การทำแบบทดสอบบุคลิกภาพนั้น จะช่วยให้ HR หรือผู้นำองค์กรรู้ว่า บุคลากรคนไหนเหมาะกับงานไหน และจะทำให้การบริหารคนและบริหารงาน เป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
บทความเกี่ยวข้องที่คุณอาจสนใจ :
- 4 วิธีสร้างบรรยากาศดีๆ ในองค์กร โดยการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ (HRM)
- กลยุทธ์การสร้างวัฒนธรรมองค์กร ให้เข้มแข็งในยุคดิจิตัล
- แนวทาง "ฝึกอบรมพนักงาน" การลงทุนสู่ความสำเร็จขององค์กร
- วางแผนการฝึกอบรมให้พนักงาน ด้วยโปรแกรมบริหารงานบุคคล
- 7 เทคนิค สร้าง Teamwork ให้มีประสิทธิภาพ
เทคนิคการเลือกคนให้เหมาะกับงาน ด้วยแบบทดสอบบุคลิกภาพ
เมื่อทรัพยากรบุคคล เป็นส่วนสำคัญอย่างมากในองค์กร การเลือกใช้คนให้เหมาะสมกับงาน จึงเป็นเรื่องสำคัญที่องค์กรไม่ควรมองข้าม เช่นเดียวกับคำว่า “Put the right man on the right job” ซึ่งเป็นสิ่งที่หลายองค์กรมักจะนำมาใช้ในการบริหารบุคลากรในองค์กร การให้บุคลากรได้ทำงานในสิ่งที่ถนัด หรือสิ่งที่ทำออกมาได้ดี จะทำให้ผลงานออกมามีประสิทธิภาพด้วยเช่นกัน โดยองค์กรสามารถคัดเลือกได้จากการทดสอบบุคลิกภาพ ลักษณะนิสัย จุดเด่น-จุดด้อย ความสามารถ รวมถึงทักษะต่างๆ ด้วย และในทุกๆ การทำงาน ล้วนมีอุปสรรคในการทำงาน ไม่มากก็น้อย เมื่อการเลือกใช้คนให้เหมาะสมกับงานเป็นเรื่องสำคัญ การทดสอบบุคลิกภาพจากแบบทดสอบบุคลิกภาพจึงเป็นวิธีที่เหมาะสมอย่างมากอีกวิธีหนึ่ง
แล้วแบบทดสอบบุคลิกภาพ คืออะไร?
แบบทดสอบบุคลิกภาพเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวัดหรือประเมินลักษณะต่าง ๆ ของบุคคล เช่น ลักษณะบุคลิกภาพทางด้านจิตใจ บุคลิกภาพทางกายภาพ และความเป็นอยู่ที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมและการตอบสนองของบุคคลนั้น ๆ การใช้แบบทดสอบบุคลิกภาพจะช่วยให้ผู้วิจัยหรือผู้ทดสอบได้ข้อมูลที่สามารถใช้ในการวิเคราะห์และทำนายพฤติกรรมหรือลักษณะต่าง ๆ ของบุคคลได้
ซึ่ง แบบทดสอบบุคลิกภาพ"16Personalities" เป็นอีกหนึ่งแบบทดสอบบุคลิกภาพ (Personality Test) ที่ช่วยให้ผู้ทดสอบสามารถประเมินและทำความเข้าใจกับลักษณะบุคลิกภาพของตนเองได้ โดยมีการใช้แนวคิดจากทฤษฎี Myers-Briggs Type Indicator (MBTI) ที่แบ่งบุคลิกภาพเป็นหมวดหมู่ต่าง ๆ โดยสรุปได้ดังนี้
1. Extroversion (E) vs. Introversion (I)
การแบ่งส่วนตัวของคนว่ามีความชอบที่จะโต้ตอบกับโลกภายนอกมากกว่าหรือไม่
2. Sensing (S) vs. Intuition (N)
วิธีการรับรู้ข้อมูล ว่าใช้ประสบการณ์ทางตามสัมผัสมากกว่าหรือใช้การรับรู้ทางความคิดสร้างสรรค์มากกว่า
3. Thinking (T) vs. Feeling (F)
การตัดสินใจ ว่าใช้เหตุผลมากกว่าหรือใช้ความรู้สึกมากกว่า
4. Judging (J) vs. Perceiving (P)
วิธีการที่ปรับตัวกับโลก ว่ามีแนวโน้มที่จะวางแผนและสร้างความเรียบร้อยมากกว่าหรือไม่
ผู้ทดสอบจะตอบคำถามหรือสรุปประสบการณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรม ความคิดเห็น และสภาพความคิดที่ตนเองมีต่อสิ่งต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน จากนั้น 16 Personalities จะสรุปผลลัพธ์ในรูปแบบของประเภทบุคลิกภาพที่เป็นไปได้ 16 ประเภทตามความสอดคล้องกับ MBTI ที่ผู้ทดสอบได้รับ โดยทุกๆ คนสามารถเข้าไปทำแบบทดสอบบุคลิกภาพกันได้ที่นี่ >> แบบทดสอบบุคลิกภาพฟรี
แบบทดสอบบุคลิกภาพ มีประโยชน์กับองค์กรอย่างไร?
