PageView Facebook
date_range 15/08/2022 visibility 2464 views
bookmark HR Trend
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพคืออะไร? ทำไมองค์กรยุคใหม่ควรมี - blog image preview
Blog >กองทุนสำรองเลี้ยงชีพคืออะไร? ทำไมองค์กรยุคใหม่ควรมี

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพคืออะไร และทำไมองค์กรยุคใหม่จึงควรมี มาหาคำตอบในบทความนี้กัน


บทความเกี่ยวข้องที่คุณอาจสนใจ :




กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund – PVD) คืออะไร


กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund – PVD) คือ หนึ่งในเครื่องมือทางการเงินที่ “ช่วยบังคับให้ลูกจ้างลงทุน” เพื่อให้มีเงินใช้จ่ายตอนเกษียณอายุ และถือว่าเป็น “สวัสดิการ” ส่วนหนึ่งที่นายจ้างมีให้แก่ลูกจ้าง โดยเงินลงทุนจะได้มาจาก 2 แหล่ง คือ


  1. ลูกจ้าง (พนักงาน) ซึ่งจะหักจากค่าจ้างหรือเงินเดือน มาเป็น “เงินสะสม”
  2. นายจ้าง ซึ่งจะจ่ายสมทบให้พนักงาน นอกเหนือจากค่าจ้าง เรียกว่า “เงินสมทบ”

ตามกฎหมายแล้ว ขั้นต่ำของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD) ที่พนักงานต้องลงคือ 2% ของเงินเดือน ซึ่งแต่ละองค์กรอาจกำหนดขั้นต่ำแตกต่างกันไปตามนโยบายของแต่ละที่ นอกจากนี้ ยังมีเรื่อง “เพดานเงินสะสม” และ “นโยบายเงินสมทบ” ที่แต่ละองค์กรอาจกำหนดไว้ต่างกัน เช่น สามารถให้ลูกจ้างเลือกลงเท่าไหร่ก็ได้ตามต้องการ แต่ขั้นต่ำ 5% และไม่เกิน 15% ส่วนนายจ้างจะสมทบให้สูงสุดที่ 9% เป็นต้น

หลังจากนั้น องค์กรจะนำเงินสองก้อนนี้ไปลงทุนในกองทุนรวม ตามแผนการลงทุนที่ลูกจ้างเลือก ไม่ว่าจะเป็นกองทุนรวมหุ้น ทรัพย์สินทางเลือก ตราสารหนี้ แล้วแต่ว่าบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ที่องค์กรของเราใช้บริการอยู่มีกองไหนให้เลือกบ้าง และ HR ของเราไปคัดนโยบายไหนจากกองเหล่านั้นมาให้เลือก



ทำไมองค์กรยุคใหม่ควรมีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund – PVD) บนโปรแกรม HR

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund – PVD) เป็นหนึ่งในสวัสดิการที่ลูกจ้างยุคใหม่มักใช้เป็นปัจจัยในการตัดสินใจเข้าร่วมงาน สวัสดิการนี้จึงเป็นที่นิยมในหลายองค์กร และในขณะที่สวัสดิการนี้สามารถดึงดูดลูกจ้างยุคใหม่เข้าทำงานได้เป็นอย่างดีนั้น ทำให้ฝ่าย HR ก็มีขั้นตอนการทำงานที่เพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน โปรแกรม HR ที่มีฟังก์ชันรองรับการบริหารจัดการกองทุนได้ด้วย จึงเป็นโปรแกรม HR ที่ตอบโจทย์การบริหารงานขององค์กรยุคใหม่เป็นอย่างยิ่ง โดยฟังก์ชันการจัดการกองทุนจากโปรแกรม HR นั้น มีประโยชน์ ดังนี้


