PageView Facebook
date_range 27/11/2023 visibility 15441 views
bookmark HR Knowledge
Q&A ทำงานล่วงเวลา แต่ไม่ได้โอที ผิดกฎหมายแรงงานไหม? - blog image preview
Blog >Q&A ทำงานล่วงเวลา แต่ไม่ได้โอที ผิดกฎหมายแรงงานไหม?

หลาย ๆ คนคงสงสัยว่ากรณีที่นายจ้างให้พนักงานทำงานล่วงเวลา แต่ไม่ได้โอที แบบนี้ผิดกฎหมายแรงงานหรือไม่ หากต้องการให้พนักงานทำงานล่วงเวลานายจ้างต้องทำอย่างไร?


อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม:


Q: บริษัทร้องขอให้พนักงานทำงานล่วงเวลา แต่ไม่ให้โอที ผิดกฎหมายไหม?


ที่บริษัทมีช่วงเวลาทำงานปกติคือ 08.00-17.00 น. แต่เนื่องจากบริษัทประสบปัญหาเรื่องภาระงานที่เยอะกว่าจำนวนของพนักงาน บริษัทจึงร้องขอให้พนักงานทำงานต่อช่วงหลังเวลาเลิกงานอีก 1 ชั่วโมง ตั้งแต่เวลา 17.00 น. – 18.00 น. โดยที่จะไม่ได้โอที แบบนี้บริษัทสามารถทำได้หรือไม่ ผิดกฎหมายไหม?



A: นายจ้างไม่จ่ายโอที ถือเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายแรงงาน


พนักงานมาทำงานล่วงเวลา มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนโอทีตามจำนวนชั่วโมงที่ทำ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 กรณีที่พนักงานทำงานล่วงเวลาของวันทำงานปกติ นายจ้างจะต้องจ่ายค่าล่วงเวลาโอทีให้กับพนักงานไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าครึ่ง (1.5) ของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานปกติ

 

ดังนั้นหากนายจ้างไม่จ่ายค่าโอที (OT) หรือค่าล่วงเวลาการทำงานให้แก่พนักงาน ถือว่าเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายแรงงาน โดยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 กำหนดให้ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท


Q: หากนายจ้างต้องทำอย่างไรเมื่อให้พนักงานทำงานล่วงเวลา?



A: ทำงานล่วงเวลาต้องได้รับความยินยอมจากพนักงานและปฏิบัติตามกฎหมายแรงงานอย่างเคร่งครัด


เมื่อนายจ้างประสงค์ให้พนักงานหรือลูกจ้างทำงานล่วงเวลาการทำงาน นายจ้างจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานอย่างเคร่งครัดดังนี้

 

  • นายจ้างอาจให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาได้ แต่จะต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างก่อนเป็นคราว ๆ ไป
  • นายจ้างอาจให้ลูกจ้างหรือพนักงานทำงานล่วงเวลาเท่าที่จำเป็น ถ้าลักษณะงานหรือสภาพของงานต้องทำติดต่อกันไป ถ้าหยุดจะเกิดความเสียหายแก่งาน หรือเป็นงานฉุกเฉิน
  • หากมีการทำงานล่วงเวลาเกิดขึ้น นายจ้างจะต้องจ่ายค่าล่วงเวลาให้พนักงานตามเกณฑ์ที่กฎหมายแรงงานกำหนด
  • ชั่วโมงการทำงานล่วงเวลา การทำงานในวันหยุด และการทำงานล่วงเวลาในวันหยุด รวมแล้วต้องไม่เกิน 36 ชม./สัปดาห์

 

ทั้งนี้ในกรณีที่นายจ้างให้พนักงานทำงานล่วงเวลาต่อจากเวลาการทำงานปกติไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมง นายจ้างจะต้องจัดให้มีเวลาพักไม่น้อยกว่า 20 นาที ก่อนที่ลูกจ้างจะเริ่มทำงานล่วงเวลา เพื่อให้ลูกจ้างได้หยุดพักผ่อน


สรุปนายจ้างให้ทำงานล่วงเวลาแต่ไม่ได้โอที ผิดกฎหมายแรงงานไหม


กรณีที่นายจ้างให้พนักงานทำงานล่วงเวลาต่อจากวันทำงานปกติ นายจ้างจะต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง และจะต้องจ่ายค่าโอทีให้กับพนักงานตามเกณฑ์ที่กฎหมายแรงงานกำหนด หากนายจ้างฝ่าฝืน จะมีความผิดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 และอาจถูกดำเนินคดีได้

 

ทั้งนี้ เมื่อทราบข้อกฎหมายเกี่ยวกับการจ่ายค่าล่วงเวลาหรือโอทีแล้ว นายจ้างควรปฏิบัติตามกฎหมายแรงงานอย่างเคร่งครัด เพื่อไม่ให้เกิดการฟ้องร้องหรือตรวจสอบในภายหลังนะคะ

โปรแกรมเงินเดือน HumanSoft
ทดลองใช้ฟรี 30 วันครบทุกฟังก์ชัน
  • บริการขึ้นระบบ ฟรี
  • ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น
  • ยกเลิกเมื่อไหร่ก็ได้