HR สามารถเช็คได้ว่าพนักงานมีความเครียดมากน้อยเพียงใด ด้วยการทำแบบประเมินความเครียด เพื่อให้พนักงานได้รับคำแนะนำอย่างถูกทางและทันท่วงที ก่อนที่จะมีปัญหาสุขภาพจิต
บทความเกี่ยวข้องที่คุณอาจสนใจ :
- 6 วิธี สร้างความสุขในการทำงาน
- Check List เรามีความสุขในการทำงานไหม?
- 4 วิธีสร้างบรรยากาศดีๆ ในองค์กร โดยการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ (HRM)
- Growth Mindset ในการทํางานเพื่อคนยุคใหม่ ทำงานอย่างมีความสุข
- Stay Interview คืออะไร ทำไมทุกบริษัทควรมี?
- วิธีจัดการภาวะหมดไฟในการทำงานสำหรับ HR
- โรคยอดฮิตของคนทำงาน และวิธีป้องกันที่ HR ช่วยได้
- เช็กอาการโรคซึมเศร้าของพนักงาน ด้วยแบบทดสอบโรคซึมเศร้า
วิธีเช็คภาวะหมดไฟของพนักงาน (Burnout Syndrome)
ภาวะหมดไฟ (Burnout) คือสภาวะทางจิตที่เกิดขึ้นเมื่อมีความเหนื่อยล้า และความเครียดทางอารมณ์ มักจะเกิดขึ้นเนื่องจากการทำงานหนักและต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ โดยไม่มีการพักผ่อนหรือการฟื้นฟูที่เพียงพอ เกิดจากความกดดันหรือความต้องการให้งานสำเร็จ พนักงานที่ประสบกับภาวะหมดไฟอาจรู้สึกเหน็ดเหนื่อยทั้งทางร่างกายและจิตใจ มีความรู้สึกอ่อนแอ อารมณ์ของผู้ที่มีภาวะนี้จะรู้สึกจมดิ่ง ไม่มีความต้องการที่จะทำอะไรเลย และหมดกำลังใจในการทำงาน ซึ่งอาจส่งผลให้ความสามารถในการทำงานลดลง และมีผลกระทบต่อสุขภาพทั้งทางกายและจิตใจได้
ดังนั้น การจัดการภาวะหมดไฟของพนักงานมีความสำคัญอย่างมาก ในการส่งเสริมสุขภาพทางจิตและสุขภาพทางร่างกายของพนักงานในองค์กร ซึ่งอาจรวมถึงการจัดแบบแผนการทำงานที่มีสมดุลระหว่างงานและชีวิตส่วนตัว การสนับสนุนจิตวิทยา และการสร้างสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนการเจริญเติบโตทางอารมณ์และจิตใจในที่ทำงาน
โดยเบื้องต้น HR สามารถเช็คภาวะหมดไฟของพนักงานได้ ด้วยการประเมินความเครียดจากแบบประเมินความเครียด เพราะ แบบประเมินความเครียด เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินระดับความเครียดของบุคคล ซึ่งปกติแบบประเมินนี้จะประกอบด้วยชุดของคำถามที่ออกแบบมาเพื่อทราบถึงสภาวะความเครียดของบุคคลที่กำลังประสบอยู่ หรือระดับความเครียดที่เคยประสบมาก่อนหน้านี้ โดยสามารถเข้าไปทำแบบประเมินความเครียดทางออนไลน์ได้ที่ >> แบบประเมินและวิเคราะห์ความเครียด (Strain) เพื่อให้ HR ทราบระดับความเครียดของพนักงานและวางแผนแก้ไขได้อย่างถูกทางและทันท่วงที ก่อนที่จะก่อให้เกิดภาวะหมดไฟของพนักงาน และ HR สามารถช่วยพนักงานที่มีแนวโน้มจะอยู่ในสภานวะหมดไฟได้ดังนี้
แนวทางการช่วยพนักงานที่อยู่ในสภาวะหมดไฟ
1. ให้พนักงานพักจากการทำงานจริงๆ
