PageView Facebook
date_range 21/05/2024 visibility 432 views
bookmark HR Knowledge
วิธีรับมือกับ Job Demotion ที่ HR ต้องรู้ - blog image preview
Blog >วิธีรับมือกับ Job Demotion ที่ HR ต้องรู้

Job Demotion หรือ การลดตำแหน่งงาน ถือเป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่องค์กร และ HR ต้องให้ความสำคัญ แล้ว HR จะมีวิธีรับมือกับการลดตำแหน่งงานของพนักงานอย่างไร ไปดูกันเลย


อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม


Job Demotion คืออะไร?


Job Demotion หรือ การลดตำแหน่งงาน คือ การที่พนักงานคนใดคนหนึ่งถูกปรับลดจากตำแหน่งที่ถูกวางเอาไว้ หรือถูกปลดจากการเป็นหัวหน้า ซึ่งเกิดได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็น ความผิดพลาดของพนักงาน, ผลงานมีประสิทธิภาพไม่มากพอ, หรือเกิดจากการเปลี่ยนแปลงขององค์กร เป็นต้น


สาเหตุของการลดตำแหน่งพนักงาน (Job Demotion)



พนักงานทำผลงานได้ไม่ตรงตามเป้าหมาย

พนักงานไม่สามารถบรรลุเป้าหมายที่องค์กรกำหนดไว้ได้ อีกทั้งพนักงานยังทำงานผิดพลาดบ่อยครั้ง หรือขาดทักษะที่จำเป็นสำหรับตำแหน่งงานนั้น ๆ อีกด้วย

 

พฤติกรรมไม่เหมาะสม

พนักงานมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมกับเพื่อนร่วมงาน หัวหน้า หรือลูกค้า ไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบขององค์กร

 

การลดงบประมาณ

องค์กรทุกแห่งล้วนมีโอกาสประสบกับปัญหาทางด้านการเงิน ซึ่งถือเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้องค์กรต้องปรับลดค่าใช้จ่ายของพนักงานบางราย เพื่อดำรงสถานะทางการเงินให้คงอยู่ต่อไป ทั้งนี้อาจเป็นการปรับลดตำแหน่งเพียงชั่วคราว จนกว่าองค์กรจะวางแผน และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้

 

ขาดความรับผิดชอบ

พนักงานไม่สามารถบริหารจัดการเวลาการทำงานได้ ขาดความรอบคอบ และไม่ใส่ใจในรายละเอียดของงาน ทำให้ตารางการทำงานล่าช้ากว่าแผนที่กำหนด


หากต้องลดตำแหน่งพนักงาน HR จะมีวิธีการรับมืออย่างไร?


การลดตำแหน่งพนักงานถือเป็นเรื่องละเอียดอ่อน HR นับว่ามีบทบาทสำคัญในการจัดการกับสถานการณ์นี้ โดย HR ต้องรู้จักวิธีการสื่อสาร ต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อพนักงาน และต้องปฏิบัติตามแนวทางที่ถูกต้อง เพื่อลดความขัดแย้งที่จะเกิดขึ้นภายในองค์กรอีกด้วย หาก HR ต้องตกอยู่ในสถานการณ์นี้ HR จะมีวิธีการรับมืออย่างไร ไปดูกันเลย


 

สื่อสารกับพนักงานอย่างตรงไปตรงมา

HR มืออาชีพ ต้องรู้จักการสื่อสารและชี้แจงด้วยเหตุผล ไม่ใช้อารมณ์ หรือ อคติส่วนตัว สิ่งสำคัญคือ HR ควรเปิดโอกาสให้พนักงานสอบถามในประเด็นที่สงสัย เนื่องจากการถูกปรับลดตำแหน่งส่งผลต่อพนักงานโดยตรง

 

ชี้แจงสาเหตุและแนะนำวิธีแก้ไข

เมื่อแจ้งข่าวกับพนักงานเรียบร้อยแล้ว สิ่งที่สำคัญคือ พนักงานจำเป็นต้องทราบว่าตนเองมีจุดบดพร่องด้านใดบ้าง เนื่องจากการถูกลดตำแหน่งงาน ส่วนหนึ่งอาจเกิดจากการที่พนักงานไม่สามารถปฏิบัติงานได้ตามเป้าหมายที่องค์กรตั้งไว้ ดังนั้น การปรับลดตำแหน่งงานจึงเป็นกลยุทธ์เพื่อช่วยให้พนักงานได้กลับมาทบทวนตนเอง มองเห็นจุดบกพร่อง และสามารถแก้ไขได้อย่างถูกจุด

 

ให้ความสำคัญกับการรักษาพนักงาน

HR หลาย ๆ คนคงทราบกันดีอยู่แล้วว่าการให้ความสำคัญกับการรักษาพนักงานเก่าให้อยู่กับองค์กร ถือเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม แน่นอนว่าทุกคนย่อมกังวลเรื่องความมั่นคงในหน้าที่การงาน ดังนั้น บทบาทสำคัญของ HR คือต้องยืนยันว่าวิธีนี้จะสามารถช่วยให้พนักงานได้ทราบถึงข้อบกพร่องของตนเอง และสามารถแก้ไขในจุดนี้ได้ อีกทั้งยังแสดงให้พนักงานเห็นว่าองค์กรให้ความสำคัญ และต้องการให้พนักงานทำงานร่วมกันกับองค์กรต่อไปได้ โดยที่องค์กรไม่ต้องสูญเสียบุคลากรเก่ง ๆ ที่มีคุณภาพอีกด้วย

 

ให้รายละเอียดของตำแหน่งใหม่อย่างชัดเจน

องค์กรและ HR มีหน้าที่ชี้แจงให้พนักงานทราบว่า ตำแหน่งงานใหม่นี้ มีลักษณะการทำงานอย่างไร มีเป้าหมายในระยะสั้นและระยะยาวเช่นไร เพื่อให้พนักงานสามารถไปฝึกฝนทักษะ ความรู้เพิ่มเติม และเพื่อให้พนักงานสามารถโฟกัสงานได้อย่างถูกจุด ขั้นตอนนี้จะส่งผลดีในรอบการประเมินผลงานของพนักงานในครั้งต่อไปได้อีกด้วย


สรุปวิธีรับมือกับ Job Demotion ที่ HR ต้องรู้


โดยสรุปแล้ว วิธีรับมือกับ Job Demotion ที่ HR ต้องรู้ มีวิธีการที่ไม่ยุ่งยาก สิ่งสำคัญคือ HR ต้องรู้จักสื่อสารให้ถูกวิธี ใช้ภาษาที่สร้างสรรค์ ไม่ใช้อารมณ์ส่วนตัวมาเกี่ยวข้อง HR ต้องแจ้งข่าวกับพนักงานอย่างตรงไปตรงมา, ชี้แจงสาเหตุและวิธีแก้ไข, ให้ความสำคัญกับการรักษาพนักงานให้คงอยู่ และต้องให้รายละเอียดงานใหม่ให้ชัดเจน เพื่อให้พนักงานเรียนรู้และโฟกัสงานใหม่ได้อย่างตรงจุด

โปรแกรมเงินเดือน HumanSoft
ทดลองใช้ฟรี 30 วันครบทุกฟังก์ชัน
  • บริการขึ้นระบบ ฟรี
  • ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น
  • ยกเลิกเมื่อไหร่ก็ได้