PageView Facebook
date_range 10/11/2023 visibility 7347 views
bookmark HR Trend
HR Trend 2024 - blog image preview
Blog >HR Trend 2024

ใกล้สิ้นสุดปี 2023 แล้ว ต่อไป Trend การทำงานของ HR 2024 จะมีแนวทางอย่างไร และ HR จะต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้างเพื่อให้บริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด มาดูกัน


บทความเกี่ยวข้องที่คุณอาจสนใจ :




HR Trend 2024


ในปี 2024 นั้น เราจะเห็นการเปลี่ยนแปลงพื้นฐาน 3 ประการ ที่จะช่วยยกระดับการทำงานของ HR และเป็นปัจจัยในการขับเคลื่อน รวมถึงเป็นตัวกำหนดแนวโน้มด้านทรัพยากรบุคคลในอนาคตด้วย ได้แก่


ประการที่ 1 ฝ่ายทรัพยากรบุคคลจะจัดลำดับความสำคัญใหม่ โดยสะท้อนถึงความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปของพนักงานยุคใหม่


ประการที่ 2 ปรับวิธีการดำเนินงานของฝ่ายทรัพยากรบุคคลใหม่ โดยมุ่งเน้นการสร้างคุณค่าให้กับลูกค้าภายในองค์กร


ประการที่ 3 ฝ่ายทรัพยากรบุคคลควรยกระดับตัวเองขึ้นมาเพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงที่มีคุณค่าในโลกแห่งการทำงาน


การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้จะส่ง HR ไปสู่การเดินทางที่น่าตื่นเต้นพร้อมกับโอกาส ความท้าทาย ที่ฝ่ายทรัพยากรบุคคลเป็นศูนย์กลางในการยกระดับการทำงานสำหรับทุกคน โดยแนวโน้ม HR Trend 2024 ที่ถูกคาดการณ์จากการเปลี่ยนแปลงมีดังนี้


1. การจัดลำดับความสำคัญของทรัพยากรบุคคล (HR realigning priorities)


บทบาทของฝ่ายทรัพยากรบุคคล กำลังอยู่ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดด หน้าที่ของฝ่ายทรัพยากรบุคคลจึงต้องเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย รูปแบบการทำงานเดิมๆ ไม่สามารถใช้ได้อีกต่อไป เพราะเมื่อเทคโนโลยีเข้ามามีส่วนร่วมกับวิถีการทำงานของเรามากขึ้น ฝ่ายทรัพยากรบุคคลจึงจำเป็นต้องนำเทคโนโลยีมาใช้ประโยชน์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้มากที่สุด ซึ่งสามารถนำมาทดแทนบุคคลากรบางส่วนได้เลยหากนำมาใช้งานอย่างถูกต้อง และจะส่งผลให้องค์กรเติบโตได้อย่างรวดเร็ว


ทั้งหมดนี้เป็นเหตุผลให้ว่า ทำไมฝ่ายทรัพยากรบุคคลจึงจำเป็นต้องจัดลำดับความสำคัญใหม่ โดยการเป็นแกนนำในการเปลี่ยนแปลงมุ่งสู่อนาคตที่ยั่งยืน และมุ่งเน้นธุรกิจให้มากขึ้น ดังนี้



1.1 การแก้ไขปัญหาด้าน Productivity Paradox

จากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีอย่างก้าวกระโดดเป็นประวัติการ ในระหว่างช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ทำให้ผลผลิตของทรัพยากรบุคคลอยู่ในระดับสูงมาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นการมีส่วนร่วมของพนักงาน ประสบการณ์ของพนักงาน และการมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน ทำให้ทรัพยากรบุคคลเหล่านี้เกิดความพึงพอใจในการทำงานสูงสุดในประเทศสหรัฐอเมริการในรอบ 36 ปีที่ผ่านมา แต่กลับไม่ได้ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานดีขึ้น


อย่างไรก็ตามปัญหาคือเรื่องของประสิทธิภาพของการทำงาน ที่สวนทางกับผลผลิตดังกล่าวอย่างเห็นได้ชัด ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของ HR ที่ต้องหาคำตอบว่าจะประยุกต์เอาสิ่งเหล่านี้มาทำให้เกิดผลผลิตที่มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิมได้อย่างไร


1.2 การเข้าถึงแรงงานที่เคยถูกมองข้าม

ช่วงเวลาที่อัตราการว่างงานต่ำเป็นประวัติการณ์ และองค์กรต่างๆ ล้วนหมดหวังในการสรรหาบุคลากรที่มีความสามารถ HR จึงต้องหันมาให้ความสำคัญกับแรงงานที่เคยถูกมองข้ามไป โดยเรียกว่า “Forgotten Workforce” ซึ่งคิดเป็น 14-17% ในประเทศสหรัฐอเมริกา และยังรวมถึงผู้เกษียณอายุที่ยังต้องการทำงานอีกด้วย หรือแม้กระทั่งพนักงานรายวันที่ยังไม่ได้ทำงานภายใต้เงินเดือนและสวัสดิการบริษัทที่เหมาะสม


