ไขข้อข้องใจ ลูกจ้างลาไปแต่งงานต้องใช้สิทธิการลากิจหรือไม่? วันนี้เรามีข้อมูลดี ๆ มาฝาก ไปติดตามได้ในบทความนี้กันเลย
อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม
- Q&A พนักงานยังไม่ผ่านโปร ลากิจ ลาป่วยได้ไหม?
- ลาพักร้อน ลาป่วย ลากิจได้กี่วัน ตามกฎหมายแรงงาน
- ตรวจสอบโควต้าวันลางานง่ายๆ ด้วยระบบลางานออนไลน์
- ห้ามพลาด! กฎหมายแรงงานที่ลูกจ้างไม่ควรมองข้าม
- ลาป่วย 20 ข้อ ที่พนักงานควรรู้!
Q: ลาแต่งงานต้องใช้ลากิจหรือไม่?
ลูกจ้างทุกคนล้วนมีสิทธิการลาตามกฎหมายแรงงาน ไม่ว่าจะเป็น ลาป่วย ลากิจ ลาพักร้อน ล้วนเป็นสวัสดิการที่พนักงานทุกคนพึงจะได้รับ ซึ่งแต่ละองค์กรจะมีเงื่อนไขการใช้สิทธิการลาที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับโครงสร้างขององค์กรหรือนโยบายบริษัท
Tips! อ่านบทความต่อเพิ่มเติม >> ลาพักร้อน ลาป่วย ลากิจได้กี่วัน ตามกฎหมายแรงงาน
ลูกจ้างหลาย ๆ คนยังคงสงสัยว่าหากจะลาไปแต่งงาน ต้องใช้สิทธิการลาแบบใด ไปดูกันเลย
A: การลาแต่งงาน ถือเป็นการลากิจ เนื่องจากเป็นกิจธุระจำเป็น ซึ่งเป็นธุระที่ไม่สามารถมอบหมายให้ผู้อื่นทำแทนได้
หากวันแต่งงานตรงกับวันทำงานปกติ ลูกจ้างต้องขอลางาน โดยต้องใช้สิทธิการลากิจ เนื่องจากการลาแต่งงาน ถือเป็นกิจธุระจำเป็น ที่ไม่สามารถมอบหมายให้ผู้อื่นทำแทนได้ เช่น ลูกจ้างลาเพื่อทำใบอนุญาตขับขี่ / เปลี่ยนบัตรประชาชน / จดทะเบียนสมรสหรือแต่งงาน เป็นต้น สิ่งสำคัญคือต้องเป็นกิจธุระที่ลูกจ้างต้องไปทำด้วยตนเอง
Q: ลูกจ้างสามารถลากิจได้สูงสุดกี่วัน?
A: ตามพรบ.คุ้มครองแรงงานมาตรา34 ลูกจ้างสามารถลากิจได้ไม่น้อยกว่า 3 วันทำงาน/ปี และมีสิทธิ์ได้รับค่าจ้างในระหว่างที่ลากิจไม่เกิน 3 วันทำงาน/ปี
ดังนั้นองค์กรจึงให้สิทธิ์พนักงานลากิจได้ 3 วัน แต่หากพนักงานใช้สิทธิ์ลากิจไปครบ 3 วันแล้วและต้องการลากิจเพิ่ม พนักงานก็จะไม่ได้รับค่าจ้างในวันที่ลากิจ องค์กรจึงแนะนำให้พนักงานใช้วันพักร้อนแทน
การลาแบบใดบ้างที่ถือเป็นการลากิจ?
การใช้สิทธิวันลามีหลากหลายรูปแบบ แล้วการลาแบบใดบ้างที่ถือเป็นการลากิจ วันนี้เรามีตัวอย่างการลากิจมาฝาก ไปดูกันเลย
- ลาไปติดต่อหน่วยงานราชการ
- ลาไปเป็นพยานตามหมายเรียกของศาล
- ลาไปฉีดวัคซีนตามกำหนดที่หน่วยงานนัดหมาย
- ลาไปงานศพของคนในครอบครัว (พ่อ แม่ พี่น้อง สามี ภรรยา ลูก)
- ลาไปงานรับปริญญาของตนเองหรือญาติ
- ลาจัดงานสมรสบุตร จัดงานอุปสมบท
สรุป Q&A ลาแต่งงานต้องใช้ลากิจหรือไม่?
โดยสรุปแล้ว หากลูกจ้างต้องการลาไปแต่งงานในวันทำงาน ลูกจ้างต้องขอใช้สิทธิการลากิจ เนื่องจาก การลาแต่งงาน ถือเป็นกิจธุระจำเป็นที่ลูกจ้างต้องไปทำด้วยตนเอง ไม่สามารถมอบหมายให้ผู้อื่นไปทำแทนตนได้ โดยลูกจ้างสามารถลากิจได้ 3 วัน/ปี ลูกจ้างจะได้รับค่าแรงตามวันทำงานปกติ แต่หากลูกจ้างใช้สิทธิ์ลากิจครบ 3 วันแล้วและต้องการจะใช้สิทธิ์เพิ่ม ลูกจ้างก็จะไม่ได้รับค่าจ้างในวันที่ลากิจ ซึ่งจำนวนวันลากิจของแต่ละองค์กรจะไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจและเงื่อนไขขององค์กร