเลิกจ้าง การจ่ายค่าชดเชย และค่าชดเชยพิเศษ

กฎระเบียบบริษัท ข้อบังคับการทำงาน ที่ “ไม่ควรเขียน”

พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 108 ไม่ได้ระบุรายการที่ห้ามเขียน แต่ ควรเขียนกฎระเบียบบริษัทหรือข้อบังคับการทำงานให้อยู่ภายที่กฎหมายแรงงานกำหนดไว้เพื่อไม่ให้มีข้อโต้แย้งหรือความขัดแย้งตามมา นอกจากนี้ควรเขียนรายละเอียดต่าง ๆ ให้เพียงพอ เข้าใจได้ง่าย เพื่อให้ทุกฝ่ายเกิดความเข้าใจที่ตรงกัน และสามารถปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง


มีการแก้ไขกฎระเบียบบริษัท ข้อบังคับการทำงานต้องดำเนินการอะไรบ้าง

กรณีที่นายจ้างหรือ HR มีการแก้ไขในส่วนของกฎระเบียบบริษัท ข้อบังคับการทำงานเพิ่มเติม ให้นายจ้างทำการประกาศข้อบังคับที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมนั้นภายใน 7 วัน นับตั้งแต่วันที่ประกาศใช้ข้อบังคับที่แก้ไขเพิ่มเติม แต่ไม่ต้องส่งสำเนาข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานให้แก่อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย


สรุปกฎระเบียบบริษัท ข้อบังคับการทำงาน ตามกฎหมายแรงงาน

กฎระเบียบบริษัทและข้อบังคับการทำงานเรียกได้ว่าเป็นเอกสารทางกฎหมายที่สำคัญที่ช่วยสร้างความเข้าใจและการร่วมมือระหว่างลูกจ้างและนายจ้างในการทำงานร่วมกัน อีกทั้งยังช่วยป้องกันความขัดแย้งและความสับสนในอนาคต ทั้งนี้ข้อตกลงควรถูกเขียนอย่างชัดเจนและเปิดเผยให้ทราบทั้งสองฝ่ายเพื่อให้มีความถูกต้องทางกฎหมาย และความเข้าใจที่ตรงกัน


hms-helpful-shadow svg fileโปรแกรมเงินเดือน HumanSoft
ทดลองใช้ฟรี 30 วันครบทุกฟังก์ชัน
  • บริการขึ้นระบบ ฟรี
  • ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น
  • ยกเลิกเมื่อไหร่ก็ได้