1.3 ให้ความสำคัญกับความแตกต่างมากกว่าเดิม

ตลอดปีที่ผ่านมานั้น แผนการขององค์กรที่เต็มไปด้วยความตั้งใจเกี่ยวกับเรื่องความแตกต่างนี้ ยังไม่ได้ก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีอย่างเป็นรูปธรรม HR จึงต้องยกระดับในเรื่องความแตกต่างนี้ไปอีกหนึ่งขั้น เพื่อให้ความสำคัญกับความแตกต่างที่มากกว่าเดิม


1.4 ปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม

ถึงแม้ว่าบทบาทของ HR ต่อการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมนั้นจะยังเป็นบทบาทใหม่ แต่ก็มีความสำคัญขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะองค์กรต่างพยายามปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ เพื่อให้บุคลากรในองค์กร ได้รับข้อมูล และเตรียมพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมนี้อยู่เสมอ



2. รูปแบบการดำเนินงานที่เปลี่ยนไป (HR operating model changes)

รูปแบบการดำเนินงานของฝ่ายทรัพยากรบุคคลส่วนใหญ่ยังคงเหมือนเดิมมาเป็นเวลากว่า 2 ทศวรรศ แม้ว่าโลกจะมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากก็ตาม แต่หลังจากสถานณการณ์ที่ผ่านมา ทำให้รูปแบบการดำเนินงานได้ถูกเปลี่ยนแปลงไปอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และ HR ต้องอยู่กับความวุ่นวายและคอยรับมือกับปัญหาต่างๆ อยู่ตลอดเวลา


ดังนั้น สายงาน HR จึงต้องเป็นฝ่ายพัฒนาตนเอง จากเดิมที่เคยเป็นเพียงผู้สนับสนุน มาเป็นผู้พลักดันธุรกิจให้บรรลุเป้าหมาย ซึ่ง HR ต้องรู้ว่าจะใช้แนวทางปฏิบัต ใช้ข้อมูล และใช้เทคโนโลยีในปัจจุบันอย่างไรให้บรรลุเป้าหมายขององค์กรตามที่ตั้งไว้ โดยนำไปสู่ HR Trend 3 ประการ ดังนี้



2.1 ต้องรู้วิธีแก้ปัญหาสำหรับเรื่องต่างๆ ได้

โมเดลธุรกิจถูกพัฒนาให้เป็นดิจิทัลมากขึ้น และปรับตัวให้เข้ากับความต้องการที่เปลี่ยนไปของผู้บริโภค ทำให้ลักษณะการทำงานแบบตัวคนเดียวค่อยๆ หายไป กลายเป็นการทำงานแบบผสมผสานหรือมีส่วนร่วมข้ามสายงานกันมากขึ้น


2.2 ต้องเป็นผู้วางกลยุทธ์

เมื่อ HR ไม่ได้เป็นเพียงผู้สนับสนุนอีกต่อไป แต่ทำหน้าที่นำความเปลี่ยนแปลงมาสู่องค์กร จึงต้องกลายเป็นผู้วางกลยุทธ์ และต้องไม่กำหนดงานไว้เพียงแค่การเป็นแอดมินเท่านั้น ซึ่งจะสามารถสร้างความภูมิใจให้กับฝ่ายทรัพยากรบุคคลอีกด้วย


2.3 ต้องรู้จักการประชาสัมพันธ์

HR ต้องรู้จักวิธีการสื่อสารให้เหมาะสม ต้องร่วมงานกับฝ่ายการตลาด ไม่ว่าจะเป็นการประชาสัมพันธ์องค์กรหรือเพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อปัญหาก็ตาม เพราะในปัจจุบันมีการแบ่งปันประสบการณ์ การพูดถึงเรื่องงานบนโลกออนไลน์ การสมัครงานออนไลน์มากขึ้นเรื่อยๆ หาก HR แสดงออกผิดพลาด ก็มีโอกาสที่จะเกิดปัญหาตามมาผ่านการใช้สื่อออนไลน์ของพนักงานด้วย


3. HR คือผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่ดี (HR as a force for good)


เมื่อมีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น HR ต้องรู้ว่าสิ่งที่ถูกต้องที่สุดคืออะไร เป้าหมายขององค์กรคืออะไร ต้องทำให้บุคลากรเห็นคุณค่าของงาน ไม่ทำงานไปวันๆ อย่างไร้ประโยชน์ และหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงที่ว่านี้ เช่น การเติบโตของปัญญาประดิษฐ์ (Ai) ที่อาจนำมาแทนการทำงานของบุคลากรบางส่วนได้ หากเรานำมาใช้อย่างถูกต้องก็จะเป็นประโยชน์ แต่หากใช้โดยไม่สนใจผู้อื่น อาจลดคุณค่าของการทำงานนั้นไปได้ด้วย ดังนั้น องค์กรจะเติบโตได้ต้องอาศัยการยกระดับการทำงานไปพร้อมๆ กับการดูแลพนักงานอย่างถูกวิธี จึงนำไปสู่ HR Trend ทั้ง 4 ประการ ดังนี้



