ระบบ PMS นับเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการบริหารงานองค์กรให้มีประสิทธิภาพ ซึ่ง PMS จะมีบทบาทสำคัญอย่างไรมาดูกันในบทความนี้เลย
บทความเกี่ยวข้องที่คุณอาจสนใจ :
- ระบบสแกนใบหน้าคืออะไร จำเป็นต่อธุรกิจของคุณอย่างไร
- ระบบใบรับรองเงินเดือนช่วยงาน HR ได้อย่างไรบ้าง?
- วิธีเลือกระบบลงเวลาทำงานให้เหมาะกับองค์กรคุณ
ระบบ PMS คืออะไร
ระบบ PMS คือ “ระบบการบริหารผลการปฏิบัติงาน” เป็นระบบที่องค์กรใช้ในการวัดหรือประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากร โดยเป็นการบริหารอย่างครบวงจรที่เชื่อมโยงกันในระดับภาพรวมองค์กร ระดับหน่วยงาน และระดับบุคคลเข้าด้วยกัน หรือเรียกได้ว่าเป็น “วงจรการจัดการที่มีประสิทธิภาพ”
ระบบ PMS เกิดขึ้นเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน และพัฒนาความสามารถของบุคลากร ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ และเป้าหมายที่ได้วางแผนไว้ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ซึ่ง คำว่า PMS ย่อมาจาก Performance Management System ที่มีรายละเอียดดังนี้
P ย่อมาจาก Performance คือ ประสิทธิภาพ หรือความสามารถในการทำงาน
M ย่อมาจาก Management คือ การบริหารจัดการ
S ย่อมาจาก System คือ ระบบ
หัวใจสำคัญของระบบ PMS คือการบริหารผลการปฏิบัติงานอย่างครบวงจร และมีการเชื่อมโยงหรือบูรณาการกิจกรรมต่าง ๆ ให้สอดคล้องและเป็นเป็นในทิศทางเดียวกัน โดยองค์ประกอบพื้นฐานสำคัญ ได้แก่
1. การตั้งเป้าหมาย
องค์กรต้องตั้งเป้าหมายที่จะทำให้บุคลากรตระหนักถึงความสำคัญกับเป้าหมายขององค์กร เพราะจะทำให้บุคลากรมีความใส่ใจและอยากมีส่วนร่วมกับเป้าหมายมากขึ้นโดยมีการกำหนดเป้าหมายร่วมกัน ทำให้บุคลากรสามารถสร้างเป้าหมายส่วนบุคคลที่เสริมเป้าหมายขององค์กรได้ ทำให้บุคลากรรู้สึกมีความเป็นเจ้าของในเป้าหมายนั้น ๆ ไปด้วย
2. การทำงานที่โปร่งใส
บุคลากรต้องมองเห็นถึงการบริหารงานที่โปร่งใส เปิดเผย และจริงในของผู้บริหารองค์กร และต้องการการสื่อสารแบบ Real Time พร้อมกับสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนร่วมงานและหัวหน้างานด้วย เพื่อความเชื่อใจและพร้อมที่จะดำเนินไปตามเป้ามายเดียวกันขององค์กร
3. ให้ความสำคัญกับผลตอบแทน
การให้ความสำคัญกับคุณค่าของบุคลากรมาเป็นอันดับแรก เพื่อทำให้บุคลากรรู้สึกมีคุณค่ากับองค์กร ได้รับการชื่นชมและผลตอบแทนเมื่อมีส่วนร่วมในเป้าหมายนั้น ๆ
4. Feedback ที่ตรงไปตรงมา
หากบุคลากรได้รับคำติชม (Feedback) ได้รับคำแนะนำหรือได้รับข้อมูลเกี่ยวกับการทำงานมากเท่าไร ยิ่งทำให้บุคลากรสามารถปรับปรุงการทำงานให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้นเท่านั้น
5. การพัฒนาศักยภาพ
องค์กรควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาศักยภาพของบุคลากร เพราะองค์กรจะได้รับประโยชน์อย่างมากเมื่อบุคลากรมีทักษะและความสามารถในการปฏิบัติงานมากขึ้น
ระบบ PMS มีบทบาทสำคัญอย่างไรกับองค์กร
โลกธุรกิจในปัจจุบันก้าวเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในหลาย ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจ หรือเทคโนโลยีต่าง ๆ การทำงานขององค์กรหรือธุรกิจจึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีการปรับตัวและตื่นตัวอยู่เสมอ และพร้อมที่จะพัฒนาองค์กรหรือพัฒนาบุคลากรในองค์กรอยู่ตลอดเวลา เพราะเป็นเรื่องที่สำคัญที่จะช่วยให้องค์กรบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
