PageView Facebook
date_range 15/07/2022 visibility 1751 views
bookmark HR Trend
6 เทรนด์ เทคโนโลยีเปลี่ยนโลกของวงการ HRM - blog image preview
Blog >6 เทรนด์ เทคโนโลยีเปลี่ยนโลกของวงการ HRM

ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี ทำให้วงการการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ (HRM) มีเทรนด์เทคโนโลยีดี ๆ ที่จะมาสร้างความแปลกใหม่และการพัฒนาการบริหารสู่อนาคตด้วยเช่นกัน


6 เทรนด์ เทคโนโลยีเปลี่ยนโลกของวงการ การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ (HRM) มีอะไรบ้าง

การทำงานเป็นทีมนั้นเป็นเรื่องที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ไม่ว่าจะเป็นการทำงานในองค์กรใด หรือแผนกใด รวมถึงการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ (HRM) ด้วยเช่นกัน เทคโนโลยีต่าง ๆ จึงถูกสร้างขึ้นเพื่อสนับสนุนการทำงานจากคนหลาย ๆ คน หรือการทำงานเป็นทีมนั่นเอง เพราะการทำงานเป็นทีมนั้น เสมือนฟันเฟืองของการขับเคลื่อนการทำงานในองค์กรที่มีประสิทธิภาพ โดยมีเทคโนโลยีที่เป็นเทรนด์อยู่ดังนี้


1. เครื่องมือที่ให้พนักงานบริการตัวเอง (Employee Self-Services Tool)

เครื่องมือสำหรับการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ (HRM) ที่ให้พนักงานสามารถจัดการเรื่องต่างๆ ได้ด้วยตนเอง ซึ่งมีทั้งแบบอินทราเน็ตใช้กันภายในองค์กร หรือบางบริษัทก็ยกทั้งระบบขึ้นสู่คลาวด์ ยิ่งจำนวนพนักงานมากยิ่งทำให้ประสิทธิภาพโดยรวมของเครื่องมือมีความคุ้มค่ากับเงินลงทุนยิ่งขึ้น ตัวอย่างของเครื่องมือ เช่น

• ซอฟต์แวร์ที่ใช้เช็คการเข้างานของลูกทีมทุกคน

• การเข้าถึงข้อมูลเพื่อทราบสถานะการทำงาน

• ระบบการยื่น-อนุมัติเอกสารต่างๆ และสวัสดิการ

• คู่มือการทำงานออนไลน์

เครื่องมือสำหรับการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ (HRM) ที่ให้พนักงานสามารถจัดการเรื่องต่าง ๆ ได้ด้วยตนเองนี้ สามารถลดการใช้กระดาษและลดเวลาในการดำเนินการแบบภาพรวมได้มากทีเดียว


2. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain Integration)

หลายคนอาจจะได้รู้จักกับเทคโนโลยีบล็อกเชนกันมาแล้ว โดยเฉพาะในวงการการเงิน ซึ่งจุดเด่นของบล็อกเชน คือ ไม่ต้องมีตัวกลาง มีความปลอดภัย มีความน่าเชื่อถือของข้อมูลและการทำงานในมุมมองของผู้ใช้ไม่ได้ยากขึ้นแต่อย่างใด เมื่อประยุกต์ใช้กับการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ (HRM) แล้ว มีข้อดีแบ่งเป็นกลุ่มได้ดังนี้

การจ่ายผลตอบแทนแก่พนักงาน : การจ่ายเงินไปยังบัญชีต่างประเทศที่มักจะมีความล่าช้าเกิดขึ้น ปัจจุบันสามารถใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนและระบบคลาวด์ ร่วมกับการใช้สกุลเงินดิจิตอลมาเป็นระบบในการจ่ายผลตอบแทนให้พนักงาน และยังสามารถแปลงสกุลเงินดิจิตอลเป็นสกุลเงินท้องถิ่นให้อีกด้วย

สัญญาอัจฉริยะ : เป็นการใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนเข้ามาทำให้กระบวนการต่าง ๆ ของการทำสัญญาอัตโนมัติมากขึ้น เช่น ระบบสัญญาอัจฉริยะที่คืนเงินแก่ทุกฝ่ายหากผิดข้อตกลง

การจ้างพนักงานใหม่ : ข้อมูลที่พนักงานแสดงต่อบริษัทก็มีบางคนและบางส่วนที่อาจจะไม่ได้ตรงความจริง 100% การใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนเก็บข้อมูลจะทำให้ข้อมูลเป็นความจริง (ถ้าไม่นำเข้าข้อมูลผิดแต่ต้น) และทุกฝ่าย (หรือทุกองค์กร) เห็นข้อมูลเดียวกัน ลดเวลาในการตรวจสอบข้อมูลและค่าใช้จ่ายของตัวกลางได้

ฟังก์ชั่นต่าง ๆ เหล่านี้เป็นเทรนด์ที่จะถูกทำให้ไร้คนกลางแต่ความน่าเชื่อถือยังคงอยู่ เมื่อใดที่แพร่หลายและเป็นรูปเป็นร่างมากกว่าทุกวันนี้คงเปลี่ยนหน้าประวัติศาสตร์ของการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ (HRM) ไปได้อีกมากทีเดียว



3. เครื่องมือในการวิเคราะห์บุคคล (People Analytics Tools)

ปัญหาของการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ (HRM) มักจะเป็นปัญหาเรื่องพนักงานในองค์กรกับเป้าหมายขององค์กรไม่ไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งสามารถแก้ไขได้โดยการใช้เทคโนโลยีการรวบรวมข้อมูลไปสู่ Big data และปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) ที่ทำให้กระบวนการต่าง ๆ ง่ายขึ้นดังเช่น

