เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ จะเพียงพอสำหรับชีวิตหลังเกษียณหรือไม่? คุณสามารถดูวิธีคิดเงินสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพอย่างง่ายๆ ได้ในบทความนี้
บทความเกี่ยวข้องที่คุณอาจสนใจ :
- Q&A เช็คยอดกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้อย่างไร?
- Q&A กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เมื่อลูกจ้างลาออกต้องทำอย่างไร?
- Q&A ถาม-ตอบทุกข้อสงสัยกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
- บริหารกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้ง่ายๆ ด้วยโปรแกรม HR
- กองทุนสำรองเลี้ยงชีพคืออะไร? ทำไมองค์กรยุคใหม่ควรมี
วิธีคิดเงินสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพอย่างง่ายๆ
แน่นอนว่า ผู้ที่สนใจลงทุนกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund – PVD) นั้น ย่อมต้องการเงินทุนสำรองสำหรับชีวิตหลังเกษียณ แต่หลายท่านก็ยังไม่รู้ว่าเงินที่ลงทุนไปนั้นจะได้เท่าไร เพียงพอสำหรับชีวิตหลังเกษียณของเราหรือไม่ ดังนั้น วิธีคิดเงินสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพอย่างง่ายๆ จึงเป็นตัวช่วยสำหรับการตัดสินใจในการวางแผนต่างๆ ในเรื่องนี้ โดยวิธีคิดเงินสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพนั่น เริ่มต้นง่ายๆ ดังนี้
ขั้นเตรียมข้อมูล
วิธีคิดเงินสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพอย่างง่ายๆ นั้นต้องใช้ข้อมูล 10 ข้อสำหรับการคำนวณ ซึ่งแบ่งเป็นข้อมูลในปัจจุบัน 8 ข้อ และข้อมูลที่ต้องสมมติขึ้นมาอีก 2 ข้อ ได้แก่
ข้อมูลในปัจจุบัน
1. อายุปัจจุบัน
2. อายุที่จะเกษียณ
3. เงินเดือนปัจจุบัน
4. อัตราเงินสะสม (อัตราที่เราส่งเงินเข้ากองทุน)
5. อัตราเงินสมทบ (อัตราที่นายจ้างสมทบเงินเข้ากองทุน)
6. เงินต้นงวดส่วนของสมาชิก
7. เงินต้นงวดส่วนของบริษัท
8. จำนวนเดือนที่เหลือของปีปัจจุบันที่จะเริ่มคำนวณ
โดยข้อมูลข้อ 4 และ ข้อ 5 นั้น หากไม่ทราบข้อมูล สามารถสอบถามกับ HR หรือฝ่ายบุคคลในบริษัท ซึ่งบางบริษัทจะมีอัตราเงินสะสมและอัตราเงินสมทบแบบอัตราคงที่ แต่บางบริษัทจะมีอัตราเงินสะสมและเงินสมทบแบบปรับเพิ่มขึ้นตามอายุงาน ดังเช่นในตัวย่างนี้
และข้อมูลข้อ 6. เงินต้นงวดส่วนของสมาชิก และข้อ 7.เงินต้นงวดส่วนของบริษัท คือยอดรวมของเงินสะสม และเงินสมทบที่ผ่าน (สำหรับบุคคลที่อยู่ในกองทุนแล้ว) โดยสามารถเช็คยอดกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้จาก Statement กองทุนสำรองเลี้ยงชีพของแต่ละท่าน ดังตัวอย่างนี้
ข้อมูลที่สมมติขึ้นมา
9. อัตราการขึ้นเงินเดือน
หากไม่ทราบอัตราการขึ้นเงินเดือนของบริษัท คุณสามารถสมมติอัตราการขึ้นเงินเดือนให้เท่ากับอัตราเงินเฟ้อ คือที่ 3% ต่อปี และเมื่อสมมติแล้วควรสังเกตในปีหลังๆ ว่าเงินเดือนจะสูงเกินไปหรือไม่ เพราะสิ่งที่ต้องคำนึงถึงในข้อนี้ คือเรื่องของเพดานเงินเดือนในบริษัท ว่าบริษัทมีเพดานเงินเดือนหรือไม่ และเท่าไร
10. สมมติฐานผลตอบแทนของการลงทุน