แบบทดสอบบุคลิกภาพ เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการเข้าใจลักษณะบุคลิกภาพและลักษณะต่าง ๆ ของบุคคลภายในทีมหรือองค์กร โดยมีประโยชน์ในการบริหารบุคลากรในองค์กรได้ดังนี้
- การเข้าใจและการสื่อสาร : การทราบลักษณะบุคลิกภาพของบุคคลในทีมช่วยในการสื่อสารและสร้างความเข้าใจที่ดีกันขึ้น ผู้บริหารสามารถปรับการสื่อสารเพื่อเข้ากับลักษณะบุคลิกภาพของพนักงานแต่ละคนได้ดีขึ้น
- การสร้าง Teamwork : บทวิเคราะห์ลักษณะบุคลิกภาพที่ได้จาก 16 Personalities ช่วยในการสร้างทีมงานที่มีความหลากหลายและมีประสิทธิภาพให้มากที่สุด เพราะจะช่วยในการเข้าใจพฤติกรรมและสร้างสิ่งที่ทำให้ทุกคนทำงานร่วมกันได้ดียิ่งขึ้น
- การบริหารจัดการสำหรับผู้นำ : หากผู้นำสามารถเข้าใจลักษณะบุคลิกภาพของลูกทีมแล้ว จะทำให้การวางแผนงานและการบริหารงานมีความเหมาะสมกับแต่ละบุคคล และส่งผลให้การบริหารองค์กรเป็นไปตามเป้าหมายได้ดียิ่งขึ้น
- การจัดการความขัดแย้ง : การทราบลักษณะบุคลิกภาพช่วยในการจัดการความขัดแย้งระหว่างบุคคลในทีมหรือองค์กร และช่วยให้สามารถเลือกใช้วิธีการในการแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม ทำให้เกิดความร่วมมือร่วมใจขึ้นในองค์กร
- การพัฒนาและการฝึกอบรม : แบบทดสอบบุคลิกภาพช่วยในการวางแผนการพัฒนาและการฝึกอบรมที่เหมาะสมสำหรับแต่ละบุคคลในองค์กร เพื่อพัฒนาทักษะและความรู้ที่จำเป็นสำหรับงาน หรือพัฒนาความรู้เพิ่มเติมในด้านที่เหมาะสมกับการทำงานภายใต้ความถนัดของแต่ละคน
สรุปการเลือกคนให้เหมาะกับงาน ด้วยแบบทดสอบบุคลิกภาพ
การใช้แบบทดสอบบุคลิกภาพ ในองค์กรช่วยในการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์และสร้างการทำงานที่มีประสิทธิภาพ โดยการสนับสนุน ทำความเข้าใจ ปรับเปลี่ยนตามความต้องการและลักษณะบุคลิกภาพของแต่ละบุคคลในองค์กร ให้เหมาะสมกับการทำงานในตำแหน่งนั้นๆ เพื่อสร้างการทำงานที่มีประสิทธิภาพ สร้างสภาพแวดล้อมในองค์กรให้น่าอยู่ รวมถึงสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ดี และดึงดูดผู้มีศักยภาพให้เข้ามาทำงานในองค์กรด้วย