PageView Facebook
date_range 04/10/2024 visibility 1251 views
bookmark HR Knowledge
พนักงานเกษียณอายุตามกฎหมายแรงงาน มีอัตราค่าชดเชยอย่างไร? - blog image preview
Blog >พนักงานเกษียณอายุตามกฎหมายแรงงาน มีอัตราค่าชดเชยอย่างไร?

ไขข้อสงสัย หากพนักงานเกษียณอายุ จะได้รับค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงานในอัตราค่าชดเชยเท่าไหร่บ้าง วันนี้ HumanSoft รวบรวมข้อมูลดี ๆ มาฝาก ไปติดตามได้จากบทความนี้


อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม


ว่าด้วยเรื่อง “การจ่ายค่าชดเชยพนักงานที่เกษียณอายุ”


“การเกษียณอายุถือเป็นหนึ่งในการเลิกจ้างอย่างหนึ่ง” ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน มาตรา 118/1 บัญญัติเกี่ยวกับการเกษียณอายุการทำงานและการจ่ายค่าชดเชยให้แก่พนักงาน ดังนี้

 

การเกษียณอายุตามที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกัน หรือตามที่นายจ้างกำหนดไว้ ให้ถือเป็นการเลิกจ้างตามมาตรา 118 วรรคสอง

 

ในกรณีที่มิได้มีการตกลงหรือกำหนดการเกษียณอายุเอาไว้ หรือมีการตกลงหรือกำหนดการเกษียณอายุไว้เกินกว่าหกสิบปี ให้ลูกจ้าที่มีอายุครบหกสิบปีขึ้นไปมีสิทธิแสดงเจตนาเกษียณอายุได้ โดยให้แสดงเจตนาต่อนายจ้างและให้มีผลเมื่อครบสามสิบวันนับแต่วันแสดงเจตนา และให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างที่เกษียณอายุนั้นตามมาตรา 118 วรรคหนึ่ง


การจ่ายค่าชดเชยให้แก่พนักงานเกษียณอายุ


การเกษียณอายุ นับเป็นการเลิกจ้างในรูปแบบหนึ่ง สิ่งที่ HR ควรทำ คือ การพิจารณาการจ่ายค่าชดเชยให้แก่พนักงานที่เกษียณอายุ โดยสามารถแบ่งออกเป็น 2 กรณี ดังต่อไปนี้


 

กรณีที่ 1 นายจ้างกำหนดการเกษียณอายุ “ก่อนครบ 60 ปี บริบูรณ์”

ให้ถือว่าการเกษียณอายุเป็นไปตามข้ออบังคับเกี่ยวกับการทำงาน หรือสัญญาจ้าง หรือข้อตกลงระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง

 

กรณีที่ 2 นายจ้างกำหนดการเกษียณอายุ “เกินกว่า 60 ปี บริบูรณ์”

ในกรณีนี้ ลูกจ้างมีสิทธิขอเกษียณอายุได้เมื่อมีอายุครบ 60 ปีขึ้นไป และให้มีผลเมื่อครบ 30 วันหลังจากการแสดงเจตนา และนายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้างด้วย  


อัตราค่าชดเชยสำหรับพนักงานเกษียณอายุ


เมื่อการเกษียณอายุ ถือว่าเป็น “การเลิกจ้าง” นายจ้างจึงมีหน้าที่ต้องจ่าย “ค่าชดเชย” ให้แก่ลูกจ้างที่เกษียณอายุนั้นตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ ตามมาตรา 118 วรรคหนึ่งกำหนดไว้แล้วแต่กรณี ซึ่งขึ้นอยู่กับระยะเวลาการทำงานของลูกจ้าง ดังนี้

 


  1. ลูกจ้างที่ทำงานครบ 120 วัน แต่ไม่ครบ 1 ปี จะได้ค่าชดเชย 30 วัน หรือ 1 เดือน
  2. ลูกจ้างหากทำงานครบ 1 ปีแต่ไม่ครบ 3 ปี จะได้ค่าชดเชย 90 วัน หรือ 3 เดือน
  3. ลูกจ้างทำงานครบ 3 ปีแต่ไม่ครบ 6 ปี จะได้รับเงินชดเชย 180 วัน 6 เดือน
  4. ลูกจ้างทำงานครบ 6 ปี แต่ไม่ครบ 10 ปี จะได้รับเงินชดเชย 240 วัน หรือ 8 เดือน
  5. ลูกจ้างทำงานครบ 10 ปี แต่ไม่ครบ 20 ปี จะได้เงินชดเชย 300 วัน หรือ 10 เดือน
  6. ลูกจ้างทำงานครบ 20 ปีขึ้นไป จะได้รับเงินชดเชย 400 วัน หรือ 13.33 เดือน

 

ตัวอย่างการคำนวณค่าชดเชย

การคำนวณเงินค่าจ้างรายวัน = เงินเดือน เดือนสุดท้าย X 12 หารด้วย 365 = ค่าจ้างต่อวัน

 

เช่น พนักงาน A ทำงานครบ 6 ปี โดยได้รับเงินเดือน 40,000 บาท ตามกฎหมายกำหนดให้ได้รับค่าชดเชยเป็นระยะเวลา 180 วัน (6 เดือน)

พนักงาน A  จะได้รับค่าชดเชย             = 40,000 X 12/365 = 1,315 บาท/วัน

พนักงาน A ทำงานเป็นระยะเวลา 6 ปี = 1,315 X 180 วัน

ดังนั้น พนักงาน A จะได้รับค่าชดเชย = 236,712 บาท



สรุป พนักงานเกษียณอายุตามกฎหมายแรงงาน มีอัตราค่าชดเชยอย่างไรบ้าง

 

โดยสรุปแล้ว อัตราค่าชดเชยสำหรับพนักงานเกษียณตามกฎหมายแรงงาน ควรมีการตกลงกันระหว่างนายจ้างและลูกจ้างตามมาตรา 118 วรรคหนึ่ง และ มาตรา 118 วรรคสอง โดย HumaSoft ได้รวบรวมข้อมูลอัตราค่าชดเชยสำหรับพนักงานเกษียณอายุมาให้นายจ้างทุกท่านแล้ว นอกจากนี้ ในบางกรณีอาจมีข้อยกเว้นหรือเงื่อนไขเฉพาะเพิ่มเติม ดังนั้นนายจ้างควรตรวจสอบกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือฝ่ายทรัพยากรบุคคลของบริษัท เพื่อให้แน่ใจว่าคำนวณค่าชดเชยได้ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด

hms-helpful-shadow svg fileโปรแกรมเงินเดือน HumanSoft
ทดลองใช้ฟรี 30 วันครบทุกฟังก์ชัน
  • บริการขึ้นระบบ ฟรี
  • ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น
  • ยกเลิกเมื่อไหร่ก็ได้