คำว่า OD ที่ย่อมาจาก Organization Development อธิบายง่ายๆ ก็คือ การพัฒนาองค์กร โดยมีความสำคัญ และมีเทคนิคอะไรบ้างที่ HR ควรศึกษาไว้ มาดูกันในบทความนี้
บทความเกี่ยวข้องที่น่าสนใจ :
- กลยุทธ์การสร้างวัฒนธรรมองค์กร ให้เข้มแข็งในยุคดิจิตัล
- กลยุทธ์การบริหารคน ที่ผู้นำยุคใหม่ควรให้ความสำคัญ
- เทคนิคการเลือกคนให้เหมาะกับงาน ด้วยแบบทดสอบบุคลิกภาพ
- 4 ลักษณะนิสัยของผู้นำที่่ประสบความสำเร็จมากที่สุด
Organization Development (OD) คืออะไร
Organization Development (OD) ที่แปลว่า พัฒนาองค์กร เป็นกระบวนการที่ใช้ในการพัฒนาองค์กร ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด เป้าหมายหลักของ OD คือ การสร้างความเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืน โดยการใช้เครื่องมือและกระบวนการต่างๆ เช่น การวิเคราะห์สภาพองค์กร (Organizational Diagnosis) เพื่อระบุปัญหาหรือความต้องการในการพัฒนา การวางแผนและการปรับปรุงโครงสร้างองค์กร (Organization Structure) การพัฒนาทักษะและความรู้ของบุคลากร (Employee Development) การสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่สนับสนุนการเปลี่ยนแปลง (Organizational Culture Development) และการสร้างความร่วมมือและความสัมพันธ์ที่ดีในทีมงาน (Team Building) เป็นต้น
Organization Development (OD) มีไว้เพื่อช่วยให้องค์กรสามารถปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงภายนอกและภายในอย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถพัฒนาให้เติบโตไปพร้อมกับสภาวะทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ซึ่งการนำ OD มาใช้ในองค์กร มักจะเน้นวิธีการที่ร่วมมือกันของบุคลากรทั้งหมดในองค์กร เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืนและมีประสิทธิภาพที่สูงขึ้น
ปัจจัยในการพัฒนาองค์กร Organization Development (OD) ให้ไปสู่ความสำเร็จ
มีหลายสาเหตุที่ทำให้องค์กรในปัจจุบันต้องพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ และการพัฒนาตัวเองนั้นก็เหมือนกับการเพิ่มศักยภาพให้กับองค์กรด้วย ทำให้องค์กรเดินหน้าสู่เป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีปัจจัยที่จะนำไปสู่ความสำเร็จได้ดังนี้
1. การมีผู้นำที่ดี
ผู้นำที่ดีจะกำหนดทิศทางที่ชัดเจน สามารถกระตุ้นและสร้างแรงบันดาลใจให้กับบุคลากร เพื่อให้เกิดความมุ่งมั่นทำงานไปในทิศทางที่ถูกต้องตามวิสัยทัศน์และพันธกิจขององค์กร และผู้นำที่ดีมักจะมีภาวะผู้นำ มีเคล็ดลับในการบริหารคน บริหารงาน เข้าใจการประสานงาน ตลอดจนสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นการมีผู้นำที่ดีก็มีชัยไปกว่าครึ่งก็ว่าได้
2. กลยุทธ์ที่ชัดเจน
การมีกลยุทธ์ที่เหมาะสม สอดคล้องกับสภาพแวดล้อม เปรียบเสมือนแผนที่นำทาง ที่จะช่วยสร้างกรอบการดำเนินงานให้ชัดเจน และช่วยให้องค์กรเลือกทิศทางในการดำเนินงานอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ สามารถใช้ทรัพยากรได้อย่างคุ้มค่ามากที่สุด สามารถบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ พร้อมกับรับมือกับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างมั่นคง
3. วัฒนธรรมองค์กรที่ดี
วัฒนธรรมองค์กรที่ดีจะสนับสนุนการเรียนรู้และการพัฒนา โดยสร้างสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมให้บุคลากรมีความกระตือรือร้นในการพัฒนาตนเอง และเกิดความคิดสร้างสรรค์ สนับสนุนความร่วมมือและการทำงานเป็นทีม รวมไปถึงการสร้างแรงจูงใจที่ดี เพื่อสร้างพลังที่สามารถทำให้องค์กรมีประสิทธิภาพและประสบความสำเร็จได้มากขึ้น
4. การพัฒนาทรัพยากรบุคคล
การพัฒนาทรัพยากรนั้น เป็นการลงทุนในความรู้และทักษะให้กับบุคลากร การ พัฒนาจุดอ่อน เสริมจุดแข็ง ด้วย Individual Development Plan ที่ช่วยเสริมสร้างความสามารถในการปฏิบัติงานและความสามารถในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในสภาพแวดล้อมทั้งภายนอกและภายในองค์กรได้ เช่น การฝึกอบรมต่างๆ การเสริมทักษะ และการสร้าง Growth Mindset เป็นต้น ซึ่งจะเป็นจุดเริ่มต้นในการพัฒนาองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ
5. การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ
ไม่ว่าจะอยู่ส่วนไหนขององค์กร การสื่อสารกันอย่างถูกต้อง ชัดเจน โปร่งใสและเข้าใจง่าย ก็เป็นสิ่งสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งในการพัฒนาองค์กร เพราะจะทำให้ทุกคนในองค์กรมองเห็นภาพ ภาพเดียวกัน มองเห็นเป้าหมาย เป้าหมายเดียวกัน ตลอดจนทิศทางที่จะมุ่งตรงไปด้วยกันอย่างมีพลัง
6. เทคโนโลยีที่เหมาะสม
การนำเทคโนโลยีและอุปกรณ์ที่ทันสมัยและเหมาะสมมาใช้ในการดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นด้านการบริหารงาน ด้านการผลิต หรือแม้กระทั่งด้านการทำงานของพนักงาน จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน การสื่อสาร และการเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ขององค์กรให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
7. การวัดผลและติดตามผล
การประเมินผลการทำงานจะช่วยให้องค์กรรู้ว่าสิ่งที่กำลังทำอยู่นั้นประสบความสำเร็จหรือไม่ มากน้อยเพียงไร มีอะไรเป็นจุดบกพร่องและควรปรับปรุง ตลอดจนศักยภาพของบุคลากรที่ทำนั้นเป็นอย่างไร ซึ่งหากองค์กรนำผลการประเมินมาใช้ให้เกิดประโยชน์ จะช่วยให้องค์กรสามารถสร้างบรรทัดฐานในการวัดมาตรฐาน และช่วยพัฒนาให้องค์กรก้าวหน้าต่อไปได้มากยิ่งขึ้น
สรุป เทคนิคการพัฒนาองค์กร Organization Development (OD)
การพัฒนาองค์กรเป็นกระบวนการที่สำคัญในการทำให้องค์กรเติบโตและปรับตัวกับสภาพแวดล้อมธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา โดยการใช้เทคนิคดังที่กล่าวมานี้ร่วมกับการปรับตัวต่อสถานการณ์และการเรียนรู้ตลอดเวลาจะช่วยให้องค์กรมีความสามารถในการปรับตัวและเติบโตในระยะยาวได้ดีขึ้น และที่สำคัญคือ การพัฒนาองค์กรไม่ใช่กระบวนการที่เกิดขึ้นครั้งเดียว แต่เป็นกระบวนการที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้องค์กรมีความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมธุรกิจและความต้องการของลูกค้าได้ จึงจะเรียกได้ว่าเป็นการพัฒนาที่สมบูรณ์แบบมากที่สุด