กระบวนการอบรม (Training) : ค้นหาวิธีการสอนและรูปแบบการเรียนรู้ที่จูงใจและสร้างความท้าทายใหม่ ๆ ให้กับพนักงานแต่ละกลุ่ม

กระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมและผูกพันกับองค์กร (Engagement) : ค้นหาว่าปัจจัยใดที่มีผลต่อความผูกพันระหว่างพนักงานกับองค์กร แทนการใช้วิธีเดิมเช่นแบบสอบถาม

กระบวนการจัดสรรทรัพยากร (Resource allocation) : ค้นหาทรัพยกรบุคคลจากแผนกหนึ่งไปสู่อีกแผนกหนึ่งอย่างเหมาะสมได้โดยไม่ต้องจ้างงานใหม่

ซึ่งเครื่องมือการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ (HRM) ที่สามารถนำเอาข้อมูลทุกอย่างข้างต้นผนวกรวมกันแล้ววิเคราะห์ถึงความสัมพันธ์ต่าง ๆ ของบุคคลในองค์กรได้ นับว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจไม่น้อย


4. การระบุตัวตนทางชีวภาพ (Biometric Tracking System)

3,500 ล้าน คือจำนวนสมาร์ทโฟนที่มนุษย์กว่าครึ่งหนึ่งบนดาวโลกใช้กันอยู่และเทคโนโลยีในการระบุตัวตนทางชีวภาพที่นิยมใช้กันอยู่คือ การแสกนใบหน้า ลายนิ้วมือและเสียง เมื่อประยุกต์ใช้กับการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ (HRM) แล้ว สิ่งที่นำมาปรับใช้ได้ง่ายที่สุดก็คือ การแสกนใบหน้าและลายนิ้วมือ ผนวกรวมกับการบันทึกเวลาเข้า-ออกการทำงานและระบบการคำนวณเงินเดือน ทำให้องค์กรได้ประโยชน์จากการระบุตัวต้นแบบชีวภาพดังนี้

• ได้ความถูกต้องและแม่นยำของข้อมูล

• ประหยัดเวลา

• ลดต้นทุนแรงงาน

• สร้างวัฒนธรรมการตรงต่อเวลา


5. Connected Platform

สิ่งที่มนุษย์ยุคปัจจุบันหลีกเลี่ยงได้ยากคือการดำเนินชีวิตไปกับอินเทอร์เน็ต คำศัพท์ที่เรียกว่า IoT (Internet of Things) จึงเริ่มมีบทบาทมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งมองทั้งหมดนี้เป็นภาพใหญ่ของแพลตฟอร์มที่เรียกว่า Connected โดยนำมาประยุกต์ใช้กับการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ (HRM) ตามมิติต่างๆ ได้ดังนี้

องค์กร : การทำงานนอกสถานที่และการประชุมออนไลน์

พนักงาน : การอบรมหรือการสอนงานย่อยต่างๆ ทางออนไลน์

คำว่า Connect แพลตฟอร์มในการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ (HRM) ก็คือ เทคโนโลยีในการต่อเชื่อมมิติดังกล่าวข้างต้นเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อสร้างความพอใจแก่ทุกฝ่าย เพื่อนำมาซึ่งประสิทธิผลที่ดีขององค์กรและพนักงานต่อไป


6. การบริหารจัดการประสิทธิผลแบบ Real Time

ปัจจุบันการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ (HRM) สามารถผสมผสานเทคโนโลยีเพื่อสร้างเป็นแพลตฟอร์มให้พนักงานในองค์กรใช้สื่อสารกัน โดยเฉพาะระหว่างหัวหน้าทีมและลูกทีม ใช้แพลตฟอร์มนี้ในการตั้งเป้าหมายของงานต่าง ๆ ที่มอบหมายจากหัวหน้าทีมสู่ลูกน้องในทีม เมื่องานเสร็จสมบูรณ์ หัวหน้าก็สามารถรีวิวผลลัพธ์ของงานนั้นได้ทันที ในทางกลับกันลูกทีมก็สามารถสื่อสารผ่านแพลตฟอร์มนี้ให้หัวหน้าทีมได้รู้ถึงความยากลำบากหรือคำแนะนำที่จำเป็นเพื่อพัฒนางานต่อไป นับเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจในการทำงานรวมถึงความสัมพันธ์อันดีระหว่างพนักงานทุกระดับด้วย


สรุปเทรนด์เทคโนโลยีเปลี่ยนโลก มีความความสำคัญอย่างไร

สำหรับเทคโนโลยีและเทรนด์ที่กำลังเป็นที่นิยมในวงการการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ (HRM) ที่นับวันจะมีคนใช้มากขึ้นเรื่อย ๆ หากย้อนไปสัก 5-10 ปีก่อนคงไม่มีเทคโนโลยีเหล่านี้ในวงการการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ (HRM) มากนัก นับได้ว่าเทคโนโลยีเหล่านี้เป็นกุญแจสำคัญหนึ่งที่ช่วยขับเคลื่อนองค์กรและสร้างคุณค่าดี ๆ ให้กับพนักงานในองค์กร การเปลี่ยนแปลงคงไม่สามารถเกิดได้ในชั่วข้ามคืน แต่การเปลี่ยนแปลงทีละเล็กทีละน้อยพร้อมความมั่นคงนี้จะสร้างผลลัพธ์ที่ยิ่งใหญ่ให้กับองค์กรได้

โปรแกรมเงินเดือน HumanSoft
ทดลองใช้ฟรี 30 วันครบทุกฟังก์ชัน
  • บริการขึ้นระบบ ฟรี
  • ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น
  • ยกเลิกเมื่อไหร่ก็ได้