การจ้างแรงงานต่างด้าวในประเทศไทยมีกฎหมายควบคุมอย่างเข้มงวด บทความนี้เราได้รวมสิ่งที่ HR ควรรู้ก่อนการจ้างแรงงานต่างด้าวอย่างถูกกฎหมายมาฝาก จะเป็นอย่างไรไปดูเลย
อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม
- รู้ยัง? นายจ้างยื่นขอใบอนุญาตทำงานให้แรงงานต่างด้าวได้แล้ว
- กฎหมายคุ้มครองแรงงาน ผู้ประกอบการมือใหม่ต้องรู้ไว้
- HR ต้องรู้! สรุป พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ฉบับที่ 8 พ.ศ.2566
- กฎหมายแรงงานฉบับล่าสุด 2566 HR ต้องรู้อะไรบ้าง
- เงินที่ถือว่าเป็นค่าจ้าง ตามกฎหมายแรงงาน มีอะไรบ้าง?
- ห้ามพลาด! กฎหมายแรงงานที่ลูกจ้างไม่ควรมองข้าม
การจ้างแรงงานต่างด้าว
ปัจจุบันแรงงานต่างด้าวในประเทศไทยมีจำนวนมาก ส่วนใหญ่เป็นแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ประเทศเมียนมา ประเทศกัมพูชา และประเทศลาว เป็นต้น แรงงานต่างด้าวในประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยสาเหตุหลักมาจากความต้องการแรงงานในภาคการผลิต ภาคบริการ และภาคเกษตรกรรมที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ แรงงานต่างด้าวยังมีค่าจ้างแรงงานที่ต่ำกว่าแรงงานไทย จึงทำให้มีนายจ้างจำนวนมากนิยมจ้างแรงงานต่างด้าว
สิ่งที่ HR ควรรู้ก่อนจ้างแรงงานต่างด้าว
ในการจ้างแรงงานต่างด้าว HR นายจ้าง หรือผู้ประกอบการควรศึกษาสิ่งที่ควรรู้ต่าง ๆ เกี่ยวกับการจ้างแรงงานต่างด้าว โดยสิ่งที่ HR นายจ้าง หรือผู้ประกอบการควรรู้ก่อนการจ้างแรงงานต่างด้าวมีดังนี้
1. การจ้างแรงงานต่างด้าวต้องมีใบอนุญาต
แรงงานต่างด้าวที่จะเข้ามาทำงานในประเทศไทยจะต้องมีใบอนุญาตในการทำงาน โดยกระทรวงแรงงาน กรมการจัดหางาน เป็นหน่วยงานภาครัฐที่มีหน้าที่ออกใบอนุญาตแบบเฉพาะเจาะจง ว่าแรงงานต่างด้าวท่านนั้น ทำงานอะไร ทำที่ไหน กับนายจ้างคนใด ซึ่งจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ หากต้องการเปลี่ยนแปลงจะต้องแจ้งตามระเบียบ การให้อนุญาตหรือไม่อนุญาตนั้นจะขึ้นอยู่กับดุลพินิจของเจ้าหน้าที่
2. แรงงานต่างด้าวจะต้องผ่านการอบรมก่อนทำงาน
แรงงานต่างด้าวทุกคนที่จะเข้ามาทำงานในไทยจะต้องเข้ารับการอบรม ณ ศูนย์แรกรับเข้าทำงานและสิ้นสุดการจ้าง โดยแรงงานต่างด้าวที่ผ่านการอบรมจะได้รับใบอนุญาตแรงงาน
3. แรงงานต่างด้าวต้องรายงานตัวทุก 90 วัน
แรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยจะต้องรายงานตัวต่อพนักงานสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองทุก 90 วัน โดยสามารถแจ้งที่พักอาศัยได้ก่อน 15 วัน หรือหลัง 7 วัน นับจากวันครบกำหนด หากเกินกำหนดการแจ้งที่พักอาศัยจะถูกดำเนินการเปรียบเทียบปรับเป็นเงิน 2,000 บาท
4. เข้ารับการตรวจสุขภาพภายใน 30 วัน
แรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในไทยจะต้องทำการตรวจสุขภาพเพื่อขอใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) มีรายการตรวจโรคดังต่อไปนี้
โรคเรื้อน (Leprosy)
วัณโรคระยะอันตราย (Advandced Pulmonary Tuberculosis)
โรคพิษสุราเรื้อรัง (Chronic alcoholish)
โรคเท้าช้างระยะปรากฏอาการอันเป็นที่น่ารังเกียจแก่สังคม (Elephantiasis)
โรคยาเสพติดให้โทษ (Drug addiction)
โรคซิฟิลิสใน (syphilis)
5. แรงงานต่างด้าวได้รับอัตราค่าแรงขั้นต่ำเท่ากับคนไทย
แรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในไทยมีสิทธิได้รับค่าแรงเท่ากับค่าแรงขั้นต่ำในโทย แต่ราคาจะแตกต่างกันไปในแต่ละจังหวัด
6. จ้างแรงงานต่างด้าวที่ไม่มีใบอนุญาต จะได้รับโทษตามกฎหมาย
กรณีที่นายจ้างหรือ HR รับแรงงานต่างด้าวที่ไม่มีใบอนุญาตทำงานเข้าทำงานหรือให้คนงานต่างด้าวทำงานนอกเหนือจากที่มีสิทธิจะทำได้ มีโทษปรับตั้งแต่ 10,000 บาท ถึง 100,000 บาทต่อคนต่างด้าวที่จ้าง 1 คน (ม.102) หากกระทำผิดซ้ำ มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับ 50,000 ถึง 200,000 บาท ต่อคนต่างด้าวที่จ้าง 1 คน หรือทั้งจำทั้งปรับและห้ามจ้างคนต่างด้าวทำงานเป็นเวลา 3 ปี
7. จะต้องเป็นแรงงานต่างด้าวที่ขึ้นระบบ MOU เท่านั้น
การจ้างแรงงานต่างด้าวนั้น จะต้องเป็นแรงงานต่างด้าวที่ขึ้นระบบของ MOU เท่านั้น โดยขั้นตอนเบื้องต้นในการทำงาน MOU คือนายจ้างต้องยื่น Demand Letter ซึ่งเป็นคำร้องขอนำเข้าแรงงานต่างด้าวไปยังตัวแทนของประเทศต้นทางเพื่อดำเนินการคัดเลือกแรงงาน หลังจากนั้นตัวแทนประเทศต้นทางจัดทำบัญชีรายชื่อส่งกลับมา จากนั้นนายจ้างหรือ HR สามารถดำเนินการตามขั้นตอนอื่น ๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นยื่นแบบ ตท.2 เอกสารประกอบที่ สจจ./สจท. ชำระค่าใบอนุญาต นำหนังสือที่ได้จากสจจ./สจก. ไปยื่นกรมแรงงาน ตรวจรับแรงงาน แจ้งที่พักอาศัย แจ้งการเข้าทำงาน ตรวจสุขภาพ รวมถึงเตรียมเอกสารทุกอย่างให้พร้อม
8. แรงงานต่างด้าวอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์
แรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในไทยจะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ หรือหากกรณีที่อายุน้อยกว่า 18 ปี ต้องไม่น้อยกว่า 15 ปีบริบูรณ์ ซึ่งแรงงานเหล่านี้สามารถทำงานได้เฉพาะงานที่ไม่เป็นอันตราย เช่น งานที่ไม่เกี่ยวข้องกับความร้อน ความเย็น ความสั่นสะเทือน เสียงและแสงที่มีระดับแตกต่างจากปกติอันอาจเป็นอันตราย งานที่ไม่เกี่ยวกับวัตถุมีพิษ วัตถุระเบิด หรือวัตถุไวไฟ เว้นแต่งานในสถานีบริการที่เป็นเชื้อเพลิง เป็นต้น
9. จะต้องนำส่งประกันสังคม
สำนักงานประกันสังคมได้ประกาศว่าแรงงานต่างด้าวที่อยู่ในไทยจะต้องส่งเงินสมทบประกันสังคม พร้อมดูแลสวัสดิการ-สิทธิประโยชน์แรงงานต่างด้าว คุ้มครอง 7 กรณี แต่ต้องขึ้นทะเบียนให้ถูกต้องตามกฎหมาย
