ไขข้อสงสัยแก่ HR และชาวมนุษย์เงินเดือน กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident fund: PVD) คืออะไร? ลูกจ้างจะได้เงินกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ได้คืนเมื่อไหร่? มาหาคำตอบกันเลย
อ่านบทความที่คุณอาจสนใจเพิ่มเติม:
- รวมสิทธิประโยชน์จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเมื่อลาออกจากงาน
- Q&A กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เมื่อลูกจ้างลาออกต้องทำอย่างไร?
- Q&A ถาม-ตอบทุกข้อสงสัยกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
- กองทุนสำรองเลี้ยงชีพคืออะไร? ทำไมองค์กรยุคใหม่ควรมี
- Q&A เช็คยอดกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้อย่างไร?
Q: เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ คืออะไร?
A: กองทุนที่นายจ้างและลูกจ้างร่วมกันจัดตั้งขึ้นด้วยความสมัครใจ เพื่อให้ลูกจ้างมีเงินออมไว้ใช้ยามเกษียณ
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือที่รู้จักกันในชื่อภาษาอังกฤษว่า Provident fund (PVD) คือ กองทุนที่นายจ้างและลูกจ้างร่วมกันจัดตั้งขึ้นด้วยความสมัครใจ โดยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ลูกจ้างมีเงินออมไว้ใช้ยามเกษียณอายุ และถือว่าเป็นสวัสดิการหนึ่งที่นายจ้างมีให้แก่ลูกจ้าง ซึ่งเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพนั้นมาจาก 2 แหล่ง คือ ลูกจ้าง (สมาชิกกองทุน) และนายจ้าง ดังนี้
- เงินสะสม คือ เงินที่สมาชิกสะสมไว้ทุก ๆ ครั้งที่ได้รับค่าจ้าง โดยคาดหวังว่าจะเก็บไว้ใช้เมื่อออกจากงาน หรือเมื่อตอนที่เกษียณอายุอัตราเงินสะสมเริ่มตั้งแต่ 2%-15% ของค่าจ้าง
- เงินสมทบ คือ เงินที่นายจ้างสมทบเข้าไปในกองทุนพร้อม ๆ กับเงินสะสม โดยถือได้ว่าเป็นสวัสดิการประเภทหนึ่งที่นายจ้างผู้มองการณ์ไกลมอบให้พนักงานที่เป็นสมาชิกกองทุน เพื่อให้พนักงานมี เงินก้อนไว้ใช้เมื่อไม่ได้ทำงานกับนายจ้างแล้ว อัตราเงินสมทบเริ่มตั้งแต่ 2%-15% ของค่าจ้าง ผลประโยชน์ของเงินกองทุน เป็นส่วนสุดท้ายที่นับว่าเป็นส่วนที่สำคัญยิ่ง ซึ่งงอกเงยมาจากการบริหารกองทุนของบริษัทจัดการ
Tips! อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่: กองทุนสำรองเลี้ยงชีพคืออะไร ทำไมองค์กรยุคใหม่ควรมี
Q: เงินกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ได้คืนเมื่อไหร่?
A: เกษียณอายุ ลาออกจากกองทุน ลาออกจากงาน และเสียชีวิต
โดยทั่วไปแล้วลูกจ้างหรือพนักงาน (ผู้เป็นสมาชิกกองทุน) จะได้รับเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพก็ต่อเมื่ออออกจากงานตอนอายุครบ 55 ปี และเป็นสมาชิกกองทุนมาแล้ว 5 ปี แต่ก็มีเงื่อนไขการรับเงินคืนจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเพิ่มเติม โดยลูกจ้างสามารถได้รับเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพคืนในกรณีต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
เกษียณอายุครบ 55 ปี
ลูกจ้างที่เกษียณอายุจะได้รับเงินกองทุนทั้งหมด ทั้งในส่วนของเงินสะสม เงินสมทบ และผลประโยชน์จากการลงทุน
ลาออกจากกองทุน
หากลูกจ้างมีเหตุจำเป็นที่จะต้องลาออกจากกองทุนก่อนกำหนดแต่ยังคงทำงานอยู่ ผลประโยชน์ที่ได้รับจะขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของเงินสมทบและระยะเวลาการเป็นสมาชิกกองทุน ซึ่งมักเป็นแบบขั้นบันไดตามอายุงาน โดยเพื่อให้ได้รับเงินสมทบและผลประโยชน์เต็มจำนวน การเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้ครบ 5 ปีจึงเป็นทางเลือกที่ดีกว่าในระยะยาว
ลาออกจากงาน
กรณีที่ลาออกจากงานก่อนเกษียณอายุ จำนวนเงินที่ได้รับจะขึ้นอยู่กับเงื่อนไขการถอนเงินที่กำหนดไว้ในข้อบังคับกองทุน ซึ่งโดยทั่วไป นายจ้างมักกำหนดการให้เงินสมทบแบบขั้นบันไดตามอายุงานหรือระยะเวลาการเป็นสมาชิกกองทุน
สำหรับเงินที่ได้นั้น ลูกจ้างสามารถเลือกจัดการได้ตามความต้องการ เช่น โอนเงินไปยังกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของนายจ้างใหม่ คงเงินไว้ในกองทุนเดิมเพื่อรักษาสิทธิประโยชน์ทางภาษี และถอนเงินออกมาใช้ตามต้องการ เป็นต้น
Tips! อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่: รวมสิทธิประโยชน์จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเมื่อลาออกจากงาน
เสียชีวิตหรือทุพพลภาพ
ผู้จัดการกองทุนจะจ่ายเงินให้แก่ผู้รับผลประโยชน์ที่ระบุไว้ในหนังสือผู้รับประโยชน์ ทั้งนี้เงินสะสมและผลประโยชน์ของเงินสะสมที่ได้รับจะขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่กำหนดในข้อบังคับกองทุน
สรุป Q&A เงินกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ได้คืนเมื่อไหร่?
โดยสรุปแล้ว กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ คือ กองทุนที่นายจ้างและลูกจ้างร่วมกันจัดตั้งขึ้นด้วยความสมัครใจ เพื่อให้ลูกจ้างมีเงินออมไว้ใช้ยามเกษียณ โดยลูกจ้างสามารถได้รับเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพคืนในกรณีเกษียณอายุ ลาออกจากกองทุน ลาออกจากงาน และเสียชีวิตหรือทุพพลภาพ