เชื่อว่านายจ้างหรือแม้กระทั่งพนักงานหลาย ๆ ท่านอาจมีข้อสงสัยว่าหากพนักงานลากิจเกิน 3 วันทำงาน นายจ้างหักเงินได้หรือไม่ มาหาคำตอบพร้อมกันได้ในบทความนี้เลย
อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม:
- Q&A ไขข้อสงสัยหมอนัด ต้องใช้ลาอะไร?
- ลากิจ คืออะไร มีลากิจอะไรบ้าง และชื่อภาษาอังกฤษว่าอย่างไร
- Q&A ลากิจและลากิจฉุกเฉิน ต่างกันอย่างไร และมีอะไรบ้าง?
- Q&A พนักงานยังไม่ผ่านโปร ลากิจ ลาป่วยได้ไหม?
- ลาพักร้อน ลาป่วย ลากิจได้กี่วัน ตามกฎหมายแรงงาน
ว่าด้วยเรื่องของการ “ลากิจ”
ลากิจ ถือเป็นสิทธิพื้นฐานที่พนักงานจะได้รับตามกฎหมายแรงงาน ซึ่งพนักงานทุกประเภทมีสิทธิลากิจเพื่อทำกิจธุระจำเป็น โดยสามารถลากิจได้ตั้งแต่พนักงานทดลองงาน พนักงานรายเดือน พนักงานรายวัน และพนักงานประเภทอื่น ๆ ก็ย่อมได้รับการคุ้มครองตาม พ.ร.บ คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
Q: หากพนักงานลากิจเกิน 3 วัน นายจ้างสามารถหักเงินได้หรือไม่?
ไขข้อสงสัยให้แก่นายจ้าง HR และพนักงาน ในกรณีที่พนักงานลากิจในรูปแบบได้รับค่าจ้างเกิน 3 วันทำงาน นายจ้างมีสิทธิ์ไม่จ่ายเงินให้พนักงานในวันที่ลากิจเกินได้หรือไม่
A: หากพนักงานลากิจเกิน นายจ้างมีสิทธิ์ไม่จ่ายค่าจ้างในวันที่พนักงานลากิจเกินได้
พนักงานหรือลูกจ้างมีสิทธิ์ในการลากิจเพื่อทำธุระจำเป็นได้ตามข้อบังคับการทำงาน โดย พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 34 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 กำหนดให้ “พนักงานมีสิทธิ์ลากิจเพื่อทำธุระจำเป็นได้ปีละไม่น้อยกว่า 3 วันทำงานต่อปี และให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่พนักงานในวันที่ลากิจเท่ากับค่าจ้างในวันทำงานปกติ แต่ไม่เกิน 3 วันทำงานต่อปี”
ในกรณีที่หากพนักงานมีความจำเป็นที่จะต้องลากิจเกินกว่า 3 วันทำงานต่อปี ก็สามารถลางานได้ แต่จะไม่ได้รับค่าจ้าง ซึ่งนายจ้างมีสิทธิ์ไม่จ่ายค่าจ้างในวันที่พนักงานลากิจเกินกว่าที่กำหนดได้นั่นเอง
สรุปพนักงานลากิจเกิน นายจ้างหักเงินได้ไหม
โดยสรุปแล้ว พนักงานมีสิทธิ์ลากิจได้ไม่น้อยกว่า 3 วันทำงานต่อปี แต่หากพนักงานลากิจเกิน 3 วันทำงาน นายจ้างมีสิทธิ์ไม่จ่ายค่าจ้างในวันที่พนักงานลากิจเกิน หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับการลากิจ สามารถติดต่อหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน