PageView Facebook
date_range 10/01/2024 visibility 779 views
bookmark HR Knowledge
HR เตรียมรับมือกับ Quiet Quitting - blog image preview
Blog >HR เตรียมรับมือกับ Quiet Quitting

เมื่อพนักงานทำงานหนักจนเกิดภาวะเครียด ทำให้เกิดปรากฏการณ์ Quiet Quitting กายยังไหว แต่ใจลาออก HR จะมีวิธีรับมือและแก้ไขปัญหานี้อย่างไร ติดตามได้ในบทความนี้เลย


อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม


“Quiet Quitting” คืออะไร ?



Quiet Quitting เป็นปรากฏการณ์ที่คนรุ่นใหม่ไม่เชื่อว่า “วัฒนธรรมการทำงานหนักแล้วจะได้ดี”

ถึงแม้คำศัพท์ที่ใช้เรียกจะดูเหมือนการ “ลาออก” แต่แท้จริงแล้วมันคือ “ภาวะหมดไฟขั้นสุด” พนักงานเบื่อหน่าย ละทิ้งความคิดที่จะทำงานให้ดีที่สุด มีประสิทธิภาพที่สุด เหลือเพียงความคิดที่ว่า ทำให้ตัวเองพอจะรอดไปได้อย่างราบรื่นก็เพียงพอ

 

ในปัจจุบัน พนักงานทำงานหนัก ต้องแบกรับความกดดัน ทำงานต้องได้ผลลัพธ์ที่ดี แต่ก็ไม่ได้ถูกชื่นชม และได้รับการสนใจจากนายจ้างเท่าที่ควร รวมถึงยังมีปัญหาอื่น ๆ เช่น ค่าแรงที่น้อยเกินไป เวลาพักผ่อนที่หายไป หรือภาระงานที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ทำให้สุขภาพจิตและสุขภาพร่างกายของพวกเขาแย่ลง แต่ด้วยบริบทโลกในปัจจุบัน ทำให้พวกเขาไม่สามารถลาออกได้ตามที่ต้องการ ทำให้พวกเขาจึงเลือกที่จะ “ลาออกทางใจ” แทนที่จะลาออกทางกาย


ลาออกทางใจ คืออะไร ?



คือ การที่พนักงาน ทำงานเฉพาะหน้าที่ของตนเองที่กำหนดไว้ใน Job Description เท่านั้น โดยไม่มีแรงจูงใจในการทำงานหน้าที่อื่น ๆ ที่เพิ่มขึ้นหรืออยู่นอกเวลางาน อธิบายง่าย ๆ คือการทำงานให้เสร็จไปวันต่อวัน ไม่ได้มีความคิดว่าต้องทำงานให้มีสิทธิภาพตามเป้าหมาย


รู้จักกับ “Quiet Firing” การไล่ออกทางอ้อม


เป็นการกดดันให้พนักงานลาออกจากงาน โดยนายจ้างจะใช้วิธีการที่หลากหลายรูปแบบ ทำให้พนักงานรู้สึกไม่ดีต่อการทำงานมากขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อบีบให้พนักงานตัดสินใจยื่นใบลาออกด้วยตนเอง จะได้ไม่ต้องจ่ายเงินชดเชย มีรายละเอียดดังนี้



มอบหมายแต่งานง่าย ๆ ให้ทำ

การที่หัวหน้างานมอบหมายแต่งานง่าย ๆ ให้ทำ อาจะดูเหมือนเป็นข้อดี แต่จริง ๆ แล้ว คือการที่พนักงานไม่ได้มีการพัฒนาฝีมือ อาจทำให้พนักงานรู้สึกว่า หากอยู่องค์กรนี้ต่อไปก็จะไม่ได้พัฒนาศักยภาพของตน และเกิดความคิดลาออกขึ้นได้

 

มอบหมายแต่งานยาก ๆ ให้ทำ

ตรงกันข้ามกับข้อแรก แต่มีความกดดันที่เพิ่มขึ้น การที่หัวหน้างานมอบหมายแต่งานที่ยากให้พนักงานทำ อาจทำให้พนักงานรู้สึกหมดไฟ ไร้ค่า ไร้ความสามารถ ไม่อยากอยู่ที่นี่ต่อ และตัดสินใจลาออกไปในที่สุด

 

สั่งย้ายสายงาน

ใกล้เคียงกับวิธีที่สอง แต่อาจจะไม่ใช่การกดดันให้ลาออกเสมอไป องค์กรอาจเล็งเห็นแล้วว่า พนักงานมีความสามารถ มีศักยภาพที่สามารถทำให้งานประสบความสำเร็จได้ แต่ทางกลับกัน พนักงานอาจจะมองว่าองค์กรกำลังบีบให้ตนลาออกจากงานโดยการมอบหมายงานที่ยากให้ เมื่อต้องย้ายสายงานจริง พนักงานอยู่ได้ไม่นาน และตัดสินใจลาออกไปเอง

 