สามารถตรวจสอบได้ว่ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่เราลงทุนไป หรือที่เรากำลังจะลงทุนนั้น ไปลงทุนในสินทรัพย์ประเภทได สามารถดูผลตอบแทนย้อนหลังและคาดการณ์แนวโน้มในอนาคต หรือสามารถใช้ตัวเลขคาดการณ์ กรณีเลือกนโยบายการลงทุนเป็นตราสารหนี้เสียเป็นส่วนใหญ่จะประมาณ 2% ต่อปี หรือกรณีเลือกนโยบายการลงทุนเป็นหุ้นเสียเป็นส่วนใหญ่ 6% ต่อปี
ขั้นตอนการคำนวณ
การคำนวณนั้นจะใช้ข้อมูลตัวอย่างของพนักงานเอกชนแห่งหนึ่ง ดังนี้
- อายุปัจจุบัน 30 ปี
- อายุที่จะเกษียณ 60 ปี
- เงินเดือนปัจจุบัน 25,000 บาท
- อัตราเงินสะสม 3%
- อัตราเงินสมทบ 3%
- งินต้นงวดส่วนของสมาชิก 0 (ยังไม่เคยลงทุน)
- เงินต้นงวดส่วนของบริษัท 0 (ยังไม่เคยลงทุน)
- จำนวนเดือนที่เหลือของปีปัจจุบันที่จะเริ่มคำนวณ 2 เดือน
- อัตราการขึ้นเงินเดือน 3% เพดานเงินเดือนโดยประมาณ 50,000 บาท
- สมมติฐานผลตอบแทนการลงทุน 2%
จากนั้นนำข้อมูลทั้ง 10 ข้อที่เตรียมมานี้ ใส่ลงไปในไฟล์ Excel สำหรับการคำนวณมูลค่ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
โดยสามารถดาวน์โหลดไฟล์ Excel ได้ที่นี่ >> ไฟล์คำนวณมูลค่ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
จากไฟล์ Excel นั้น ส่วนประกอบสำคัญที่ต้องใช้งาน ดังนี้
- กรอกข้อมูลเข้าไปที่คอลัมน์ T (ช่องสีเหลือง)
- ส่วนที่จะใช้อ่านค่าว่า มูลค่ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพในแต่ละปีจะเป็นเท่าไร อยู่ที่คอลัมน์ M โดยจะขึ้นแถบสีส้มขึ้นให้อัตโนมัติ ในปีเกษียณอายุของคุณ
- ตรวจสอบเงินเดือนในคอลัมน์ D ว่าเงินเดือนที่นำมาคำนวณ หรืออัตราการขึ้นเงินเดือนนั้น สูงเกินไปหรือไม่ เกินเพดานเงินที่จะได้รับจริงหรือไม่
- คอลัมน์ P และ Q ที่เป็นอัตราเงินสะสมและสมทบแบบคงที่ หากบริษัทมีการปรับอัตราเงินสมทบขึ้นตามอายุการทำงาน สามารถเปลี่ยนแปลงโดยการแก้ไขตัวเลขของปีนั้นๆ ได้เลย
- อัตราผลตอบแทนการลงทุน มีผลต่อมูลค่ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพในวันเกษียณอายุเป็นอย่างมาก ดังนั้นจึงควรเลือกใช้ค่าที่ไม่สูงจนเกินไป โดยอาจขอคำปรึกษาจากนักวางแผนการเงิน หรือผู้ที่บริหารจัดการกองทุน
- กรณีมีแผนที่จะลาออก หรือเปลี่ยนงาน ต้องนำเงื่อนไขของการลาออกจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของแต่ละบริษัทมาพิจารณาด้วย เพราะเงินสมทบจากบางบริษัทจะได้ไม่ครบหากอยู่ไม่ถึงเกณฑ์ที่กำหนด
สรุปวิธีคิดเงินสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
จากตัวอย่างนี้ช่วยให้คาดการณ์ได้ว่า ณ อายุ 60 ปี หรือช่วงเวลาเกษียณอายุนั้น จะมีมูลค่าเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเท่าใด โดยสามารถใช้การคำนวณจาก Excel นี้ในการประมาณการมูลค่าต่างๆ ได้ พร้อมกับการวางแผนการเงินสำหรับชีวิตหลังเกษียณว่าเพียงพอหรือไม่ และยังสามารถปรับแต่งตัวเลขตามความต้องการให้อยู่ในขอบเขตที่สามารถปฏิบัติได้จริง ดังนั้น วิธีคิดเงินสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพอย่างง่ายๆ เช่นนี้ ทำให้สามารถประเมินมูลค่ากองทุน ซึ่งเป็นประโยชน์ในการวางแผนต่างๆ ในชีวิตเป็นอย่างมาก และอีกเรื่องที่สำคัญไม่แพ้กันคือ การปฏิบัติตามแผนที่วางไว้ให้สำเร็จ เพื่อให้การวางแผนใดๆ ในที่นี้ไม่สูญเปล่าและสามารถใช้ชีวิตในยามเกษียณได้อย่างสบายใจ