หนึ่งในแบบฟอร์มสำคัญที่ HR ต้องใช้คือ หนังสือพ้นสภาพการเป็นพนักงาน โดยหนังสือนี้มีลักษณะตัวอย่างมีเนื้อหาอย่างไรบ้าง มาดูกันในบทความนี้
บทความเกี่ยวข้องที่น่าสนใจ :
- การพ้นสภาพการเป็นพนักงานและการจ่ายค่าชดเชย มีเงื่อนไขใดบ้าง
- “พ้นสภาพ” กับ “ลาออก” ของพนักงานต่างกันอย่างไร?
- Q&A เลิกจ้างพนักงาน ต้องจ่ายเงินชดเชยเท่าไร? ตามกฎหมายแรงงาน
ทำความรู้จักหนังสือแจ้งพ้นสภาพการเป็นพนักงาน
เชื่อว่าทุกคนรู้จักการพ้นสภาพการเป็นพนักงานกันอยู่แล้ว และเป็นเรื่องที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นในองค์กร แต่ในบางกรณีก็ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ หากเกิดเหตุการณ์ที่ผิดกฎระเบียบข้อบังคับขององค์กรขึ้น HR ก็จำเป็นที่จะต้องใช้งานหนังสือพ้นสภาพการเป็นพนักงานทันที
ซึ่งหนังสือพ้นสภาพการเป็นพนักงาน คือ เอกสารที่นายจ้างใช้แจ้งให้พนักงานทราบว่า พ้นสภาพเป็นพนักงานของบริษัท โดยมีผลตั้งแต่วันที่ระบุไว้ในเอกสารนั้น โดยเนื้อหาสำคัญที่จะอยู่ในหนังสือมีดังนี้
- หัวข้อ: หนังสือแจ้งพ้นสภาพการเป็นพนักงาน
- เลขที่เอกสาร:
- วันที่:
- เรื่อง:
- ชื่อ-นามสกุล: ของพนักงาน
- ตำแหน่ง:
- แผนก:
- สาเหตุการพ้นสภาพ:
- วันสิ้นสุดสัญญาจ้าง:
- สิทธิประโยชน์หลังพ้นสภาพ: เช่น เงินชดเชย ค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
- ลายเซ็นผู้มีอำนาจ:
- ตราประทับบริษัท:
หนังสือพ้นสภาพการเป็นพนักงาน ดาวน์โหลดฟรีที่นี่ >> คลิก
สาเหตุของการพ้นสภาพการเป็นพนักงาน
สาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้ HR ต้องแจ้งพ้นสภาพการเป็นพนักงานนั้น มีหลากหลายสาเหตุ โดยตัวอย่างสาเหตุที่พบเจอบ่อยๆ มีดังนี้
- ลาออก : พนักงานเป็นฝ่ายขอลาออกจากงานเอง
- ถูกเลิกจ้าง : นายจ้างเป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญาจ้าง
- ขาดงานติดต่อกัน : พนักงานขาดงานติดต่อกันเป็นเวลา 3 วันขึ้นไปโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
- กระทำผิดวินัย : พนักงานกระทำผิดกฎระเบียบบริษัทจนถูกลงโทษทางวินัย
- อื่นๆ : กรณีอื่นๆ ตามที่กฎหมายหรือสัญญาจ้างกำหนด
และบางกรณีที่เมื่อนายจ้างแจ้งพ้นสภาพการเป็นพนักงานแล้ว จำเป็นต้องจ่ายเงินชดเชยเลิกจ้างให้กับพนักงานตามกฎหมายแรงงานด้วย โดยสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับค่าชดเชยของการพ้นสภาพการเป็นพนักงานได้ที่นี่ >> พ้นสภาพการเป็นพนักงาน
สรุปหนังสือพ้นสภาพการเป็นพนักงาน
หนังสือพ้นสภาพการเป็นพนักงานนั้นเป็นเอกสารสำคัญอีกหนึ่งอย่าง ที่ใช้ในการแจ้งสิ้นสุดการเป็นพนักงาน ซึ่งหนังสือนั้น ต้องมีความชัดเจนและถูกต้องตามกฎหมายแรงงาน เพื่อให้พนักงานทราบและเข้าใจทุกรายละเอียดที่อยู่ในเอกสาร โดยนายจ้างหรือ HR ควรทำหนังสือพ้นสภาพการเป็นพนักงานนี้ให้เป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อให้เอกสารสามารถคุ้มครองสิทธิของทั้งในส่วนของนายจ้างและลูกจ้างได้ในภายหลัง