ไม่เลื่อนขั้น ไม่ขึ้นเงินเดือน

พนักงานทุกคนย่อมมีความคิดว่าจะได้เติบโตในสายงานที่ทำอยู่ในองค์กรนั้น ๆ แต่หากทำงานไปหลายปีแล้ว กลับไม่เคยได้เลื่อนตำแหน่ง หรือแม้แต่ได้เงินเดือนเพิ่มขึ้น เป็นไปได้สูงว่า บริษัทอาจไม่ได้มองเห็นคุณค่าและความสามารถของพนักงานเท่าที่ควร จนพนักงานรู้สึกไร้คุณค่า และทำงานแบบเช้าชามเย็นชามด้วยความคิดว่า ทำงานมากไปก็ไม่ได้เงินเพิ่ม หรือตัดสินใจลาออกจากงานไปเอง


โดนทิ้งให้มืดแปดด้าน

เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อย และอาจพบเห็นได้ง่าย เวลาองค์กรปล่อยให้พนักงานอยู่ท่ามกลางความมืด ไม่รับรู้เรื่องราวที่เป็นประโยชน์ต่อตัวเอง เช่นไม่ให้เข้าประชุมสำคัญ เวลามีกิจกรรมรวมกลุ่มกันของคนในองค์กร หรือเชิญไปร่วมงานด้วย รวมไปถึงการที่ผู้คนเลือกจะหนีหน้าเวลาเจอตัว จะทำให้รู้สึกโดดเดี่ยว ไร้คุณค่า และสุดท้ายตัดสินใจลาออกไปเอง


HR ควรรู้ วิธีรับมือ Quiet Quitting



หาก HR กำลังเผชิญกับพนักงานที่เกิดอาการ Quiet Quitting HR จะมีวิธีรับมือกับอาการนี้อย่างไรบ้าง ไปดูกันเลย


จัดการปริมาณงานให้เหมาะสมและเท่าเทียม

ควรวางระบบในการทำงานให้ชัดเจน ทำให้ทุกคนในทีมได้งานในปริมาณที่สมเหตุสมผล ไม่ต้องมาทำงานนอกเวลางาน ไม่รบกวนวันหยุดพักผ่อน ทุกคนควรได้งานเท่าเทียมกัน ไม่ควรมีใครต้องทำงานเยอะอยู่คนเดียว

 

ให้รางวัลเมื่อพนักงานทำงานได้ดี

เป็นการสร้างกำลังใจให้กับทีม สิ่งแรกที่ควรทำคือการพูดชื่นชมอย่างเต็มใจ เพื่อให้พนักงานเห็นถึงคุณค่าในสิ่งที่ทำ ช่วยให้ทีมมีผลงานที่มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง และส่งผลต่อการเติบโตขององค์กรอีกด้วย

 

การเพิ่มค่าตอบแทน

การปรับเงินเดือน และการออกโบนัส เป็นสิ่งที่พนักงานรอคอยกันมากที่สุด เมื่อพนักงานทำงานหนักมาตลอดทั้งปี การได้โบนัสถือเป็นสิ่งตอบแทนที่คุ้มค่า อีกทั้งสิ่งที่องค์กรสามารถตอบแทนพนักงานได้อีกคือ การเลื่อนตำแหน่งให้กับผู้ที่มีศักยภาพ มีคุณสมบัติพร้อมที่จะเลื่อนตำแหน่ง เพื่อให้พนักงานได้มีโอกาสเติบโตในหน้าที่การงาน

 

รับฟังปัญหา และฟังความคิดเห็น

เมื่อการทำงานเกิดปัญหา หัวหน้าควรรับฟัง ให้คำปรึกษาและเข้ามาช่วยแก้ไข อย่าปล่อยให้มีปัญหาค้างคาต่อไปเรื่อย ๆ จนพนักงานไม่อยากทำงาน เกิดความรู้สึกท้อแท้ เกิดความเครียด หรือ เกิดภาวะหมดไฟในการทำงาน


สรุป วิธีการรับมือ Quiet Quitting


Quiet Quitting  เป็นอาการของพนักงานที่หมดกำลังใจในการทำงาน หมดไฟในการทำงาน ไม่มีความกระตือรือร้นในการทำงาน ทำงานให้เสร็จไปวันต่อวัน ถึงแม้ Quiet Quitting จะไม่ได้ทำให้องค์กรเสียพนักงานไปในเชิงปริมาณ แต่ในเชิงคุณภาพการทำงานและผลลัพธ์ที่ออกมาจากตัวพนักงานนั้นลดลงอย่างมาก ดังนั้น HR และ องค์กร ควรเปิดโอกาสให้พนักงานได้พูดถึงปัญหาที่เกิดขึ้น รับฟังและร่วมกันแก้ไขปัญหา เพื่อทำให้พนักงานมีความสุขกับการทำงานอยู่เสมอ





โปรแกรมเงินเดือน HumanSoft
ทดลองใช้ฟรี 30 วันครบทุกฟังก์ชัน
  • บริการขึ้นระบบ ฟรี
  • ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น
  • ยกเลิกเมื่อไหร่ก็ได้