วิธีคิดค่าโอทีรายวัน รายเดือน และวันหยุดต่าง ๆ สำหรับมนุษย์เงินเดือน ทั้งการคิดโอทีวันหยุดปกติ วันหยุดนักขัตฤกษ์ตามกฎหมายแรงงาน รวมสูตรไว้ในที่เดียว
บทความเกี่ยวข้องที่คุณอาจสนใจ :
- Q&A บริษัทไม่จ่าย OT แต่ให้เป็นวันหยุดชดเชยสามารถทำได้ไหม?
- ตอบโจทย์ทุกธุรกิจ ด้วยฟังก์ชันคิดค่าโอที
- ให้การคิด OT เป็นเรื่องง่ายด้วยโปรแกรมคำนวณ OT
- ห้ามพลาด! กฎหมายแรงงานที่ลูกจ้างไม่ควรมองข้าม
วิธีคิดค่าโอทีรายวัน รายเดือน และการคิดโอทีวันหยุด
การทำงานล่วงเวลาถือเป็นเรื่องที่เหล่ามนุษย์เงินเดือนต้องพบเจอกันอยู่บ่อยครั้ง บางวันต้องทำงานจนดึกดื่น วันหยุดก็ยังต้องมาทำ แต่กลับไม่ได้รับค่าตอบแทนที่เหมาะสมนั้น เป็นเพราะพนักงานหลายคนยังไม่ทราบถึงวิธีคิดค่าโอทีตามกฎหมายแรงงานที่ถูกต้อง จนถูกเอาเปรียบจากนายจ้างบางคนได้ วันนี้ HumanSoft จึงนำวิธีการคิดโอทีวันหยุดปกติ การคิดโอทีวันหยุดนักขัตฤกษ์ รวมถึงเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ OT ที่มนุษย์เงินเดือนควรรู้ เพื่อป้องกันการถูกเอาเปรียบมาฝากกัน
ลูกจ้าง พนักงาน ต้องทำงานวันละกี่ชั่วโมง
• ลูกจ้างทั่วไป : ตามกฎหมายแรงงานกำหนดให้ลูกจ้างทั่วไปทำงานไม่เกินวันละ 8 ชั่วโมง หรือตามสัญญาที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกัน แต่ต้องไม่เกินสัปดาห์ละ 48 ชั่วโมง
• ลูกจ้างที่ทำงานเป็นอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัย : ตามกฎหมายแรงงานกำหนดให้ลูกจ้างที่ส่วนงานมีลักษณะเป็นอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัย ทำงานไม่เกินวันละ 7 ชั่วโมง และไม่เกินสัปดาห์ละ 42 ชั่วโมง
ซึ่งในหนึ่งวันจะต้องมีเวลาพักไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมงหลังจากที่ลูกจ้างทำงานติดต่อกันไม่เกิน 5 ชั่วโมง โดยสามารถแบ่งเวลาการพักเป็นช่วง ๆ หรือขึ้นอยู่กับการตกลงกันระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง สำหรับกรณีในวันหยุด ลูกจ้างจะต้องมีวันหยุดอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 วัน โดยให้มีระยะห่างกันไม่เกิน 6 วัน
Tips! อ่านต่อเพิ่มเติมได้ที่ >> ห้ามพลาด! กฎหมายแรงงานที่ลูกจ้างไม่ควรมองข้าม
วิธีคิดค่าโอที ตามกฏหมายแรงงาน
OT หรือที่ย่อมาจากคำว่า Overtime เป็นการคำนวณค่าตอบแทนที่พนักงานในองค์กรจะได้รับ จากการทำงานนอกเหนือเวลาทำงานปกติ เช่น ทำงานต่อจากเวลาเลิกงาน หรือทำงานในวันหยุด ซึ่งวิธีคิดค่าโอทีตามกฏหมายแรงงาน นายจ้างสามารถให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาได้เท่าที่จำเป็น ซึ่งต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างก่อนเท่านั้น
ยกเว้นงานที่มีลักษณะต้องทำติดต่อกัน หากหยุดจะส่งผลเสียแก่งาน หรือเป็นงานฉุกเฉิน ยกตัวอย่างเช่น งานกิจการโรงแรม งานสถานมหรสพ งานขนส่ง งานสโมสรหรือสมาคม และงานสถานพยาบาล ที่ไม่จำเป็นต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างก่อน เป็นต้น ทั้งนี้การทำ OT ล่วงเวลาการทำงาน หรือการทำงานในวันหยุด รวมถึงการทำงานล่วงเวลาในวันหยุด ทั้งวันปกติและวันนักขัตฤกษ์ รวมแล้วจะต้องไม่เกิน 36 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และในกรณีที่พนักงานต้องทำงานล่วงเวลามามากกว่า 2 ชั่วโมง นายจ้างจำเป็นต้องมีเวลาให้ลูกจ้างได้พักอย่างน้อย 20 นาที