พนักงานบางคนอาจมีภาระหน้าที่ต้องรับผิดชอบจนไม่มีเวลาพักผ่อนอย่างเพียงพอ การให้พนักงานได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ในวันหยุดแบบออฟไลน์ตัวเอง งดคุยเรื่องงาน ใช้เวลาอยู่กับครอบครัวหรือเพื่อนๆ ก็สามารช่วยฟื้นฟูพนักงานได้ในทางหนึ่ง
2. เพิ่มความยืดหยุ่นให้พนักงาน
ผลข้างเคียงจากการดำเนินชีวิตในปัจจุบัน ทำให้พนักงานไม่ค่อยมีเวลาในการผ่อนคลายจากความเครียด และความวุ่นวายที่ต้องพบเจอในแต่ละวัน ดังนั้น หาก HR ลองให้พนักงานได้ใช้ชีวิตในแต่ละวันให้ช้าลง ลดความเร่งรีบ ด้วยการหาวิธีผ่อนคลายและเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับพนักงาน เช่น ให้พนักงานเข้างานได้สายขึ้น หรือการเลิกเงินไวขึ้น เป็นต้น
3. ทำงานให้น้อยลง
พนักงานส่วนใหญ่ ไม่สามารถหลีกเลี่ยงความเครียดสะสมที่เกิดขึ้นจากการทำงานหนักได้ และการทำงานให้น้อยลงก็เป็นเรื่องที่ยากสำหรับพนักงานที่ทำงานด้วยแพสชันการใส่ใจ แต่ก็เป็นเรื่องสำคัญที่สุด สำหรับพนักงานที่อยู่ในสภาวะหมดไฟ เพราะพนักงานมักจะหมดกำลังใจ ไม่กระตือรือร้น ไม่มีแรงจูงใจ ซึ่งความเหนื่อยล้าทางจิตนี้ส่งผลกระทบต่อประสิทธภาพในการทำงานของพนักงานเป็นอย่างมาก ดังนั้น การหยุดพักผ่อนและทำงานให้น้อยลงจึงจำเป็นสำหรับสภาวะหมดไฟนี้ เพื่อให้พนักงานกลับมาทำงานหลังการพักผ่อนได้อย่างมีประสิทธิภาพเช่นเดิม
4. นำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการทำงาน
อีกหนึ่งวิธีการที่จะช่วยให้พนักงานสามารถทำงานให้น้อยลง หรือมีเวลาพักได้เพียงพอมากขึ้น คือการนำเทคโนโลยีเข้ามาเป็นตัวช่วยให้การทำงานรวดเร็วมากขึ้น ลดภาระงานให้น้อยลงและมีประสิทธิภาพให้มากขึ้นด้วย เช่น การนำโปรแกรม HR HumanSoft เข้ามาช่วยในการคิดเงินเดือนหรือบริหารจัดการทรัพยากรต่างๆ ช่วยให้ HR ลดภาระงานและประหยัดเวลาในการทำงานได้มาก ทำให้มีเวลาไปจัดการงานหรือไปจัดการปัญหาด้านอื่นๆ ได้ มากขึ้น เป็นต้น ซึ่งโปรแกรมหรือแอปพลิเคชันเหล่านี้ ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อนการทำงานง่ายขึ้น และประหยัดเวลามากขึ้น หาก HR สามารถนำเทคโนโลยีเหล่านี้เข้ามาใช้งานได้ ก็จะทำให้พนักงานสามารถบริหารจัดการงานของตนเองได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดความเครียด และมีเวลาพักผ่อนมากขึ้นด้วยเช่นกัน
สรุปการเช็คภาวะหมดไฟของพนักงานด้วยแบบประเมินความเครียด
ภายใต้การทำงานและดำเนินชีวิตด้วยความกดดันอย่างในยุคปัจจุบัน ปัญหาความเครียดสะสมมักจะเกิดขึ้นกับพนักงานในองค์กร และยังส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานด้วย ทำให้การเช็คความเครียดของพนักงานอย่างสม่ำเสมอ ช่วยให้ทั้งตัวพนักงานเองและ HR หาทางแก้ไขและจัดการปัญหาการทำงานต่างๆ ได้อย่างทันท่วงที ลดความเครียดสะสมได้ สร้างสมดุลระหว่างการทำงานและการใช้ชีวิตได้ เพียงเท่านี้ก็จะช่วยให้พนักงานมีความสุขในการทำงานในองค์กรมากขึ้น