งานในอาชีพและวิชาชีพที่ห้ามคนต่างด้าวทำ
งานในอาชีพและวิชาชีพที่ห้ามคนต่างด้าวทำมีดังต่อไปนี้
- งานกรรมกร
- งานกสิกรรรม งานเลี้ยงสัตว์ งานป่าไม้ หรืองานประมง ยกเว้นงานที่ใช้ความชำนาญ งานเฉพาะสาขา หรืองานงานควบคุมดูแลฟาร์ม
- งานก่ออิฐ งานช่างไม้ หรืองานก่อสร้างอื่น
- งานแกะสลักไม้
- งานขับขี่ยานยนต์ หรืองานขับขี่ยานพาหนะที่ไม่ใช้เครื่องจักรหรือเครื่องกล ยกเว้นงานขับขี่เครื่องบินระหว่างประเทศ
- งานขายของหน้าร้าน
- งานขายทอดตลาด
- งานควบคุม ตรวจสอบหรือให้บริการบัญชี ยกเว้น งานตรวจสอบภายในชั่วคราว
- งานเจียระไน หรือขัดเพชรหรือพลอย
- งานตัดผม งานดัดผม หรืองานเสริมสวย
- งานทอผ้าด้วยมือ
- งานทอเสื่อ หรืองานทำเครื่องใช้ด้วยกก หวาย ปอ ฟาง หรือเยื่อไม้ไผ่
- งานทำกระดาษสาด้วยมือ
- งานทำเครื่องเขิน
- งานทำเครื่องดนตรีไทย
- งานทำเครื่องถม
- งานทำเครื่องทอง เครื่องเงิน หรือเครื่องนาก
- งานทำเครื่องลงหิน
- งานทำตุ๊กตาไทย
- งานทำที่นอนผ้าห่มนวม
- งานทำบาตร
- งานทำผลิตภัณฑ์จากผ้าไหมด้วยมือ
- งานทำพระพุทธรูป
- งานทำมีด
- งานทำร่มด้วยกระดาษหรือผ้า
- งานทำรองเท้า
- งานทำหมวก
- งานนายหน้า หรืองานตัวแทน ยกเว้น งานนายหน้าหรืองานตัวแทนในธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ
- งานในวิชาชีพวิศวกรรม สาขาวิศวกรรมโยธา ที่เกี่ยวกับงานออกแบบและคำนวณ จัดระบบ วิจัย วางโครงการ ทดสอบ ควบคุมการก่อสร้าง หรือให้คำแนะนำ ทั้งนี้ไม่รวมที่ต้องใช้ความชำนาญพิเศษ
- งานในวิชาชีพสถาปัตยกรรมที่เกี่ยวกับงานออกแบบเขียนแบบ ประมาณราคา อำนวยการก่อสร้างหรือให้คำแนะนำ
- งานประดิษฐ์เครื่องแต่งกาย
- งานปั้นหรือทำเครื่องปั้นดินเผา
- งานมวนบุหรี่ด้วยมือ
- งานมัคคุเทศก์ หรืองานจัดนำเที่ยว
- งานเร่ขายสินค้า
- งานเรียงตัวพิมพ์อักษรไทยด้วยมือ
- งานสาวและบิดเกลียวไหมด้วยมือ
- งานเสมียนพนักงานหรืองานเลขานุการ
- งานให้บริการทางกฎหมายหรืออรรถคดี
*หมายเหตุ ตามมติคณะรัฐมนตรี ผ่อนผันให้แรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ ได้แก่ พม่า ลาว และกัมพูชา สามารถทำงานได้ 2 อาชีพ คือ งานกรรมกร และงานบ้าน
สรุปสิ่งที่ HR ควรรู้ก่อนจ้างแรงงานต่างด้าวอย่างถูกกฎหมาย
เป็นอย่างไรกันบ้างค่ะ กับสิ่งที่ HR ควรรู้ก่อนการจ้างแรงงานต่างด้าวอย่างถูกกฎหมาย การจ้างแรงงานต่างด้าวในประเทศไทยมีกฎหมายควบคุมอย่างเข้มงวด โดยนายจ้างที่ต้องการจ้างแรงงานต่างด้าวจะต้องดำเนินการตามขั้นตอนต่าง ๆ เช่น ยื่นคำขอโควตาและใบอนุญาตนำเข้าแรงงานต่างด้าว นำแรงงานต่างด้าวเข้ารับการอบรม พาแรงงานต่างด้าวไปตรวจสุขภาพ และยื่นคำขอใบอนุญาตทำงาน เป็นต้น ดังนั้น นายจ้างควรศึกษาข้อมูลและรายละเอียดต่าง ๆ ในการจ้างแรงงานต่างด้าว เพื่อป้องกันการกระทำผิดและจ้างงานอย่างถูกต้อง