ระบบ PMS กลยุทธ์ หรือ กระบวรการในการบริหารทรัพยากรมนุษย์อย่างหนึ่งที่ช่วยขับเคลื่อนองค์กรให้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่ได้วางไว้ โดยกระบวนการปรับปรุงและพัฒนาผลการปฏิบัตรงานอย่างต่อเนื่อง นำไปสู่การปฏิบัตงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น แน่นอนว่าแต่ละองค์กร ต่างมีเป้าหมายในการทำงานหรือเป้าหมายของธุรกิจ ซึ่งเป้าหมายนั้นจะประสบผลสำเร็จได้ จะต้องเกิดจากการปรับปรุงและการพัฒนาองค์กรอย่างสม่ำเสมอ ระบบ PMS สามารถบริหารและติดตามผลการปฏิบัติงานได้อย่างใกล้ชิด ทำให้ผู้บริหารเกิดความมั่นใจในการปฏิบัติงานว่าจะเป็นไปตามแนวทางหรือแผนงานที่ได้วางแผนไว้อย่างถูกต้อง
ดังนั้น Performance Management System หรือ ระบบ PMS จึงเป็นระบบสำคัญในการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลให้มีประสิทธิภาพและเพื่อให้องค์กรหรือธุรกิจเกิดการพัฒนาและเติบโตไปตามเป้าหมายในทิศทางที่ถูกต้องด้วย
กระบวนการของระบบ PMS
หลักการทำงานของระบบ PMS เป็นระบบที่องค์กรมักใช้ในการบริหารผลการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามเป้าหมายขององค์กร ซึ่งระบบ PMS ไม่เพียงแต่เป็นเครื่องมือในการประเมินบุคลากรเท่านั้น แต่เป็นการบริหารผลการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามเป้าหมายในระยะสั้น (ประจำปี) ระยะกลาง และระยะยาว (3-5ปี) เพื่อส่งผลให้เกิดการปฏิบัติงานที่ดีอย่างสม่ำเสมอ จึงต้องมีการวางแผนในการปฏิบัติงาน จากนั้นประเมินผลการปฏิบัติงาน และ Feedback ของบุคลากร เพื่อให้บุคลากรพัฒนาตนเองและแก้ไขจุดบกพร่องของตนเองต่อไป
กระบวนการของระบบ PMS นั้นเริ่มต้นการตั้งเป้าหมายเชิงกลยุทธิ์ขององค์กร ทั้งระยะสั้น ระยะกลางและระยะยาว แล้วเชื่อมโยงเป้าหมายต่าง ๆ เข้าสู่ระดับองค์กรและระดับบุคลากร โดยอาจใช้เครื่องมือต่างๆในการกำหนดเป้าหมายและเครื่องมือต่าง ๆ ในการวัดความสำเร็จ เช่น KPI หรือ OKR เป็นต้น เพื่อให้บุคลากรทราบและตระหนักถึงความสำคัญของเป้าหมายในองค์กร
ขั้นตอนในการปฏิบัติงานของระบบ PMS
- กำหนดเป้าหมายในการดำเนินงาน
- วางแผนการปฏิบัติงานให้ตรงกับทิศทางของเป้าหมายที่กำหนดไว้
- กระจายเป้าหมายจากองค์กรสู่หน่วยงานและพนักงาน
- Feedback พนักงาน เพื่อให้ทราบจุดเด่นจุดด้อย และนำไปปรับปรุงพัฒนา
- ติดตามผลการดำเนินงานและประเมินผลงาน
- วัดความสำเร็จของผลงาน และมอบรางวัลหรือค่าตอบแทน
ระบบ PMS เป็นกระบวนการที่ถูกนำมาใช้เพื่อพัฒนาบุคลากรในองค์กรให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และสอดคล้องกับเป้าหมายร่วมกันขององค์กร
ประโยชน์ของระบบ PMS
การนำ PMS มาประยุกต์ใช้ในการทำงานในองค์กรมีประโยชน์และความสำคัญดังต่อไปนี้
- เกิดการพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงานของบุคลากรและองค์กร
- บุคลากรได้รับ Feedback เพื่อให้ทราบถึงจุดเด่นจุดด้อยของตนเอง
- พัฒนาความรู้และทักษะของบุคลากรให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
- บุคลากรมีแรงจูงใจในการทำงานให้เป็นไปตามเป้าหมาย
- การสื่อสารในองค์กรมีประสิทธิภาพมากขึ้น
- เกิดการทำงานเป็นทีมมากขึ้น
- เป็นตัวช่วยในการตัดสินใจในการปรับเงินเดือนหรือโบนัส
สรุประบบ PMS มีบทบาทสำคัญอย่างไร
ระบบ PMS คือ ระบบการบริหารผลการปฏิบัติงาน ที่จะช่วยให้องค์กรเติบโต ผ่านกระบวนการพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพ ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายร่วมกันขององค์กรและบุคลากร ซึ่งประกอบไปด้วยองค์ประกอบพื้นฐานสำคัญในการบริหารที่ดี และกระบวนการหลัก ๆ ในการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพ รวมไปถึง Feedback ของบุคลากรเพื่อให้การบริหารผลการปฏิบัติงานมีความชัดเจนและเติบโตไปในทิศทางเดียวกัน