1. ลดขั้นตอนการทำงาน

หากองค์กรมีสวัสดิการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund – PVD) แล้วนั้น แน่นอนว่า HR ต้องมีขั้นตอนการทำงานที่เพิ่มมากขึ้นด้วย ในด้านการบริหารจัดการกองทุน ซึ่งโปรแกรม HR ที่มีฟังก์ชันรองรับการจัดการกองทุนนั้น จะสามารถลดขั้นตอนการทำงานของ HR ในส่วนนี้ไปได้อย่างมาก


2. ประหยัดเวลาและต้นทุน

เมื่อโปรแกรม HR สามารถลดขั้นตอนการบริหารจัดการกองทุนได้ ก็จะสามารถ ประหยัดเวลาในการทำงานของ HR และสามารถประหยัดต้นทุนในด้านการจ้างเจ้าหน้าที่ HR ได้อีกด้วย


3. ข้อมูลถูกต้องแม่นยำ

โปรแกรม HR ที่มีฟังก์ชันสำหรับการจัดการกองทุนนั้น เป็นระบบการจัดการกองทุนที่สามารถตั้งค่าการคำนวณแบบอัตโนมัติ ระบบหักจากเงินเดือนอัตโนมัติ มีการเก็บข้อมูลผ่านระบบคลาวด์ สามารถเรียกดูข้อมูลและแก้ไขข้อมูลได้ทุกที่ทุกเวลา ทำให้ข้อมูลที่ได้นั้น มีความถูกต้องแม่นยำเป็นอย่างมาก อีกทั้งข้อมูลยังมีความปลอดภัยสูงอีกด้วย


4. โอกาสผิดพลาดน้อย

ฟังก์ชันการจัดการกองทุนจากโปรแกรม HR ที่สามารถคำนวณทั้งเงินสะสมและเงินสมทบพร้อมทั้งระบบหักจากเงินเดือนแบบอัตโนมัติ ทำให้โอกาสในการคำนวณผิดพลาดนั้น มีน้อยมาก อีกทั้งยังสามารถเรียกดูและแก้ไขข้อมูลได้ทุกที่ทุกเวลาอีกด้วย



สรุปกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund – PVD) บนโปรแกรม HR สำคัญอย่างไร


กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund – PVD) สวัสดิการที่น่าสนใจสำหรับองค์กรในยุคใหม่นั้น เมื่อองค์กรนำสวัสดิการนี้มาใช้แล้ว ภาระงานของฝ่าย HR จะเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก เพราะต้องคำนวณทั้งเงินสะสมของพนักงานและเงินสมทบจากองค์กร และนำมาหักออกจากเงินเดือน ยิ่งเป็นองค์กรที่มีจำนวนพนักงานมาก ความยุ่งยากยิ่งเพิ่มมากขึ้นอีก เพราะข้อมูลหลายๆ อย่างของพนักงานที่จะต้องนำมาคำนวณนั้น มีความแตกต่างกันทั้งหมด ทำให้ฝ่าย HR ต้องใช้พลังงานและเวลาในการบริหารจัดการในส่วนนี้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งโปรแกรม HR HumanSoft นั้น มีฟังก์ชันที่สามารถบริหารจัดการระบบกองทุนให้โดยอัตโนมัติ ไม่ว่าจะเป็นด้านการเก็บข้อมูล การคำนวณ และระบบหักจากเงินเดือนอัตโนมัติ ทำให้ลดขั้นตอนการทำงานของฝ่าย HR ไปได้มาก อีกทั้งยังประหยัดต้นทุน ลดเวลาการทำงาน ได้ข้อมูลที่ถูกต้องแม่นยำและมีโอกาสผิดพลาดที่น้อยลงอีกด้วย

ดังนั้น โปรแกรม HR HumanSoft ที่มีฟังก์ชันสำหรับบริหารจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund – PVD) จึงมีความสำคัญต่อองค์กรยุคใหม่เป็นอย่างยิ่ง


โปรแกรมเงินเดือน HumanSoft
ทดลองใช้ฟรี 30 วันครบทุกฟังก์ชัน
  • บริการขึ้นระบบ ฟรี
  • ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น
  • ยกเลิกเมื่อไหร่ก็ได้