ตอบข้อสงสัย HR มือใหม่ว่า เงินค่าตำแหน่ง ถือเป็นเงินค่าจ้างหรือไม่ ? วันนี้เรารวบรวมข้อมูลดี ๆ มาฝาก ไปติดตามได้ในบทความนี้กันเลย
อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม
- เงินที่ถือว่าเป็นค่าจ้าง ตามกฏหมายแรงงาน มีอะไรบ้าง?
- วิธีคิดโอทีรายวันและรายเดือน ตามกฎกระทรวงแรงงาน
- กฎหมายคุ้มครองแรงงาน ผู้ประกอบการมือใหม่ต้องรู้ไว้
- HR ควรรู้! กฎระเบียบบริษัท ข้อบังคับการทำงาน ตามกฎหมายแรงงาน
Q: เงินค่าตำแหน่ง ถือเป็นเงินค่าจ้างหรือไม่?
HR มือใหม่ หลายท่านคงกำลังสงสัยกันอยู่ว่า เงินค่าตำแหน่งที่ลูกจ้างได้รับนั้น ถือเป็นเงินค่าจ้างหรือไม่ ? วันนี้เรามีข้อมูลดี ๆ มาฝาก ไปติดตามกันเลย
A: หากบริษัทจ่ายเงินค่าตำแหน่งให้แก่ลูกจ้างเป็นประจำ มีจำนวนแน่นอน และเป็นเงินที่ตกลงจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาปกติของวันทำงาน ไม่มีเจตนาจ่ายเพื่อเป็นสวัสดิการแก่ลูกจ้าง เงินดังกล่าวถือเป็นค่าจ้าง
ข้อหารือกระทรวงแรงงาน ซึ่งบริษัทฯ ได้จ่ายค่าตำแหน่งให้กับลูกจ้าง 3 ประเภท ดังนี้
(1) เงินค่าตำแหน่งสาหรับหัวหน้างาน บริษัทฯ กำหนดจ่ายเงินค่าตำแหน่งให้ในอัตรา 200 – 1,000 บาท /คน/เดือน ด้วยเหตุผลว่า พนักงานมีการทำงานดีและรับผิดชอบหน้าที่เพิ่มขึ้น พิจารณาจากความสามารถและความเหมาะสมกับตำแหน่ง
(2) ตำแหน่งผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน ผู้ตรวจสอบด้านพลังงาน บริษัทฯ กำหนดจ่ายค่าตำแหน่งให้ในอัตรา 300 – 1,000 บาท/คน/เดือน โดยจัดอบรมให้พนักงานและออกวุฒิบัตรให้ เพื่อให้พนักงานมีความรู้ความสามารถเพิ่มขึ้น ช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพ เป็นค่าตอบแทนการทำงานที่เพิ่มขึ้นจากเดิมที่ทำอยู่
หากลูกจ้างที่รับเข้าทำงานมีคุณสมบัติตรงตามตำแหน่งให้ตามที่กำหนดไว้ แต่ ลูกจ้างบางรายบริษัทฯ จะส่งไปอบรมเพิ่มเติมเมื่อได้รับวุฒิบัตรแล้วกลับมาทำงาน บริษัทฯ ก็จะพิจารณาการจ่ายเงินค่าตำแหน่งให้ตามที่กำหนด
(3) ตำแหน่งผู้ตรวจประเมิน ISO หัวหน้าฝ่ายตรวจประเมินมีลูกทีมในฝ่าย ประมาณ 20 คน บริษัทฯ มอบหมายให้ลูกจ้างในฝ่ายทั้งหมดเป็นผู้ดูแลระบบการจัดการขององค์กร ให้ลูกจ้างมีหน้าที่ในการตรวจประเมินระบบการจัดการภายในองค์การตามแผนที่บริษัทฯ กำหนดไว้คือเดือนละ 1 ครั้ง โดยบริษัทฯ กำหนดให้เป็น KPI ของลูกจ้างในฝ่าย คุณสมบัติของผู้ที่จะเป็นผู้ตรวจประเมินระบบการจัดการขององค์การจึงต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ เข้าใจในเรื่องที่จะตรวจประเมิน บริษัทฯ จึงจัดให้มีการฝึกอบรมเพื่อให้ลูกจ้างนำความรู้มาใช้ในการทำงานและออกวุฒิบัตรให้เมื่อเสร็จสิ้นการอบรม บริษัทฯ จึงจ่ายค่าตำแหน่งให้กับลูกจ้างที่รับหน้าที่ตรวจประเมิน เนื่องจากลูกจ้างมีหน้าที่รับผิดชอบเพิ่มขึ้นจากงานเดิมที่ทำอยู่
ทั้งนี้ทั้งนั้น เงินค่าตำแหน่งของลูกจ้างทั้ง 3 ประเภท บริษัทฯ จ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานของลูกจ้างตามความรู้ ความสามารถ ความเหมาะสมกับตำแหน่ง และการเพิ่มหน้าที่ความรับผิดชอบ โดย “จ่ายเป็นจำนวนที่แน่นอนเป็นประจำเท่ากันทุกเดือน” ตามที่บริษัทฯ กำหนดอัตราไว้ และบริษัทฯ ไม่ได้นำการลางาน การขาดงานหรือการมาทำงานสายของลูกจ้างมาเป็นเงื่อนไขในการจ่ายเงินค่าตำแหน่ง (ตามนัยพิพากษาฎีกาที่ 5024 /2548)
หมายเหตุ: หากบริษัทฯ ได้ตกลงจ่ายเงินค่าตำแหน่งให้แก่ลูกจ้างโดยมีเจตนาเพื่อให้เป็นสวัสดิการแก่ลูกจ้าง เงินดังกล่าวไม่ถือเป็นค่าจ้างตามนิยามในมาตรา 5 แห่งประราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
สรุป Q&A เงินค่าตำแหน่ง ถือเป็นเงินค่าจ้างหรือไม่?
โดยสรุปแล้ว เงินค่าตำแหน่ง ถือเป็นเงินค่าจ้าง หากบริษัทฯ จ่ายเงินค่าตำแหน่งให้แก่ลูกจ้างเป็นประจำ มีจำนวนที่แน่นอน และเป็นเงินที่จ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานในวันปกติ
หากบริษัทฯ ตกลงจ่ายเงินค่าตำแหน่งให้แก่ลูกจ้างโดยมีเจตนาเพื่อให้เป็นสวัสดิการแก่ลูกจ้าง เงินดังกล่าวไม่ถือเป็นค่าจ้าง
นอกจากนี้โปรแกรม HumanSoft สามารถกรอกค่าตำแหน่งให้กับพนักงานรายบุคคลได้อย่างง่ายดาย อีกทั้งยังช่วยเพิ่มความสะดวกให้กับ HR ในการคำนวณและกรอกค่าตำแหน่งให้กับพนักงานอีกด้วย