PageView Facebook
date_range 25/12/2023 visibility 11838 views
bookmark HR Knowledge
รู้ยัง? นายจ้างยื่นขอใบอนุญาตทำงานให้แรงงานต่างด้าวได้แล้ว - blog image preview
Blog >รู้ยัง? นายจ้างยื่นขอใบอนุญาตทำงานให้แรงงานต่างด้าวได้แล้ว

“แรงงานต่างด้าวที่สถานะไม่ถูกต้องตามกฎหมาย” ที่ยื่นบัญชีรายชื่อไว้แล้ว สามารถยื่นขอใบอนุญาตให้แรงงานต่างด้าวผ่านระบบออนไลน์ได้แล้ว


บทความเกี่ยวข้องที่คุณอาจสนใจ :



การยื่นขอใบอนุญาตทำงานให้แรงงานต่างด้าว ผ่านระบบออนไลน์


ประกาศจากกระทรวงมหาดไทยและกระทรวงแรงงาน เรื่องการอนุญาตให้แรงงานต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ซึ่งนายจ้างที่ได้ยื่นบัญชีรายชื่อต้องการจ้างแรงงานต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว เมียนมาและเวียดนาม ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2566 นั้น มีผลบังคับใช้แล้วตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2566 ที่ได้ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา


โดยนายจ้างหรือสถานประกอบการที่ยื่นบัญชีรายชื่อแจ้งความต้องการฯ ต่อกรมการจัดหางานไว้แล้วภายใน 31 ก.ค. 66 นั้น สามารถดำเนินการตามขั้นตอนที่มติครม.กำหนดได้ทันที และยื่นเอกสารหลักฐานผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ที่เว็บไซต์ e-workpermit.doe.go.th เพื่ออยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษและทำงานได้ถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568


ขั้นตอนการยื่นบัญชีรายชื่อแรงงานต่างด้าว



1. ดำเนินการระยะที่ 1

ภายในวันที่ 15 มกราคม 2567 เพื่อให้อยู่และทำงานได้ถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2567 นายจ้างหรือสถานประกอบการสามารถยื่นคำขออนุญาตทำงานแทนคนต่างด้าว (แบบ บต. 50) พร้อมเอกสารและหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ผ่านเว็บไซต์ e-workpermit.doe.go.th เป็นช่องทางหลัก หรือหากดำเนินการด้วยตนเองไม่ได้สามารถยื่นที่สำนักงานจัดหางานจังหวัดทุกจังหวัด สำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1 – 10 ในท้องที่ ซึ่งเป็นที่ตั้งสถานที่ทำงานของนายจ้าง พร้อมชำระค่าธรรมเนียมค่ายื่นคำขอฉบับละ 100 บาท และค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทำงานฉบับละ 1,350 บาท โดยนายทะเบียนจะตรวจสอบคำขออนุญาตทำงานและเอกสารหลักฐาน หากถูกต้อง ครบถ้วนจะอนุญาตให้ทำงานถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568


ทั้งนี้ ให้แรงงานข้ามชาติใช้ทะเบียนใบอนุญาตทำงานและใบเสร็จรับเงินเป็นหลักฐานแทนใบอนุญาตทำงานจนกว่าจะได้รับใบอนุญาตทำงาน

2. ดำเนินการระยะที่ 2

ภายในวันที่ 31 ตุลาคม 2567 เพื่อให้อยู่และทำงานได้ถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568 การดำเนินการจัดเก็บข้อมูลอัตลักษณ์บุคคล จัดทำหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางเพื่อตีวีซ่า และจัดทำหรือปรับปรุงทะเบียนประวัติ และสำหรับผู้ติดตามซึ่งเป็นบุตรของแรงงานต่างด้าว ที่มีอายุไม่เกิน 18 ปี และได้แจ้งรายชื่อไว้แล้วตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2566 (ไม่รับแจ้งใหม่) จะมีสิทธิอยู่ในราชอาณาจักรตามสิทธิของบิดาหรือมารดาด้วย


สรุปการยื่นขอใบอนุญาตทำงานให้แรงงานต่างด้าว ผ่านระบบออนไลน์


การศึกษาแนวทางการขอรับใบอนุญาตทำงานสำหรับแรงงานต่างด้าวของนายจ้าง หรือสถานประกอบการนั้นเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญ เพราะหากไม่ดำเนินการให้ครบทุกขั้นตอนภายในระยะเวลาที่กำหนดแล้ว การอนุญาตให้แรงงานต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษจะสิ้นสุดลงทันที โดยกรมแรงงานจะตรวจสอบและดำเนินคดีตามกฎหมายอย่างเข้มงวด และหากนายจ้างหรือสถานประกอบการมีข้อสงสัยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1 – 10 หรือสำนักงานจัดหางานจังหวัดทั่วประเทศ หรือที่สายด่วนกระทรวงแรงงาน โทร 1506 กด 2 กรมการจัดหางาน

โปรแกรมเงินเดือน HumanSoft
ทดลองใช้ฟรี 30 วันครบทุกฟังก์ชัน
  • บริการขึ้นระบบ ฟรี
  • ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น
  • ยกเลิกเมื่อไหร่ก็ได้