รวมวิธีคิดค่าโอทีทุกประเภท
พนักงานจะได้รับค่าล่วงเวลาสำหรับวันทำงานปกติ จะได้รับไม่น้อยกว่า 1.5 เท่าของค่าจ้างต่อชั่วโมง และการทำงานล่วงเวลาในวันหยุด เช่น วันหยุดเสาร์ - อาทิตย์ หรือวันหยุดนักขัตฤกษ์ต่าง ๆ จะได้รับค่าล่วงเวลาไม่น้อยกว่า 3 เท่าของค่าจ้างต่อชั่วโมง โดยมีวิธีการคิดค่าล่วงเวลาแต่ละประเภท ดังนี้
1. วิธีคิดค่าโอทีรายวัน
• สูตรการคำนวณโอทีรายวัน : (ค่าจ้างต่อวัน / ชั่วโมงงานปกติ) X (1.5 หรือ 3 เท่า) X (จำนวนชั่วโมงที่ทำโอที)
• ตัวอย่างวิธีการคำนวณ : กรณี ได้ค่าล่วงเวลา 3 เท่า และทำโอที 4 ชั่วโมง
• เงิน OT ที่จะได้รับเพิ่มในวันนั้น = (400 / 8) X 3 X 4 = 600 บาท
2. วิธีคิดค่าโอทีรายเดือน
• สูตรการคำนวณโอทีรายเดือน : (เงินเดือน / 30 วัน / ชั่วโมงงานปกติ) X (1.5 หรือ 3 เท่า) X (จำนวนชั่วโมงที่ทำโอที)
• ตัวอย่างวิธีการคำนวณ : กรณี ได้ค่าล่วงเวลา 1.5 เท่า และทำโอที 3 ชั่วโมง
• เงิน OT ที่จะได้รับเพิ่มในวันนั้น = (20,000 / 30 /8) X 1.5 X 3 = 375 บาท
การคิดโอทีวันหยุด
ส่วนค่าล่วงเวลาที่พนักงานจะได้รับตอบแทนในกรณีที่มาทำงานในวันหยุด จะมีการคิดโอทีวันหยุดนักขัตฤกษ์และวันหยุดทั่วไป ดังนี้
1. การคิดโอทีวันหยุดสำหรับลูกจ้างที่มีสิทธิ
ลูกจ้างที่มีสิทธิได้รับค่าแรงในวันหยุด เช่น พนักงานรายเดือน จะได้รับผลตอบแทนการทำงานในวันหยุดของตนเองไม่น้อยกว่า 1 เท่า
• สูตรการคำนวณโอที : (เงินเดือน / 30 วัน / ชั่วโมงงานปกติ) X (1 เท่า) X (จำนวนชั่วโมงที่ทำงาน)
• วิธีการคำนวณ : (20,000 / 30 /8) X 1 X 8
• เงิน OT ที่จะได้รับเพิ่มในวันนั้น = 667 บาท
2. การคิดโอทีวันหยุดสำหรับลูกจ้างที่ไม่มีสิทธิ์
ลูกจ้างที่มีสิทธิได้รับค่าแรงในวันหยุด เช่น พนักงานรายวัน จะได้รับผลตอบแทนการทำงานในวันหยุดของตนเองไม่น้อยกว่า 2 เท่า
• สูตรการคำนวณโอที : (ค่าจ้างต่อวัน / ชั่วโมงงานปกติ) X (2 เท่า) X (จำนวนชั่วโมงที่ทำงาน)
• วิธีการคำนวณ : (400 / 8) X 2 X 8
• เงิน OT ที่จะได้รับเพิ่มในวันนั้น = 800 บาท
สรุปโปรแกรมคำนวณ OT ด้วยระบบ HumanSoft
จะเห็นได้ว่าวิธีคิดค่าโอทีมีหลายสูตรมาก เพื่อป้องกันการคำนวณที่อาจเกิดความผิดพลาด เพราะในองค์กรหนึ่งอาจมีทั้งพนักงานประจำและพนักงานรายวัน ซึ่งจะมีวิธีการคิดค่าโอที ที่แตกต่างกันออกไป
เพื่อให้การคำนวณเป็นเรื่องง่าย อีกทั้งช่วยในการกำหนดการจ่ายค่า OT การจ่ายค่าจ้างรายวัน รายเดือน และภาษีรูปแบบต่าง ๆ ให้มีความสะดวกรวดเร็ว ถูกต้องแม่นยำภายในเครื่องมือเดียว โปรแกรมเงินเดือน Humansoft ได้เข้ามาเป็นหนึ่งในระบบที่หลายองค์กรเลือกใช้ เพื่อลดขั้นตอนการทำงานให้กับฝ่ายบัญชี และเพิ่มความสะดวกสบายให้กับทุกฝ่ายในองค์กรได้มากยิ่งขึ้น เป็นโปรแกรมคำนวณ OT รองรับการทำงานที่ยืดหยุ่น สามารถปรับเปลี่ยนและตั้งค่าให้เหมาะสมกับธุรกิจของคุณได้อย่างง่ายดาย