3.1 ใช้ปัญญาประดิษฐ์ให้เกิดประโยชน์ต่อองค์กร

การเติบโตของ Generative Artificial Intelligence (GAI) เช่น ChatGPT ได้ส่งผลกระทบอย่างมากต่อพนักงานในปี 2566 รูปแบบการทำงานจะมีการพึ่งพาอาศัยกันมากขึ้น และองค์กรต้องบูรณาการให้ AI ทำงานร่วมกับบุคลากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะสิ่งเหล่านี้จะกลายเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการเติบโตของธุรกิจอย่างยั่งยืน


3.2 เปลี่ยนจาก Work Life Balance เป็น Work Life Fit

จากสถานการณ์โควิดที่ผ่านมา ทำให้มนุษย์เราคุ้นเคยกับการทำงานตัวคนเดียวมากขึ้น สามารถจัดสรรเวลาได้ตามใจ ไม่ได้มีการถูกควบคุมเหมือนอยู่ในออฟฟิศ จากนั้น มีผลวิจัยที่ระบุว่า พนักงานประมาณ 15% ยืนยันว่าจะไม่กลับไปทำงานในออฟฟิศแบบเต็มเวลาอีกต่อไป ไม่ว่าจะได้รับค่าจ้างมากขึ้นเท่าไรก็ตาม ซึ่งหมายความว่าสิ่งที่พนักงานมองหาไม่ใช่สมดุลชีวิตของการทำงานแบบเดิมๆ ที่ใช้เวลาทำงานและเวลาว่างอย่างลงตัว ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ขององค์กรที่ต้องคิดค้นวิถีการทำงานใหม่ๆ ให้สร้างสรรค์และมีประโยชน์กับทั้งพนักงานและองค์กรให้ได้มากที่สุด


3.3 สิ้นสุดการทำงานที่ไร้ความหมาย (The end of BS jobs)

แบบสำรวจในประเทศอังกฤษพบว่าพนักงาน 37% มองว่างานของตนไม่มีความหมาย ไม่น่าภูมิใจ และต่อจากนั้นงานวิจัยคาดว่าจะมีตำแหน่งงาน 83 ล้านตำแหน่งที่จะสู่ญหาย และมีจำนวนงานใหม่เกิดขื้น 69 ล้านตำแหน่ง ซึ่งจากอัตราตัวเลขนี้ ทำให้พนักงานมีโอกาสเลือกงานที่เหมาะสมตามความต้องการของตนเองมากขื้น งานที่มีความหมาย มีการพัฒนา ไม่ทำงานแบบไร้ความหมายไปวันๆ อีกต่อไป ดังนั้น HR ต้องบริหารจัดการโครงสร้างองค์กรและภาพลักษณ์ขององค์กรไว้ให้ดี เพื่อจะได้ออกแบบตำแหน่งงานที่มีความหมายให้ตรงกับจุดแข็งของพนักงาน ซึ่งจะทำให้องค์กรได้เปรียบทางการแข่งขันในตลาดแรงงานอีกด้วย


3.4 หาทางเข้าถึงและดึงดูดผู้สมัครให้มากขึ้น

ตลาดแรงงานในปัจจุบัน มีการแข่งขันกันอย่างรุนแรง และยังมีผู้ที่อยู่ในระบบนี้น้อยที่สุดเป็นประวัติการอีกด้วย ดังนั้น องค์กรจึงต้องหันมาใส่ใจในความสามารถที่จะดึงดูดคนเก่งๆ ให้มาสมัครงานกับองค์กร โดยผู้เชี่ยวชาญได้ระบุสิ่งที่พนักงานมองหาและองค์กรต้องมีไว้ดังนี้

  • โอกาสในการเรียนรู้
  • การได้ทำงานที่ตรงกับความต้องการ
  • โอกาสในการก้าวหน้า

สรุป HR Trend 2024


ปี 2024 เป็นปีที่ HR จะขยายออกไปนอกขอบเขตการทำงานแบบเดิมๆ เพราะถือเป็นปีแห่งการเปลี่ยนแปลงอย่างมากปีหนึ่ง ซึ่ง HR Trend 2024 ที่กล่าวมานั้น ไม่เพียงแต่ตอบสนองความต้องการในองค์กรทันทีเท่านั้น แต่เป็นการวางรากฐานสำหรับอนาคตที่ยั่งยืนอีกด้วย และการยอมรับการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้จะช่วยให้ฝ่ายทรัพยากรบุคคลสามารถสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ประสบความสำเร็จ ทั้งด้านพนักงานและด้านการดำเนินธุรกิจต่างๆ ให้ไปถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้พร้อมกับผลตอบแทนที่เหมาะสม

hms-helpful-shadow svg fileโปรแกรมเงินเดือน HumanSoft
ทดลองใช้ฟรี 30 วันครบทุกฟังก์ชัน
  • บริการขึ้นระบบ ฟรี
  • ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น
  • ยกเลิกเมื่อไหร่ก็ได้